บินไทยกล่อมเจ้าหนี้ สหกรณ์-แบงก์ฉลุย!! ยืดหนี้จายต้น 10 ปี พร้อมแปลงหนี้เป็นทุน ผลดีทุกฝ่าย ถ้าล้มละลายเสี่ยงหนี้สูญ??

2403

สายการบินแห่งชาติไทยภายใต้การบริหารของ บริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) หรือเรียกกันว่า บมจ.การบินไทย เดินสายเคลียร์เจ้าหนี้สำคัญทั้งเจ้าหนี้ภายในประเทศและต่างประเทศ สำหรับเจ้าหนี้ต่างประเทศไม่ค่อยปรากฏปัญหาในการเจรจามากนัก เพราะเข้าใจสถานการณ์อุตสาหกรรมการบิน และการท่องเที่ยวดีผลกระทบการระบาดโควิด-19 ทำห่วงโซ่อุตสาหกรรมการบินหยุดชะงัก เพราะไม่มีการเดินทาง การท่องเที่ยวสาหัสทั้งโลก และทั่วโลกเป็นเหมือนกันหมด  สำหรับภายในประเทศคือเจ้าหนี้ธนาคารและเจ้าหนี้กลุ่มสหกรณ์ซึ่งเป็นกลุ่มเจ้าหนี้รายใหญ่ สัดส่วนมูลค่าสูง ดูมีแนวโน้มน่าจะผ่านไปได้เพราะ เงื่อนไขที่ไม่มีการลดหนี้หรือแฮร์คัท แต่ผ่อนปรนเป็นจ่ายแน่แต่ขอยืดระยะเวลาชำระหนี้และผ่อนจ่ายไป กับแปลงหนี้เป็นทุน เป็นวิธีการแบบวินวิน ทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ เพราะถ้าเค้นจะขอจ่ายหนี้คืนเลยก็ไม่สอดคล้องความเป็นจริง ถ้าปล่อยการบินไทยล้มละลาย จะได้รับชำระคืนน้อยหรือหนี้สูญ  ถ้าเลือกแนวทางฟื้นฟูที่การบินไทยเสนอ ได้มีการผ่อนใช้หนี้คืน และได้เป็นผู้ร่วมทุนจากการแปลงหนี้บางส่วน จึงเป็นเหตุได้รับการตอบรับ การประชุมเจ้าหนี้ที่จะถึงนี้จึงมีแนวโน้มจะผ่านฉลุย

เมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2564 หลังจากผู้ทำแผน บมจ.การบินไทย ได้ยื่นแผนฟื้นฟูต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ได้มีการนัดประชุมเจ้าหนี้ วันที่ 12 พ.ค.2564

ล่าสุด วันที่ 11 มี.ค.2564 นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร รักษาการแทนกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.การบินไทย พร้อมทีมบริหารของการบินไทย ได้เปิดเผยรายละเอียดแผนฟื้นฟูกิจการและความคืบหน้าในการเจรจาเจ้าหนี้รายใหญ่ของไทย คือ กลุ่มสหกรณ์และกลุ่มธนาคาร และกล่าวว่า แผนฟื้นฟูกิจการฯนี้เป็นผลดีกับทุกฝ่าย ทั้งเจ้าหนี้และผู้ถือหุ้น เนื่องจากใช้วิธี ยืดหนี้เงินต้นระยะยาว โดยไม่ตัดลดหนี้ (แฮร์คัท) แต่ขอตัดลดดอกเบี้ย และมีข้อเสนอ ให้เจ้าหนี้แปลงหนี้เป็นทุน จากการเดินสายเคลียร์เชื่อว่า เจ้าหนี้สวนใหญ่จะโหวดผ่านแผนฟื้นฟูดังกล่าว

เงื่อนไขการโหวตของเจ้าหนี้คือ 1. ต้องมีเจ้าหนี้กลุ่มหนึ่งเห็นด้วย 2 ใน 3 ซึ่งประเด็นนี้นายชาญศิลป์กล่าวว่าไม่น่าเป็นห่วง หลังจากเดินสายทำความเข้าใจและเจ้าหนี้มองว่า หากปล่อยล้มละลาย หนี้จะสูญโดยไม่ได้อะไรเลย

  1. ในการประชุมเจ้าหนี้วันที่ 12 พ.ค.2564 นี้ต้องมีเจ้าหนี้เห็นชอบแผน โหวตรับมากกว่า 50%

นายชาญศิลป์ฯแจงว่า ทางบริษัทแบ่งเดินสาย โดยกลุ่มสถาบันการเงิน ได้คุณบุญทักษ์ หวังเจริญ เป็นหัวหน้าทีม  คุณจักกฤษฏิ์ พาราพันธกุล ดูแลเจ้าหนี้ส่วนราชการ และประสานงานกระทรวงการคลัง สำหรับคุณปิยสวัสดิ์ อัมระนันท์ เจรจากับเจ้าหนี้ธนาคาร ส่วนตัวนายชาญศิลป์ฯ เจรจาเจ้าหนี้หุ้นกู้ คือกลุ่มสหกรณ์

สรุปเจ้าหนี้ทั้งหมดมี 36 กลุ่ม กลุ่มธนาคารมูลหนี้ประมาณ 29,000 ล้านบาท และกลุ่มสหกรณ์-หุ้นกู้มูลหนี้ประมาณ 71,000 ล้านบาท

กลุ่มแรกเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ที่มูลหนี้รวมสูงถึง 7.1 หมื่นบ้านบาท

