“อัษฎางค์” ควักความจริง เคาะกะโหลก “ธนาธร” พล่านแก้ ม.112 แต่โอดละเมิดสิทธิมนุษยชน!!

2391

จากกรณีที่ วันที่ 4 ก.พ. 64 ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า เดินทางมาที่ศาลเพื่อร่วมการไต่สวนคำร้องคัดค้านของคณะก้าวหน้าที่ขอให้เพิกถอนคำสั่งศาลสั่งลบลิงก์

ตามคำขอกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) การเผยแพร่ภาพ-คลิปเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโควิดพาดพิงสถาบันฯ ผ่านเพจคณะก้าวหน้า

ในช่วงหนึ่งนายธนาธรได้ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีกฎหมายมาตตรา 112 ระบุว่า
“มาตรา 112 เป็นมาตราที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานอย่างแน่นอนที่สุด และสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานนั้นก็คือสิทธิของการมี Free Speach หรือเสรีภาพในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็น นอกจากนี้มาตรา 112 ยังมีโทษที่สูงเกินไปอีกด้วย พวกเราจึงเห็นว่าควรจะมีการแก้ไขมาตรา 112”

ล่าสุด นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กระบุว่า นักวิชาการอิสระ
“สิ่งที่ตี๋หนึ่งพูดไม่หมด หรือไม่ยอมพูดออกมาเกี่ยวกับเสรีภาพในการพูด และ ม.112″
คือเสรีภาพในการพูด หรือเสรีภาพในการแสดงออก ต้องถูกจำกัดบ้าง” เมื่อจำเป็น “เพื่อความเคารพถึงสิทธิหรือชื่อเสียงของคนอื่น” หรือ “เพื่อคุ้มครองความมั่นคงของชาติหรือความสงบเรียบร้อย หรือการสาธารณสุข หรือศีลธรรม”
แปลเป็นภาษาชาวบ้านได้ว่า…
เสรีภาพในการพูดและแสดงออก จะต้องไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น และที่สำคัญต้องไม่กระทบต่อความมั่นคงของชาติหรือความสงบเรียบร้อย
ซึ่งการการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ผู้ซึ่งเป็นประมุขของชาติ “เป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐในประมวลกฎหมายอาญา”
จบไหม
ถ้าไม่จบ อ่านต่อไป

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เป็นประมวลกฎหมายอาญา ฐานความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย ซึ่งบัญญัติไว้ว่า
“ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปีถึง 15 ปี”
ซึ่งการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ “เป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐในประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499”
แปลเป็นภาษาชาวบ้านได้ว่า…
การหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นประมุขของชาติ “เป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐในประมวลกฎหมายอาญา”
ซึ่งต่างกับการหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดา ที่ไม่เป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐในประมวลกฎหมายอาญา

ซึ่งใจความดังกล่าวข้างต้นตรงกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ทุกประการ ที่ว่าด้วยเรื่องข้อจำกัดของเสรีภาพในการพูดหรือเสรีภาพในการแสดงออก ดังที่ระบุไว้ว่า…
เสรีภาพในการพูด หรือเสรีภาพในการแสดงออก ต้องถูกจำกัดบ้าง” เมื่อจำเป็น “เพื่อความเคารพถึงสิทธิหรือชื่อเสียงของคนอื่น” หรือ “เพื่อคุ้มครองความมั่นคงของชาติหรือความสงบเรียบร้อย หรือการสาธารณสุข หรือศีลธรรม”
จบไหม
ถ้าไม่จบ อ่านต่อไป

ข้อความข้างต้นที่ผมสรุปมาให้นั้นเพียงพอต่อความเข้าใจว่าทำไม ม.112 ไม่ได้ละเมิดเสรีภาพในการพูดหรือเสรีภาพในการแสดงออกตามที่บัณญัติไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
แต่ถ้าท่านมีเวลาและอยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ดังต่อไปนี้

