แฉ นักการเมือง อยากแก้รัฐธรรมนูญสนองตัณหาตัวเอง? หลังศาลรัฐธรรมนู ลงมติว่า รัฐสภามีอำนาจหน้าที่จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ ทำประชามติรัฐธรรมนูญ 2 ครั้ง
จากกรณีที่เมื่อวานนี้ (11 มีนาคม 2564) ศาลรัฐธรรมนูญ เผยแพร่ คำวินิจฉัย การลงมติ การวินิจฉัยคำร้องของนายไพบูลย์ นิติตะวัน และนายสมชาย แสวงการ สมาชิกรัฐสภา ที่ขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจรัฐสภาในการตั้ง ส.ส.ร.เพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่
ทั้งนี้ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ลงมติ 8 ต่อ 1 เห็นว่ารัฐสภามีอำนาจหน้าที่จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้โดยต้องให้ประชาชนผู้มีอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญได้ลงประชามติเสียก่อนว่าประชาชนประสงค์จะให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ และเมื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสร็จแล้วลงประชามติอีกครั้ง
หากย้อนไปเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2563 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระรวงกลาโหม ได้เปิดเผยถึงกรณีการแก้รัฐธรรมนูญว่า การออกเสียงประชามติ พ.ศ…. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออกเสียงประชามติ ว่า หากมีทำประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญใช้ประมาณ 2 ครั้งเป็นอย่างน้อย ส่วนครั้งที่ 3 ถ้าสภารับรองก็ไม่เป็นไร เท่าที่ทราบจำนวนเงินปกติใช้ 3,000 ล้านบาท แต่ในช่วงการระบาดของโควิด-19 จะใช้งบประมาณจำนวน 4,000 ล้านบาท เนื่องจากสถานที่ลงคะแนน ต้องกระจายให้น้อยกว่า 1,000 คน เหลือประมาณ 600 คน จำนวนจุดลงคะแนนต้องเพิ่มมากขึ้น ต้นทุนก็เพิ่มมากขึ้น ทั้งของ กกต. เอกสาร รวมถึงสภาฯ ดังนั้นตกเฉลี่ยแล้ว ประมาณครั้งละ 4,000 หรือ 5,000 ล้านบาท
หากย้อนไปเมื่อในการทำประชามติในครั้งที่ผ่านมา ก็คือ การแก้รัฐธรรมนูญ ปี 2560 ซึ่งมีการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญวันที่ 7 สิงหาคม 2559 โดยในการลงประชามติครั้งนั้น สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากรัฐบาลกว่า 2,991 ล้านบาท ซึ่งหากรวมค่าใช้จ่ายทุกอย่างในการทำประชามติแล้ว รวมก็ใช้งบประมาณ เกือบ 3 พันล้านบาท
ดังนั้น หากมีการทำประชามติในการแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ ซึ่งตามมติของศาลจะต้องทำประชามติถึงสองครั้ง และตามที่นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า หากจะมีการทำประชามติในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 จะต้องใช้งบถึง 5 พันล้านบาท และถ้าหากทำประชามติ 2 ครั้ง จะต้องใช้งบประมาณถึง 1 หมื่นล้านบาท
ดังนั้น ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ ทางด้านพรรคฝ่ายค้านและพรรคร่วมรัฐบาล อย่างพรรคประชาธิปัตย์และภูมิใจไทย อยากให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญซึ่งมองว่า พรรคการเมืองหรือนักการเมือง มีแนวคิดที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256 เพื่อนำไปสู่การตั้ง ส.ส.ร. และยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ และจะเป็นการเปิดทางให้ ส.ส.ร. มาเข้ามาแตะต้องหมวด 1และ หมวด 2 ที่เกี่ยวข้องสถาบันพระมหากษัตริย์ได้ ถ้ายอมให้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จะนำไปสู่การต้องร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญอีก 10 ฉบับ เท่ากับว่าจะต้องร่างกฎหมายใหม่ทั้งสิ้น 11 ฉบับ ทำให้ง่ายแก่การซุกประโยชน์ของนักการเมือง เพราะรัฐธรรมนูญ ปี 2560 จะช่วยลดอิทธิพลของนายทุน เจ้าของพรรคที่จะกำหนดลำดับ สส. บัญชีรายชื่อตามเงินบริจาคหรือแม้แต่การจะชี้ตัวผู้สมัคร สส.เขต เพราะอำนาจนี้จะถูกโอนมาให้ประชาชนที่เป็นสมาชิกพรรคตัดสิน ผ่านการทำไพรมารีโหวต
ดังนั้น จึงมองเป็นอย่างอื่นไม่ได้เลยว่า การที่นักการเมืองทั้งพรรคฝ่ายค้านและพรรคร่วมรัฐบาล ที่ต้องการจะแก้รัฐธรรมนูญนั้น มีความต้องการที่แก้รัฐธรรมนูญเพื่อสนองตัณหาของตัวเอง เพื่อนำไปสู่การหาผลประโยชน์เข้าตัวเอง