“สามกีบ” โหมหนัก ปลุกความรุนแรง “ม็อบพม่า” สุดท้ายแป๊ก “ชาวเมียนมา” ไม่กล้าลุกฮือ ต้านรัฐประหาร

4502

มีรายงานสถานการณ์ล่าสุดในประเทศเมียนมา หลังผ่านการทำรัฐประหารมาเป็นเวลา 4 วัน โดยวันนี้ทางสำนักข่าวรอยเตอร์ ระบุว่า ตำรวจเมียนมาตั้งข้อหาดำเนินคดี นางออง ซาน ซูจี อดีตที่ปรึกษาแห่งรัฐ และผู้นำพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (เอ็นแอลดี) หลายข้อหาในคดีนำเข้าอุปกรณ์สื่อสารผิดกฎหมาย

หลังจากกองทัพภายใต้การนำของพล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย ได้ก่อรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจเมียนมา ยังระบุเพิ่มเติมด้วยว่า นางซูจีจะถูกคุมขังจนถึงวันที่ 15 ก.พ. 2564 นี้

และกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจเมียนมา ได้บุกเข้าค้นบ้านพักของนางซูจี ในกรุงเนปิดอว์ ก่อนจะแจ้งว่าได้พบวิทยุสื่อสาร walkie-talkie (วอล์กกี้-ทอล์คกี้ ) ซึ่งนำเข้าจากต่างประเทศอย่างผิดกฎหมาย และมีการใช้งานโดยไม่ได้ขออนุญาต

ทั้งนี้การรัฐประหารของเมียนมา ที่กำลังเป็นเรื่องร้อนแรง ท่ามกลางการจับตามองจากทั่วโลก ด้าน ไป๊ ทาคน และ คิทคิท สองซุปตาร์เมียนมา ก็ไม่ขอแอ๊บเป็นกลางอีกต่อไป.. ได้โพสต์ภาพชูสามนิ้วต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ

โดยไป๊ ทาคน นายแบบซูเปอร์โมเดลเมียนมา ได้ออกมาเปลี่ยนภาพโปรไฟล์เป็นรูปชู 3 นิ้วต่อต้านเผด็จการแบบจริงจัง ส่วนทางด้าน คิทคิท-วุด มน ชเว ยี ดาราสาวคนดังของเมียนมาร ประกาศสนับสนุนการอารยะขัดขืนเพื่อปกป้องประชาธิปไตยในเมียนมา


ขณะที่ในบ้านเราก็มีนักเคลื่อนไหวทางการเมือง ออกมาประท้วงไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหารในเมียนมา อีกทั้งยังได้ติด #Savemyanmar ด้วยนั้น และเมื่อวันที่ 1 นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และน.ส.พรรณิการ์ วานิช ได้เดินทางไปที่สถานทูตเมียนมา มาร่วมสังเกตการณ์ เนื่องจากมีการชุมนุมของกลุ่มคณะราษฎรและกลุ่มการ์ด Wevo และแรงงานชาวเมียนมา รวมตัวกันที่หน้าสถานเอกอัครราชทูตเมียนมาประจำประเทศไทย ถนนสาทรเหนือ เพื่ออ่านแถลงการณ์แสดงความไม่เห็นด้วยต่อการทำรัฐประหารในเมียนมา และเรียกร้องให้ปล่อยตัวนางอองซานซูจี ซึ่งก่อนหน้านี้นายธนาธร ก็ได้ประกาศด้วยว่า “จะยืนหยัดเคียงข้างประชาชนเมียนมา ประชาธิปไตยต้องกลับคืนมาโดยเร็วที่สุด ” ถึงแม้ว่าการกระทำของนายธนาธร ที่ออกมาแสดงการต่อต้านรัฐประหารเมียนมา จะยังไม่ส่งผลกระทบอย่างชัดเจนให้เห็น แต่การที่การ์ดวีโว่พยายามสร้างสถานการณ์ความรุนแรง การย่อมไม่ส่งผลดีต่อชาติบ้านเมือง นอกจากนี้ยังเห็นถึงเจตนาด้วยว่า ต้องการที่จะโหมไฟ ปลุกระดมให้เมียนมาออกมาประท้วง เหมือนกับที่เคยนัดชุมนุมในช่วงปีที่ผ่านมา

