อดีตบิ๊กข่าวกรอง แนะ ไทยนุ่มนวลไป ควรปรับทัพจัดการม็อบ ให้เท่าเทียมสหรัฐฯ และสากล!!

2784

อดีตบิ๊กข่าวกรอง ยกสหรัฐฯ จัดการม็อบหัวรุนแรงจนไม่กล้าหือ แนะไทยปรับใช้จัดการพวกชังชาติ ซัด NGO หายหัวเงียบ!?!

จากกรณีที่เกิดเหตุกลุ่มผู้ที่สนับสนุนโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ รวมตัวกันประท้วงการประชุมสภาคองเกรสสหรัฐ เพื่อยืนยันผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐที่นายโจ ไบเดน ตัวแทนจากพรรคเดโมแครต คว้าชัยชนะไปได้ ทางกลุ่มผู้ชุมมนุมซึ่งทรัมป์ เป็นผู้เรียกร้องให้ออกมาชุมนุมกดดันการยืนยันผลการนับคะแนนเลือกตั้งประธานาธิบดีก่อนหน้านี้ ได้บุกเข้าไปในตัวอาคารจนต้องปะทะกับเจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชน

โดยเจ้าหน้าที่ต้องใช้สเปรย์พริกไทย และมีรายการการใช้แก๊สน้ำตาจนเกิดเสียงดังและมีกลุ่มควันลอยคละคลุ้งบริเวณอาคารท่ามกลางสถานการณ์ที่วุ่นวายและยังมีกลุ่มผู้ชุมนุมบุกเข้าไปในห้องประชุมวุฒิสภาด้วย ซึ่งสามารถยับยั้งการรับรองโจ ไบเดนได้สำเร็จ ในขณะที่ทางด้าน สมาชิกสภานิติบัญญัติได้รับหน้ากากป้องกันแก๊สน้ำตาเพื่อป้องกันตัวเองจากแก๊สน้ำตาขณะที่พวกเขารีบไปที่ปลอดภัยและละทิ้งพิธีการกลางคัน จากเหตุการณ์ดังกล่าว ได้มีรายงานว่า ขณะนี้มีผู้เสียชีวิต 5 รายในพื้นที่รัฐสภา และอีก 52 รายถูกจับกุม นอกจากนี้ยังมีเจ้าหน้าที่ตำรวจและประชาชนอีกหลายรายได้รับบาดเจ็บ

ในขณะที่ก่อนหน้านี้ ในประเทศไทยก็มีม็อบที่มีการเคลื่อนไหว ท่ามกลางสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งโจมตีไปที่สถาบันพระมหากษัตริย์ และม็อบครั้งล่าสุดก็มีเหตุการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้น เมื่อกลุ่มผู้ชุมนุมนัดรวมกันตัวที่สามย่านมิตรทาวน์ นำโดยนายกิตติ์พิวัฒน์ สีบุญเรือง หรือบก.เอ็ม ปลดแอก รวมมวลชนกว่า 100 คน มาประท้วงเรียกร้องให้ปล่อยตัว 2 ผู้ร่วมกิจกรรม เขียนป้ายผ้ายาว 112 เมตร ซึ่งต่อมา ได้เกิดเสียงคล้ายระเบิดบริเวณที่ชุมนุมม็อบปลดแอก ย่านสามย่าน บริเวณหน้าปากซอยจุฬา 42 ถนนพญาไท ผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่ตำรวจต่างหนีตายกันกระเจิง ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์กันเป็นจำนวนมาก

ล่าสุดทางด้าน นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กถึงกรณีการจัดการม็อบหัวรุนแรงของสหรัฐฯ ว่า ไทยควรนำมาปรับใช้บ้าง โดยระบุข้อความว่า

“เอาจริงก็ไม่กล้า

กลุ่มสนับสนุนทรัมป์ที่คาดว่าจะก่อกวนพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งของไบเดน ประธานาธิบดีคนใหม่เมื่อ 20 มกราคม​ ที่มีภาพแต่งชุดคล้ายทหารสะพายปืนเดินกร่างจำนวนหนึ่ง แต่พอเห็นการเตรียมกำลังพร้อมอาวุธของกองกำลังเนชั่น​การ์ด​ ร่วมสองหมื่นกว่าคน และคำสั่งให้ใช้อาวุธเท่านั้น

ไอ้ที่ว่าแน่ๆ  ฝ่อทันใด  ไม่กล้าหือ ไม่รู้หายไปไหนหมด พิธีสาบานตนเข้าตำแหน่งเป็นไปด้วยความเรียบร้อย วิธีการที่ประเทศประชาธิปไตยอย่างสหรัฐ​ ใช้อำนาจและกลไกรัฐในการจัดการ​กับม็อบหัวรุนแรง​ ที่ไม่ได้ชุมนุมโดยสงบและมีอาวุธ น่าจะเป็นแบบอย่างให้อีกหลายประเทศ รวมทั้งไทยเป็นแนวทางในการปรับใช้กับการจัดการกับการชุมนุมของพวกนิยมความรุนแรง

แต่กลุ่มสิทธิมนุษยชนและเอ็นจีโอหายไปไหนกันหมด  ไม่ออกมาประณามสหรัฐบ้างเลย  ว่าป่าเถื่อนใช้กำลังทหารในการรักษาความสงบ  ทำไมไม่ใช้ตำรวจ​ แถมเตรียมอาวุธเหมือนจะไปทำสงคราม​ กลุ่มสิทธิฯและเอ็นจีโอต้องประท้วงนะ อย่าอยู่เฉยๆ ไม่งั้นถูกกล่าวหาตาย”.

หากย้อนกลับไป เมื่อวันที่ 16 ต.ค.63 ในประเทศไทยได้มีการชุมนุมของกลุ่มคณะราษฎร โดยการปิดแยกราชประสงค์ และเป็นครั้งแรกที่ได้ทำการสลายการชุมนุม โดยใช้การฉีดน้ำแรงดันสูง ตามหลักวิธีการสลายการชุมนุมสากล จากความอดทนต่อการบ่อนทำรายเศรษฐกิจมาเป็นเวลาร่วมเดือนในส่วนอีกครั้งที่เจ้าหน้าที่ทำการสลายการชุมนุม โดยใช้การฉีดน้ำแรงดันสูง ก็จะเป็นในวันที่ 17 พ.ย.63 บริเวณหน้ารัฐสภาฯ

เนื่องจากผู้ชุมนุมพยายามบุกเข้าบริเวณอาคาร โดยทั้ง 2 ครั้ง เจ้าหน้าที่ไม่มีการใช้ความรุนแรงอย่างอื่น นอกเหนือจากการฉีดน้ำสลายชุมนุม ตามหลักสากลทั่วไป แต่การกระทำสลายการชุมนุมดังกล่าว กลับถูกองค์กร NGO ต่างๆ ที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน รวมถึงผู้ที่สนับสนุนกลุ่มผู้ชุมนุม ออกมาโจมตีอย่างรุนแรง เหมือนกับว่าการกระทำดังกล่าวของเจ้าหน้าที่รัฐเป็น “อาชญากรรม” และประชาชนที่พยายามจะบุกเข้าพื้นที่รัฐสภาฯ เป็นเหยื่อที่ถูกกระทำ แต่เหตุที่เกิดที่รัฐสภาสหรัฐ กลับไม่ออกมมาแสดงความคิดเห็นหรือเรียกร้องอะไรเลย