จากกรณีที่กำลังเป็นกระแสดราม่าอยู่ในขณะนี้ สำหรับประเด็น พิมรี่พาย หรือ พิมรดาภรณ์ เบญจวัฒนะพัชร์ แม่ค้าออนไลน์และยูทูปเบอร์ชื่อดัง เดินทางไปที่ หมู่บ้านแม่เกิบ ต.นาเกียน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ เพื่อช่วยเหลือชาวบ้านและเด็ก ๆ ซึ่ง พิมรี่พาย ก็ได้ทุ่มเงินของตัวเองกว่า 5 แสนบาท ในการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ และซื้ออุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อช่วยเหลือเด็ก ๆ ที่ด้อยโอกาส
โดย วันที่ทำกิจกรรมดังกล่าวนั้น มีครูเจตน์ สทธิคุณ เป็นครูประจำที่สอนอยู่ที่หมู่บ้านแห่งนี้ และได้เล่าว่าที่หมู่บ้านเด็กประมาณ 40 คน เด็กไม่มีความฝันเพราะมองภาพอะไรไม่ออก ทั้งหมู่บ้านไม่มีใครเรียนจบ ม.ต้นเลยสักคน พวกเขาจินตนาการไม่ออกว่า ถ้าได้เรียนต่อแล้วมันจะเป็นยังไงต่อ ที่นี่ไม่มีอินเตอร์เน็ต ไม่มีทีวีที่สามารถเผยแพร่ให้เด็ก ๆ ดูได้ และการมาทำกิจกรรมของพิมรี่พายในครั้งนี้ ถือเป็นการเปิดโลกให้เด็ก ๆ จนเกิดเสียงชื่นชมจำนวนมากนั้น
ต่อมาก็มี ผู้ใช้เฟซบุ๊ก Beam Akapol ที่โพสต์ข้อความถึงกรณีของพิมรี่พาย โดยระบุข้อความว่า “พิมรี่พายขึ้นดอยครั้งเดียวเด็กมีไฟฟ้าใช้ แต่…ขึ้นดอยมา 70 ปี ….//ไม่พูดดีกว่า” ซึ่งการโพสต์ดังกล่าวถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก ขณะที่ก็มีกลุ่มคนบางกลุ่มออกมาโหนกระแสดังกล่าว โดยบอกว่าการกระทำของพิมรี่พายเป็นตัวอย่างที่ดี และรัฐบาลควรเอาเป็นแบบอย่าง ขณะที่ยังมีบางคนจาบจ้วงไปยังสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วย
เหตุนี้เองพิมรี่พายจึงได้ออกมาไลฟ์สดผ่านทางเฟซบุ๊กระบุไปถึงพวกที่ออกมาโหนกระแสตน ว่า จะมาโหนทำไม เอาตนไปโยงแบบนั้นทำไม แบบนี้ใครจะกล้าทำความดี
ล่าสุด เรื่องยังไม่จบ เมื่อ นายจอม เพชรประดับ สื่อเสื้อแดง ลี้ภัยหนีคดีความมั่นคงในประเทศสหรัฐอเมริกา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กระบุว่า “พิมรี่พาย” ของจริง เทียบไม่ได้กับ “ตูน บอดี้สแลม”
ปรากฏการณ์ของ “พิมรี่พาย” ไม่ใช่เพิ่งเกิดในสังคมอุปถัมภ์ที่ความเหลื่อมล้ำระหว่างความเป็นคนมีอยู่ในทุกอณูของสังคมไทย เสียงวิพากษ์วิจารณ์ที่แตกต่างหลากหลาย อื้ออึงกันอยู่ในสังคมไทยเวลานี้ เป็นสิ่งที่ไม่เกินคาดหมายเพราะได้เคยเกิดขึ้นมาแล้ว
สำหรับผม หากจะให้สรุปรวบยอด ไม่เอาแบบเทา ๆ หรือกลาง ๆ ก็ต้องบอกว่า สิ่งที่พิมรี่พายทำเป็นสิ่งดีงามที่มนุษย์พึงกระทำต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ข้อจำกัดของสังคมไทย ที่คนธรรมดาทั่วไป ไม่มีตำแหน่ง ยศ ชั้น หรือบรรดาศักดิ์ ทำอะไรที่สร้างผลกระเทือนได้ทั้งแผ่นดินแบบนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย
แน่นอนเมื่อแสงสว่างของโซล่าร์แซลเพียงไม่กี่แผงของเธอ ได้ส่องสว่างกระจ่างแจ้งไปทั่วแผ่นดิน ทำให้เห็นถึง ปัญหา ความล้มเหลวของรัฐรวมศูนย์แบบไทยในหลายมิติ ทั้งมิติของกฎหมาย การจัดสรรทรัพยากร สำนึกของรัฐที่ยังมองคนไม่เท่ากัน สำนึกของชนชั้นสูง ชั้นกลางที่ให้นิยามความสุขบนฐานชีวิตที่เต็มพร้อมของตัวเอง …เหล่านี้คือความสำเร็จของ พิมรี่พาย