แน่นอนว่าทั้งกลุ่มเยาวชนปลดแอก ม็อราษฎร กลุ่มวีโว่ และก๊วนของนายธนาธร ปิยบุตร รวมทั้งช่อ พรรณิการ์ คงหวังใจว่า อยากให้ประชากรในประเทศเมียนมาออกมาลุกฮือต่อต้าน และสู้กับกองทัพทหาร แต่ทางด้าน ผศ.ดร.ดุลยภาค ปรีชารัชช รองคณบดีฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์และการเมืองการปกครองของเมียนมา

 

ได้วิเคราะห์สถานการณ์ดังกล่าวไว้ว่า เหตุการณ์รัฐประหารในเมียนมาเกิดขึ้นจาก 2 ปัจจัย คือ 1. เพราะปัจจัยสะสม กล่าวคือเมียนมามีการปกครองด้วยระบอบทหารมายาวนาน ภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ประชาธิปไตยแต่ก็ยังควบคุมโดยกองทัพ เพียงแต่ในระยะหลัง ๆ ฝั่งพลเรือนมีอำนาจมากขึ้น จนกองทัพเริ่มไม่สามารถควบคุมภูมิทัศน์การเมืองได้ถนัดมือนัก

2. ปัจจัยกระตุ้น ซึ่งเป็นผลพวงจากการที่พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ได้รับความนิยมอย่างล้นหลามจากประชาชน จนทำให้พรรคสหสามัคคีและการพัฒนา (USPD) ที่หนุนโดยกองทัพไม่สามารถสู้ได้ โดยเฉพาะในการเลือกตั้งช่วงเดือนพฤศจิกายนปีที่ผ่านมา

“การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยนั้นก็ถูกเปลี่ยนโดยชนชั้นนำทหาร เพราะฉะนั้นจึงไม่มีทางที่จะเป็นประชาธิปไตยเต็มใบได้ในเร็วพลัน สิ่งที่รัฐบาลทหารต้องการคือการมีประชาธิปไตยครึ่งใบ ซึ่งรัฐธรรมนูญปี 2551 ของเมียนมาก็ยังมีตัวแทนจากกองทัพซึ่งก็เป็นกลุ่มที่มีอภิสิทธิ์เข้าไปถ่วงดุลกับรัฐบาลพลเรือน”


ฝ่ายกองทัพระบุ ถึงเหตุผลในการทำรัฐประหารครั้งนี้ว่าการเลือกตั้งที่จัดตั้งภายใต้รัฐบาล NLD มีความไม่ชอบมาพากล ไม่โปร่งใส เกิดสถานการณ์การสู้รบ รวมถึงการระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลให้บางพื้นที่ไม่สามาถจัดการเลือกตั้งได้

สิ่งที่พิเศษอย่างหนึ่งในการทำรัฐประหารครั้งนี้ คือกองทัพทหารเมียนมา พยายามทำให้รูปแบบการรัฐประหารอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยยกมาตรา 417 ในรัฐธรรมนูญที่เขียนโดยกองทัพ ระบุว่า ประธานาธิบดีสามารถประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และสามารถถ่ายโอนอำนาจให้กับกองทัพได้ ส่งผลให้อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ ถูกแทนที่โดยโครงสร้างของกองทัพซึ่งก็ไม่ได้ขัดตามหลักกฎหมาย

“ผมตั้งข้อสังเกตได้ว่าในมาตรา 417 ได้พูดถึงการประกาศสภาวะฉุกเฉินว่าต้องเกิดอันตรายต่ออธิปไตยแห่งรัฐ เช่น มีการรุกรานจากกองกำลังต่างชาติ เกิดสงครามกลางเมือง หรือมีเหตุการณ์รุนแรง แต่ที่ผ่านมาในประเทศเมียนมาก็ไม่ได้เกิดเหตุการณ์เช่นนั้น”

