“ป๋ากิ๊ก” ควักข้อมูล เปิดกะโหลก “ไอ้แป้น” สะเทือน “ช่อ” หลังโชว์โง่แซะไทยซื้อวัคซีนแพงกว่าชาวบ้าน!?

15264

จากกรณีที่ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า ได้ไลฟ์สดหัวข้อ “วัคซีนพระราชทาน : ใครได้ใครเสีย” จนทำให้เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆนานา

ถึงการที่นายธนาธร จงใจพูดความจริงเพียงครึ่งเดียว และพยายามโยงการแก้ปัญหาวิกฤตโควิดของรัฐบาลเข้ากับเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยนายธนาธรได้โจมตีบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ ว่ารัฐบาลอาจจะเอื้อประโยชน์ในการได้สัญญาการผลิตวัคซีน เนื่องจากเป็นบริษัทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่10

หลังจากนั้น รัฐบาลและเหล่านักวิชาการได้มีการชี้แจงถึงข้อมูลต่างๆที่นายธนาธรกล่าวหา จนนายธนาธรต้องออกมาแถลงข่าวแก้ตัวอีกครั้ง

ต่อมาเมื่อวันที่ 20 ม.ค. 64 นางสาวพรรณิการ์ วานิช หรือ ช่อ กรรมการบริหารคณะก้าวหน้า ได้ทวีตข้อความผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัว ระบุว่า
“บอกว่าธนาธรแถลงเรื่องวัคซีนบิดเบือน Siam Bioscience ขาดทุนแล้วไง ในเมื่อเขาขายวัคซีนให้ไทยถูกมาก แค่ 5 $ ความจริงคือ ราคาวัคซีน AstraZeneca ที่ขายทั่วโลก 1.5-4 $ เราซื้อแพงกว่าเพื่อน ส่วนวัคซีนที่หมอวรงค์บอกว่าคนอื่นเขาซื้อ 20$ มันคือวัคซีน Pfizer กับ Moderna ที่คุณภาพดีกว่า”

ซึ่งล่าสุด ป๋ากิ๊ก เกียรติ กิจเจริญ นักแสดงและพิธีกรชื่อดัง ได้โพสต์ข้อความถึงกรณีของราคาวัคซีน โดยระบุว่า
“25 ม.ค. 2564
ไอ้แป้น!!!
มึงอ่านให้จบ แล้วตกผลึกความคิดดูว่าเราได้วัคซีนจาก แอสตรา เซเนกา ในราคาที่เหมาะสมหรือไม่?
แพงกว่ายุโรปอ่ะ มันแหงอยู่แล้ว ก็ชาติพวกเขา
แต่ราคาที่เราได้มา ก็ถือว่าถูกชิบหายแล้วนะมึง
อ่ะ…อ่านซะ อ่านซะ…
เดี๋ยวกูไปเคลียร์ลานจอดรถก่อน ช่วงนี้ทัวร์ลงบ่อย…
กูรักมึงนะ
กิ๊ก ตัวกลม
ป.ล.ไปไหนมาไหนมึงก็ใส่หน้ากาก ล้างมือบ่อยๆ จะได้อยู่ถึงวันที่วัคซีนมา…เข้าใจนะ

ช่อ" พรรณิการ์ เร่งโอนเงินเราช่วยกัน 3,000 คาดยอดระดมทุนไม่ต่ำกว่า 4 ล้าน

ส่วนสาเหตุที่ยุโรปสามารถซื้อวัคซีนต่อโดสของ AstraZeneca ได้ถูกกว่าไทยและประเทศทั่วโลกที่ 2.18 ดอลล่าร์สหรัฐต่อโดส จนเกิดการเปรียบเทียบราคาขึ้นมา ข้อมูลนี้เป็นการเรียบเรียงจากหลายแหล่งข้อมูลทั้ง คณะกรรมาธิการยุโรป วอชิงตัน โพสต์ และ Business insider ระบุว่า สาเหตุที่ทางประเทศในยุโรปได้วัคซีนราคาถูกกว่าไทยคือ

