เมียนมาขยับ!! ทำสมดุลทหารพันธมิตรจีน-รัสเซียผงาด สั่นคลอนยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิคสหรัฐอย่างเหนือคาดหมาย

2887

ยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิคของสหรัฐสั่นคลอน เมื่อปรากฏพันธมิตรทางทหารฝั่งจีน-รัสเซียชัดขึ้น หนึ่งในนั้นคือเพื่อนบ้านเมียนมา ที่เดิมเคยตอบรับไมตรีตะวันตก-สหรัฐอเมริกาอย่างชื่นมื่น ล่าสุดไม่นานมานี้หลังประกาศจุดยืนเป็นกลางร่วมกับอาเซียนไม่นาน ก็แสดงเจตจำนงค์ร่วมซ้อมรบกับจีน-รัสเซียปลายเดือนนี้เสียแล้ว ทำสหรัฐเครียดไม่น้อย เมื่อพยายามอย่างยิ่งที่จะเรียกร้องให้อาเซียนทบทวนสัมพันธ์กับจีนในทุกมิติ แต่อาเซียนกลับยืนหยัดเป็นกลางไม่ขอติดกำดักความขัดแย้งสหรัฐ-จีน พร้อมพัฒนาสัมพันธ์ทุกมิติกับทั้งสองฝั่ง แก้ป้ญหาด้วยการเจรจา แต่ก็ไม่อาจวางใจท่าทีแข็งกร้าวทางทหารในทะเลจีนใต้ และมหาสมุทรอินเดีย

ซ้อมรบนานาชาติ จีน-รัสเซีย ส่งสัญญาณเมียนมาพร้อมร่วมมือพันธมิตร

กองทัพจีนจะส่งกำลังพลไปยังภูมิภาคแอสตราแคนของรัสเซีย เพื่อเข้าร่วมการซ้อมรบทางยุทธศาสตร์ “คาฟคาซ-2020” (Kavkaz-2020) ซึ่งมีกำหนดระหว่างวันที่ 21-26 ก.ย.นี้ กองทัพจีนที่เข้าร่วมการซ้อมรบดังกล่าว ส่วนใหญ่มาจากกองบัญชาการยุทธบริเวณภาคตะวันตก และจะบรรทุกอุปกรณ์ล้อเลื่อนและอาวุธเบาไปร่วมฝึกซ้อมด้วย โดยคาดว่าจะจัดส่งด้วยเครื่องบินขนส่งลำใหม่ของจีน ทั้งนี้ประเทศพันธมิตร อาร์เมเนีย เบลารุส อิหร่าน เมียนมา ปากีสถาน และประเทศอื่นๆ จะเข้าร่วมการฝึกซ้อมครั้งนี้ด้วยปรากฏการณ์ซ้อมรบครั้งนี้บอกอะไรชาวโลก บอกถึงแผนยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกของสหรัฐ ไม่อาจมีอำนาจปิดล้อมจีน-รัสเซียตามจุดเป้าหมายได้อีกแล้ว

หมากล้อมจีน-รัสเซียทำสหรัฐเครียด

สหรัฐได้ประกาศยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก ขึ้นมาใหม่และชัดเจนว่าเป็นยุทธศาสตร์ที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อการปิดล้อมประเทศจีน อิหร่าน และเกาหลีเหนือ โดยในปัจจุบันนี้กำลังเร่งมือในการก่อตั้งแนวร่วมกับประเทศในกลุ่มอาเซียนเพื่อต่อต้านจีนโดยเฉพาะ