ก่อนหน้านี้ ‘สันนิบาตสหกรณ์’ เป็นหนึ่งในเจ้าหนี้รายใหญ่ภายในประเทศรอแผนฟื้นฟูบินไทย พร้อมเปิดช่องยอมแปลงหนี้เป็นทุน เพราะหวังจะไดคืนต้นทุนหนี้หุ้นกู้ 84 สหกรณ์จำนวน 7.1หมื่นล้านบาท ส่วนดอกเบี้ยคิดตามผลประกอบการบริษัท ยอมรับบางส่วนแปลงเป็นทุนได้ แต่ขอให้คพช. รับรองก่อน

นายปรเมศวร์ อินทรชุมนุม ประธานสันนิาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยเปิดเผยว่า การทวงคืนหนี้หุ้นกู้ของ 84 สหกรณ์ที่มีกับบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน)เป็นลูกหนี้วงเงิน 7.1 หมื่นล้านบาทนั้น ต้องพิจารณาภายใต้แผนฟื้นฟูบริษัทฯที่จะเสนอให้พิจารณาในเดือน ก.พ. นี้ในส่วนของสหกรณ์ยังยืนยันข้อเสนอเดิมคือ ต้องการให้บริษัทชำระหนี้ต้นทุนก่อน ส่วนอัตราดอกเบี้ยหรือผลประโยชน์อื่นให้ยืดระยะเวลาการชำระออกไปแล้วแต่ความเหมาะสม นั่นค่อนข้างแน่ชัดแล้วว่า เจ้าหนี้กลุ่มสหกรณ์คงจะยินดีรับแนวทางชำระหนี้แม้จะยืดหนี้ออกไปก่อน และแปลงหนี้บางส่วนเป็นหุ้น เท่ากับได้เป็นเจ้าของ บมจ.การบินไทยโดยตรง

ส่วนเจ้าหนี้ธนาคาร จำนวน 2.9 หมื่นล้านบาท โดยธนาคารกรุงเทพ เป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ โดยรวมถ้าไม่รับเงื่อนไขแผนฟื้นฟู ธนาคารจะได้คืนแค่ 13% 

เรืองนี้ นายชาญศิลป์ฯกล่าวว่า “การทำแผนฟื้นฟูมี 2 มุมมอง ถ้าลดหนี้มากเจ้าหนี้จะไม่โหวดให้ ถ้าลดหนี้น้อย การบินไทยก็ต้องแบกหนี้อยู่เยอะ ทำให้โอกาสฟื้นฟูกิจการเป็นไปได้ยาก สำหรับวิธีการที่เสนอคือ ขอลดดอกเบี้ยทั้งหมด (แฮร์คัทดอกเบี้ย) และยืดระยะเวลาชำระเงินต้นออกไปให้ยาว ซึ่งเจ้าหนี้จะได้คืนประมาณ 50-60% แต่ถ้าแผนไม่ผ่านเข้าสู่กระบวนการล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะขายทรัพย์สินมาจ่ายคืน เจ้าหนี้จะได้ไม่เกิน 13% ของมูลหนี้ ซึ่งต้องใช้เวลา 3-4 ปีกว่าจะขายทรัพย์สินได้

สำหรับความหวังที่จะพลิกฟื้นกลับมาผงาดอีกครั้ง ในแผนฟื้นฟูระบุชัดว่า บมจ.การบินไทยต้องการเพิ่มทุนจำนวน 50,000 บาท ซึ่งกระทรวงการคลังเป็นหุ้นใหญ่ประมาณ 60% มีแนวโน้มลงเงินได้ 25,000 ล้านบาท ยังอีก 25,000 ล้านบาท คาดว่าธนาคารซึ่งเป็นเจ้าหนี้ อาจลงขันและอยู่ระหว่างการเจราจารูปแบบการลงทุน และกรณีกระทรวงการคลังกำลังพิจารณาว่าจะนำเงินจาก กองทุนวายุภักษ์เข้ามา หรือจะเป็นการค้ำประกันเงินกู้

นายชาญศิลป์ฯกล่าวว่า “การฟื้นฟูการบินไทยต้องใส่เงินใหม่เข้ามา เพราะการกลับมาทำการบินใหม่ต้องใช้ต้นทุนค่าใช้จ่ายมาก ทั้งค่าบำรุงรักษาเครื่องบินที่จอดทิ้งไว้นานๆ และส่วนงานอื่นๆ  การใส่เงินมา 50,000 ล้านบาทไม่ใช่ได้มาในคราวเดียว แต่เป็นการทยอยเข้ามา เพื่อให้การบินไทยกลับมามีความสามารถในการจ่ายหนี้ในอีก 4-5 ปีข้างหน้า”

ในด้านแนวทางการบริหารองค์กร นายชาญศิลป์ ได้เปิดเผยแผนการปรับตำแหน่งทางการตลาดของการบินไทย เป็น “สายการบินฟรีเมียม เจาะตลาดนิชมาร์เก็ต” จำนวนเส้นทางการบินจะไม่มาก แต่จะเน้นเส้นทางที่มีกำไรเท่านั้น

ในด้านการปรับโครงสร้างองค์กรหัวใจหลักคือ ลดต้นทุน ปรับเปลี่ยนเป็นองค์กรที่คล่องตัว ตังเป้ารายได้ไว้ว่าในช่วงแรกเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟู  มีรายได้ประมาณ 20-30% ของปี 2562 คือ 184,046 ล้านบาทและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนถึง 80%ของปี 2562 ในปีที่ 4 ของการฟื้นฟู นั้นหมายถึง ปี 2568 จะมีกำไร ก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี ประมาณ 10%