ในเรื่องของความรุนแรงของสถานการณ์นั้น เนื่องจากเริ่มมีกลุ่มประชาชนที่ไม่พอใจที่ทำให้ระบอบประชาธิปไตยเดินถอยหลัง ส่วนตัวมองว่าฝ่ายที่ยึดอำนาจในครั้งนี้เตรียมการณ์รับมือไว้แล้วว่าจะต้องถูกกดดันจากนานาชาติ และมีการเคลื่อนขบวนของประชาชน ซึ่งกองทัพเมียนมาเองมีความช่ำชอง ในการตั้งรับการประท้วง และรู้จักยุทธ์ศาสตร์ในเมืองเนปิดอว์ซึ่งเป็นจุดที่มีการยึดอำนาจ

ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากที่ประชาชนจะออกมาประท้วง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะรูปแบบของถนนขนาดใหญ่ และสถานที่ราชการที่ตั้งห่างกันพอสมควร ภูมิทัศน์เหล่านั้นค่อนข้างเอื้อให้กับกลุ่มกองทัพมากกว่าในการส่งรถถังไปในภูมิทัศน์ที่กว้างกว่าเพื่อล้อมกรอบประชาชน

อย่างไรก็ตามการออกมาเคลื่อนไหวของเหล่าซุปตาร์ และเซเลบในเมียนมา กลายเป็นกระแสที่ให้กลุ่มเยาวชนปลดแอก กลุ่มราษฎร และในกลุ่มรอยัลลิสต์มาร์เก็ตเพลส เอาไปอ้างบิดเบือนเพื่อเพิ่มภาษีความชอบธรรมให้กับก๊วนของตัวเอง และหวังอยากเห็นการประท้วงที่รุนแรงในพม่า โดยในเพจเฟซบุ๊ก LOOK Myanmar ได้โพสต์ข้อความไว้ว่า “ตามคาด…หลังจากที่แอดเตือน สุดท้ายก็โดนเคลมไปเป็นพวกเดียวกันเสียแล้ว เหล่าดารา เซเลป เขาจะรู้ไหมว่า เขาได้เป็นเหยื่อของพวกที่มีคดีติดตัวและสร้างปัญหาในประเทศไทย
คงต้องรอ Paing Takhon ออกมาให้สัมภาษณ์แล้วละ เอ๊ะหรือแอดควรไปสัมภาษณ์เองดี”

 

และยังข้อความโพสต์ด้วยว่า #ข่าวด่วน มีข่าวมาว่า PTD (เทียบเท่ากสทช.) สั่งให้ block Facebook จนถึงสิ้นสุดวันที่ 7 นะครับ คำสั่งออกมาตี 1 เมื่อคืน แต่จนถึงตอนนี้ยังสามารถใช้ได้อยู่ จึงไม่แน่ใจว่าเป็น Fake news หรือไม่ลองติดตามต่อไปครับ

ทั้งนี้การแสดงความคิดเห็นของเซเลปเมียนมา ต่างจากของไทยอย่างชัดเจน เนื่องจากบรรดาพวกนักแสดง นายแบบ นางแบบของเมียนมา ชูสัญลักษณ์ต่อต้าน และไม่ได้โพสต์ข้อความที่สื่อไปถึงความรุนแรง นอกจากนี้เหล่าขบวนของประชาชนที่ออกมาชุมนุม นับว่ามีจำนวนน้อย และทั้งหมดต่างชุมนุมอย่างสงบ เมื่อเทียบกับคนดังในบ้านเรามักปลุกปั่นความรุนแรงและลามไปถึงการพาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับกับสถานการณ์ทางการเมืองแต่อย่างใด เหมือนอย่างที่ทราย เจริญปุระ , อานนท์ นำภา และก๊วนแกนนำที่พยายามโพสต์โจมตีโหมความรุนแรงอย่างที่ผ่านมา