1. สหภาพยุโรปได้ให้เงินทุนสนับสนุนเพื่อร่วมพัฒนาวัคซีนตั้งแต่อยู่ในงานวิจัยเฟส 2 ซึ่งเงินสนับสนุนนี้เป็นเหมือนกับการจองแบบ “พรีออเดอร์” ก่อนใครจำนวน 200 ล้านโดส และจองอีก 100 ล้านโดส ในนามของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป รวมทั้งระดมเงินทุนอีก 16,000 ล้านยูโร เพื่อสนับสนุนการสำหรับการเข้าถึงการทดสอบ การรักษา และการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสทั้งในยุโรปและทั่วโลก ดังนั้นมันก็ย่อมได้ของที่ราคาถูกกว่าอยู่แล้ว แต่ก็ต้องแบกรับความเสี่ยงหากวัคซีนนั้นไม่ประสบความสำเร็จดังคาดหวัง

2. รัฐบาลสหรัฐสนับสนุนเงินทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนาวัคซีนให้กับ AstraZeneca มากถึง 1,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ Moderna ได้รับทุนที่ 4,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้สหรัฐได้วัคซีนสูตร Oxford ในราคาที่ 4 ดอลลาร์สหรัฐต่อโดส ส่วนวัคซีน Moderna ที่ 15 ดอลลาร์สหรัฐต่อโดส พร้อมกับเงื่อนไขซื้อเหมาวัคซีน AstraZeneca ที่ 300 ล้านโดส และซื้อเพิ่มอีก 100 ล้านโดส ซึ่งมากกว่าไทยที่จองวัคซีนจำนวน 29 ล้านโดสถึง 20 เท่า

3. วัตถุดิบ และสารเคมี ที่ใช้เป็นองค์ประกอบการทำวัคซีนทั้งหลายถูกผลิตขึ้นในยุโรป และไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า ไม่เสียค่าขนส่ง แถมได้รับการผลักดันสนับสนุนร่วมกันทั้งภูมิภาคในการผลิตวัคซีน รวมทั้งรัฐบาลของประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปก็ข้ามไปให้เงินลงทุนวิจัยวัคซีนบริษัทอเมริกันอีกด้วย ซึ่งหน่วยงานด้านการเงินของสหภาพยุโรปเสนอเงินกู้ 122 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้กับ Pfizer/BioNTech เพื่อช่วยในการพัฒนาวัคซีน ตามด้วยเงินอีก 458 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากรัฐบาลเยอรมนีอีกก้อน

ดังนั้นราคาวัคซีนในยุโรปจึงถูกกว่าภูมิภาคอื่นก็ไม่แปลกอะไร เพราะว่ารัฐบาลอียูมีการอุดหนุนทุ่มเงินให้กับการวิจัยกันมหาศาลของบริษัทวัคซีนต่างๆ อย่างมหาศาล ด้วยต้นทุนการผลิตที่ถูกกว่า และการเป็นเจ้าของสิทธิบัตร

โควิด-19: วัคซีน-ยารักษาโรค คืบหน้าถึงไหน หลังการระบาดผ่านไป 4 เดือน - BBC News ไทย

ในขณะที่ประเทศไทยนั้นไม่ได้ออกเงินช่วย AstraZeneca ในการทำวิจัย แต่รัฐบาลไทยใช้งบประมาณราว 500 ล้านบาท หรือเพียง 16 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้บริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ ปรับปรุงโรงงานให้เป็นไปตามข้อกำหนดการผลิตวัคซีนของ AstraZeneca และได้วัคซีนที่ราคาต่อโดสคือ 5 ดอลลาร์สหรัฐ พร้อมรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตให้ เพื่อเป็นศูนย์กลางการผลิตวัคซีนกระจ่ายสู่ภูมิภาคในอนาคต

ขณะที่ประเทศอื่นๆ เช่น แอฟริกาใต้โดนไป 5.25 ดอลลาร์สหรัฐต่อโดส ปากีสถาน 6 ดอลลาร์สหรัฐต่อโดส ประเทศอื่นๆ ในอาเซียนก็ 7.8 – 8.1 ดอลลาร์สหรัฐต่อโดส และอินเดียที่เป็นพื้นที่ทดสอบวัคซีนของ AstraZeneca ร่วมกับบริษัทในประเทศแท้ๆ ยังมีราคาวัคซีนต่อโดสสูงถึง 13.4 ดอลลาร์สหรัฐ