ทีวีรัฐสภา ผวาหนัก!! หวั่น “ถูกสั่งปิด” หลัง “ฝ่ายค้าน” ประกาศลั่น “ไม่แก้ไขญัตติ” เตรียม อภิปรายพาดพิงสถาบันฯ!?
ในวันที่ 16 ก.พ.64 เวลาประมาณ 09.50 น. ที่รัฐสภา ทางด้านของ นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้แจ้งภายในที่ประชุมว่า ได้รับหนังสือของสถานีวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา มีเป็นการขอความร่วมมือจากสมาชิกทุกคน ตามมาตรา 37 ของพ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 โดยมีรายละเอียดว่า
ห้ามมิให้ออกอากาศรายการที่มีเนื้อหา ที่ก่อให้เกิดการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข หรือที่ผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ มิฉะนั้นสถานีวิทยุโทรทัศน์รัฐสภาอาจถูกระงับออกอากาศทันที และอาจถูกพัก หรือเพิกถอน การใช้ใบอนุญาต
โดยทางด้านของ นายชวน ได้แสดงความเป็นห่วงอย่างยิ่งจากญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจที่ทางด้านของ พรรคร่วมฝ่ายค้าน ที่ได้ยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ซึ่งมีทั้งตัวนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ และรัฐมนตรีอีก 9 คน โดยซักฟอกลงมติไม่ไว้วางใจ ซึ่งมีประเด็นที่ถูกตั้งคำถาม โดยได้มีรายละเอียดคร่าวๆว่า
จะมีการยื่นไม่ไว้วางใจ พล.อ.ประยุทธ์ บริหารล้มเหลว ผิดพลาดบกพร่องร้ายแรง ไร้ประสิทธิภาพ ไร้ภูมิปัญญา ไร้ภาวะผู้นำ มีพฤติการณ์ฉ้อฉลทุจริต ปล่อยปละละเลยให้มีการทุจริตเพื่อสร้างความร่ำรวยให้ตนเองพวกพ้อง ใช้จ่ายงบประมาณโดยไม่รอบคอบ สร้างความแตกแยก ใช้กฎหมายแสวงหาผลประโยชน์ ทำลายผู้เห็นต่าง ไม่ยึดมั่นศรัทธาการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ใช้สถาบันเป็นข้ออ้างแบ่งแยกประชาชนและแอบอ้างใช้เป็นเกราะปิดบังความล้มเหลวของตนเอง
ซึ่งในประเด็นนี้เองที่เกิดเป็นประเด็นให้มีความน่าสนใจว่า พรรคฝ่ายค้าน กำลังจะนำสถาบันพระมหากษัตริย์ เข้ามาอภิปราย ซึ่งหลายๆฝ่ายเห็นว่าเป็นเรื่องที่ไม่สมควร
ในเบื้องต้นหลังจากที่ทางด้านของฝ่ายค้านยืนกราน “ไม่ยอมแก้ไข” ต่อมาเวลาประมาณ 10.30 น. ก่อนการเข้าเนื้อหา ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) และวิปรัฐบาล ได้ชี้แจงทำความเข้าใจถึงกรอบการใช้เวลาอภิปราย พร้อมยืนยันจะให้ความร่วมมือเพื่อให้การประชุมดำเนินการอย่างเรียบร้อย
ซึ่งหลายๆคนต่างมองว่า หากทางด้านของ ทีวีรัฐสภา ปล่อยให้มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรี โดยการโยงไปเสียดสีจาบจ้วงสถาบันพระมหากษัตริย์ หวั่นจะเกิดปัญหาตามมา เนื่องจากมีประชาชนในประเทศไทยจำนวนมากต่างรอเฝ้าดูการอภิปราย และอาจจะส่งผลกระทบกระเทือนต่อจิตใจของคนในชาติเป็นอย่างยิ่ง
โดยอาจจะนำมาซึ่งการฟ้องร้องเหมือนที่ สื่อชื่อดัง Voice TV ได้ชอบนำเสนอข้อความเนื้อหา “จาบจ้วงสถาบันฯ” อยู่บ่อยครั้ง ทีวีรัฐสภา ซึ่งเป็นรายการสด จึงจำเป็นที่จะต้องเฝ้าระวัง และรับผิดชอบต่อสังคมให้มากกว่าช่องโทรทัศน์อื่นๆ