เสรีภาพในการพูด (freedom of speech) หรือเสรีภาพในการแสดงออก (reedom of expression)
เป็นสิทธิการเมืองในการสื่อสารความคิดของบุคคลผ่านการพูด แต่ยังรวมไปถึงพฤติการณ์ใด ๆ ในการแสวงหา ทั้งด้วยการพูด การแสดงท่าทาง หรือการสื่อสารด้วยตัวหนังสือ ไม่ว่าจะบนหน้ากระดาษหรือในโลกออนไลน์ ตลอดจนในรูปแบบอื่นๆ เช่น เสียงเพลง ภาพถ่าย ภาพกราฟิกหรือภาพเคลื่อนไหว ฯลฯ
สิทธิในเสรีภาพการพูดได้รับการยอมรับเป็นสิทธิมนุษยชนภายใต้ข้อ 19 แห่งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights หรือ UDHR) เป็นเอกสารระหว่างประเทศที่เชิดชูสิทธิเสรีภาพของมนุษย์ทั้งปวง สมัชชาสหประชาชาติยอมรับตามข้อมติที่ 217 ในสมัยประชุมที่สาม วันที่ 10 ธันวาคม 1948 ณ ปาแลเดอชาโย ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
โครงสร้างพื้นเดิมของปฏิญญาฯ ได้รับอิทธิพลจากประมวลกฎหมายนโปเลียน (Code Napoléon หรือเดิม Code civil des Français) เป็นประมวลกฎหมายแพ่งของฝรั่งเศส จัดทำขึ้นในรัชสมัยจักรพรรดินโปเลียนที่ 1
เสรีภาพในการพูด ( freedom of speech) หรือเสรีภาพในการแสดงออก (freedom of expression) ได้รับการยอมรับในกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ 19 แห่งกติกาฯ บัญญัติว่า
“ทุกคนจักมีสิทธิออกความเห็นโดยไม่ถูกแทรกแซง” และ “ทุกคนจักมีสิทธิในเสรีภาพการพูด สิทธินี้จักรวมไปถึงเสรีภาพในการแสวงหา ได้รับและส่งต่อข้อสนเทศและความคิดในทุกรูปแบบ โดยไม่คำนึงถึงขอบเขต ไม่ว่าจะโดยการพูด การเขียนหรือการพิมพ์ ในรูปของศิลปะ หรือผ่านสื่ออื่นใดที่เป็นทางเลือกของเขา”

ข้อ 19 ยังบัญญัติต่อไปว่าการใช้สิทธิเหล่านี้มี “หน้าที่และความรับผิดชอบพิเศษ”
“ดังนั้น ต้องถูกจำกัดบ้าง” เมื่อจำเป็น
“เพื่อความเคารพถึงสิทธิหรือชื่อเสียงของคนอื่น” หรือ “เพื่อคุ้มครองความมั่นคงของชาติหรือความสงบเรียบร้อย หรือการสาธารณสุข หรือศีลธรรม”

สรุปว่า ตี๋หนึ่งไม่ได้เบิกเนตรให้ใคร แต่ท่านโดนตี๋หนึ่งแหกตาอีกเหมือนเคย
และการที่พยายามต่อต้านและเรียกร้อง รวมถึงการปลุกระดมให้คนออกมาต่อต้าน ม.112 นั้นย่อมชัดเจนว่า เป็นหนึ่งในความพยายามของกลุ่มคนที่เป็นปฏิปักษ์หรือคิดล้มลงสถาบันพระมหากษัตริย์
ซึ่งการกระทำที่เป็นการล้มล้าง หรือ เพียงแค่เป็นปฏิปักษ์ ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้นเป็นการกระทำผิดตามกฎหมายขั้นร้ายแรง
เคยมีคำวินิจฉัยของศาลระบุว่า.
“ส่วนคำว่า “ปฏิปักษ์” นั้นไม่จำต้องรุนแรงถึงขนาดมีเจตนาที่จะล้มล้างทำลายให้สิ้นไป ทั้งยังไม่จำต้องถึงขนาดตั้งตนเป็นศัตรูหรือฝ่ายตรงข้ามเท่านั้น เพียงแต่เป็นการกระทำที่มีลักษณะเป็นการขัดขวางหรือสกัดกั้นมิให้เจริญก้าวหน้า หรือเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดผลเป็นการเซาะกร่อนบ่อนทำลาย จนเกิดความชำรุดทรุดโทรม เสื่อมทราม หรืออ่อนแอลง ก็เข้าลักษณะของการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ได้แล้ว
สำหรับประเด็นเรื่องเจตนานั้น เมื่อมาตรา 92 วรรคหนึ่ง (2) บัญญัติชัดเจนว่า เพียงแค่ “อาจเป็นปฏิปักษ์” ก็ต้องห้ามแล้ว
หาจำต้องมีเจตนาประสงค์ต่อผล หรือต้องรอให้เกิดผลเสียหายร้ายแรงขึ้นจริงเสียก่อนไม่ ทั้งนี้ ก็เพื่อให้เป็นมาตรการป้องกันความเสียหายร้ายแรงที่อาจเกิดแก่สถาบันหลักของประเทศไว้ก่อน อันเป็นรัฐประศาสโนบายที่จำเป็นเพื่อดับไฟกองใหญ่ไว้แต่ต้นลมมิให้ไฟกองเล็กกระพือโหมไหม้ลุกลามขยายใหญ่จนเป็นมหันตภัยที่ไม่อาจต้านทานได้ในวาระต่อไป
มาตรา 92 (2) ระบุถึงกระทำการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

อัษฎางค์ ยมนาค”