การเคลื่อนไหวล่าสุด สำนักข่าวซินหัวรายงานถึงแถลงการณ์ของกระทรวงกลาโหมจีนเกี่ยวกับการซ้อมรบทางยุทธศาสตร์ คาฟคาซ-2020 ว่า ในช่วงเวลาสำคัญที่โลกกำลังร่วมมือกันเพื่อต่อสู้กับโรคระบาดโควิด-19 นั้น การที่จีนเข้ามามีส่วนร่วมในการฝึกซ้อมครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ที่ครอบคลุมระหว่างจีน-รัสเซียสำหรับยุคใหม่ อีกทั้งเพิ่มขีดความสามารถของกองกำลังข้ามชาติในการร่วมรับมือภัยคุกคามด้านความมั่นคง และปกป้องสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคนอกจากนี้การฝึกซ้อมดังกล่าวไม่ได้กำหนดเป้าหมายไปยังบุคคลที่สาม และไม่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ใดๆ ในภูมิภาคด้วย รายชื่อเพื่อสมาชิกอาเซียนอย่างเมียนมา ปรากฏอยู่ในพันธมิตรซ้อมรบได้เพราะเหตุใด?

ทำไมรัฐบาลเมียนมาจึงต้องร่วมมือทางทหารกับรัสเซีย-จีน-อิหร่าน( และเกาหลีเหนือ)????

1.นักล่าอาณานิคม วางหมากที่จะยึดยะไข่ตั้งแต่เมียนมาเพิ่งได้รับเอกราชใหม่ๆ โดยนำชาวโรฮิงญาไปปักหลักไว้ที่นั่น ซึ่งทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างศาสนากับชาวพม่า จนกระทั่งทุกวันนี้ 

โดยหวังว่าเมื่อเกิดความขัดแย้งแล้วก็จะเปิดทางให้นักล่าอาณานิคมกลับเข้ามายึดยะไข่ และถ้าสำเร็จก็เท่ากับแยกเมียนมาเป็น 3 ประเทศ ก็จะง่ายต่อการยึดทีละส่วน

2.ยะไข่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ที่นักล่าอาณานิคมต้องการได้มากที่สุด เพราะจะเป็นลู่ทางเจาะทะลวงเข้าไปยังประเทศจีนที่่ฑลยูนนาน นครฉงชิ่ง  มณฑลเสฉวนและทะลุไปถึงซินเกียง ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นแนวหลัง ที่สำคัญของจีน ดังนั้น การป้องกันรักษายะไข่ไม่ให้นักล่าอาณานิคมเข้ายึดครองจึงเป็นผลประโยชน์ร่วมกันทั้งเมียนมาและจีน

3.ฐานทัพของมหาอำนาจที่หมู่เกาะดิเอโก้การ์เซียในมหาสมุทรอินเดีย คือฐานทัพสำคัญที่จะสนับสนุน การปฏิบัติการทางทหารต่อยะไข่

4.การสร้างความขัดแย้งเพื่อยึดยะไข่เกือบจะสำเร็จ จึงมีการลุกขึ้นก่อการร้ายในยะไข่ ซึ่งรัสเซียและจีนสนับสนุนให้รัฐบาลเมียนมาปราบปรามอย่างเฉียบขาด การเกิดเหตุรุนแรงเมื่อ 3 ปีก่อนทำให้ทางการเมียนมาไหวตัว เตรียมการรับมือกับการยึดยะไข่ ซึ่งเป็นผลให้ต้องร่วมมือกันจีน และจีนไม่สามารถยอมให้ยะไข่ถูกยึดเพราะเป็นอันตรายต่อจีนมาก จึงเกิดความตกลงร่วมมือทางการทหารครั้งสำคัญ และจีนรับภาระในการสนับสนุนทางทหารอย่างเต็มที่เพื่อป้องกันยะไข่ ถึงขนาดให้สัญญากันว่าถ้ามีกำลังต่างชาติเข้ายึดยะไข่ กองทัพจีนพร้อมเคลื่อนทัพเข้ายะไข่แบบเดียวกับสงครามเกาหลี

5.หลังจากทำความตกลงกันแล้วกองทัพจีนได้ไปวางกำลังไว้ที่มองโกเลียในซึ่งใช้เวลาเคลื่อนทัพเข้ายะไข่ได้เร็วกว่า ที่ตั้งเดิม เป็นกำลังพลอย่างน้อย 5 แสนคน และเมื่อปีที่แล้วประธานสีจิ้นผิง ก็ไปทำพิธีตรวจพลสวนสนามที่มองโกเลียใน! เหตุที่ไม่เอากองทหารมาตั้งใกล้ยะไข่ ก็เพื่อไม่ให้ ทางอินเดียไม่สบายใจ  การตกลงให้จีนเข้ามาตั้งฐานทัพ ชายขอบมหาสมุทรอินเดียถึง 3 แห่ง ที่พื้นที่ติดกับทวายและที่ใกล้กับอ่าวเบงกอล และฐานทัพเรือใหญ่ที่สุด ในมหาสมุทรอินเดียที่ยะไข่ โดยได้ทำความตกลงสร้างฐานทัพเรือที่นี่เมื่อปี 61 ซึ่งตอนนี้ก็ใช้การได้แล้ว!!!

6.ความร่วมมือทางการทหารกับเมียนมา ทำให้จีนสามารถออกทางมหาสมุทรอินเดียได้อย่างสะดวกดายที่สุด จึงทำให้ความสำคัญ ที่จะต้องออกสู่ 2 มหาสมุทรผ่านประเทศไทยลดลงไปมาก 

ที่สำคัญที่สุดคือความร่วมมือทางการทหารจีน-เมียนมา ดังกล่าวนั้นอาจทำลายยุทธศาสตร์อินโดแปซิฟิกของสหรัฐในย่านนี้  และยังกดดันต่อฐานทัพสหรัฐที่หมู่เกาะดิเอโก้การ์เซียด้วย โดยขณะนี้ไม่เพียงแต่ถูกล้อมกรอบจากเมียนมาและจีนเท่านั้น ยังมีฐานทัพของอิหร่าน ซึ่งกำลังขยายออกมาจากอ่าวเปอร์เซีย มาทางด้านมหาสมุทรอินเดียอีกด้วย  นอกจากนี้จีนก็มีฐานทัพอยู่ที่ศรีลังกาและที่จิบูติประสานกันอยู่ ถ้ามองในเชิงหมากล้อม ก็เห็นได้ชัดว่าจีนวางกำลัง ล้อมกรอบภูมิยุทธศาสตร์ของกองเรือที่ 5 ในมหาสมุทรอินเดียไว้อย่างสิ้นเชิงแล้ว 

ความสมดุลทางการเมืองและทางทหารในทะเลจีนใต้ผ่านอาเซียนยังมีเสถียรภาพ

ขณะนี้ด้านหนึ่งทางการทหาร เมียนมา ลาว กัมพูชาและมาเลเซียก็ได้จับมือซ้อมรบทางการทหารกับจีนและรัสเซียอิหร่านดังที่กล่าวมาแล้ว  ในทางการเมืองและนโยบายต่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียนก็ได้ยืนยันจุดยืนเป็นกลาง พร้อมร่วมมือแก้ปัญหาโควิด-19 และพัฒนาเศรษฐกิจกับทั้งสหรัฐและจีน และขอแก้ไขปัญหาทุกอย่างด้วยการเจรจา

ท่ามกลางสถานการณ์แหลมคม ของความเป็นไปได้ในการเกิดสงครามใหญ่ สำหรับประเทศไทยจึงต้องยืนหยัด น้อมนำพระบรมราโชบาย ของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 มาปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ไม่ฝักใฝ่กับฝ่ายใด ไม่เป็นศัตรูกับใคร และคบหาค้าขายกับทุกประเทศ เราก็จะปลอดภัยและมีความสวัสดี ปัญหาอยู่ที้ว่า เหล่ามหาอำนาจทั้งหลายจะยอมรับหรือไม่เท่านั้น?