ต้องไม่ลืมว่าเธอคือแม่ค้า เธอไม่ใช่นักสิทธิมนุษยชน ไม่ใช่นักวิชาการด้านสังคมศาสตร์ ไม่ใช่นักเคลื่อนไหวเพื่อความเสมอภาคความเท่าเทียม และเธอก็ไม่ใช่นักเคลื่อนไหวทางการเมืองที่กำลังต่อสู้อยู่กับชนชั้นปกครองเผด็จการราชานิยมอยู่ในขณะนี้
การที่ แม้ค้าออนไลน์คนหนึ่ง พอจะมีฐานะขึ้นมาจากน้ำพักน้ำแรงของเธอ และต้องการช่วยเหลือ แป่งปันให้กับเพื่อนมนุษย์ด้วยกันที่เธอเห็นว่า ด้อยกว่า ขาดโอกาสกว่า เธอจึงตัดสินใจทำตามความคิดความเชื่อ และความฝันของเธอเอง ด้วยฐานคิดของคนทั่วไปที่มีจิตใจเมตตา จะหวังให้เธอใช้กระบวนคิดเพื่อตอบสนองเป้าหมายของคนอีกหลายร้อย หลายพันกลุ่มในสังคมได้อย่างไร
กรณีของ พิมรี่พาย อาจจะคล้ายกับ ตูน แต่ผมว่าแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงในเจตนารมณ์และเป้าหมาย พิมรี่พาย เธอไม่ได้มีเป้าหมาย หรือนัยยะทางการเมืองอย่างชัดเจนเหมือน ตูน ขณะที่ตูนกลับช่วยปิดบัง ปกป้องปัญหาเชิงโครงสร้าง ช่วยปิดบังความล้มเหลวผิดพลาดของรัฐราชการที่ปกครองโดยชนชั้นนำ
ตูน เสนอตัวเองไปเป็นเครื่องมือทางการเมืองให้กับรัฐบาลเผด็จการ หรือกลุ่มการเมืองอย่างชัดเจนมากกว่า
ขณะที่ พิมรี่พาย มาจากเจตนาที่จะช่วยเหลือเพื่อนร่วมประเทศของเธอล้วน ๆ และด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นเรื่องที่น่าเศร้าและน่าเห็นใจอย่างยิ่ง ที่เธอกำลังถูกผลักและถูกสร้างให้กลายเป็น ศัตรู คนใหม่ของรัฐราชการเผด็จการราชานิยมในสังคมไทยไปอีกคน ซี่งจะยิ่งสร้างความเสียหาย สร้างความผิดหวังให้กับคนไทยโดยส่วนใหญ่เมื่อ กลไกของรัฐไล่ล่าเธอจนเธอไม่อาจจะสร้างความดีให้กับเพื่อนร่วมประเทศของเธอได้อีกต่อไป เป็นกำลังใจให้ พิมรี่พาย ทำความดีอย่างที่เธอหวังต่อไปครับ
อย่างไรก็ตาม นายจอม มีการพาดพิงไปถึง “ตูน บอดี้สแลม” หรือ อาทิวราห์ คงมาลัย ซึ่งหากย้อนไปแล้ว โครงการ “ก้าวคนละก้าวนั้น” เป็นโครงการที่ทุกคนพูดถึงและชื่นชมอย่างมาก โดยโครงการนี้เป็นการวิ่งเพื่อหาเงินสมทบไปช่วยเหลือโรงพยาบาล ช่วยซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ ซึ่งโครงการดังกล่าวถูกจัดขึ้นโดย ตูน บอดี้สแลม และทีมงาน
เริ่มที่ เมื่อปี 2560 ที่ ตูน บอดี้สแลม และทีมงาน ร่วมด้วยเหล่าศิลปิน นักแสดง ออกมาร่วมวิ่ง ในครั้งนั้นได้เงินบริจาคให้กับโรงพยาลบางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์
ขณะที่ ในปี 2561 ก็มีการจัดวิ่ง ก้าวคนละก้าว เพื่อ 11 โรงพยาบาล โดยทางทีมงานก้าวคนละก้าวได้ประชุมหารือร่วมกับ พล.ต.นพ.นิมิตร์ สะโมทาน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า ในฐานะประธานมูลนิธิ รพ.พระมงกุฏเกล้า และผู้อำนวยการโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) อีก 10 แห่ง ประกอบด้วย รพ.ยะลา รพ.สุราษฎร์ธานี รพ.ราชบุรี รพ.เจ้าพระยายมราช จ.สุพรรณบุรี รพ.สระบุรี รพ.ขอนแก่น รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร รพ.นครพิงค์ จ.เชียงใหม่ รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ และ รพ.น่าน เพื่อจัดสรรเงินโครงการก้าวคนละก้าวฯ
นพ.อนันต์ กมลเนตร ผู้อำนวยการ รพ.สระบุรี กล่าวถึงเกณฑ์การจัดสรรเงินว่า ทางคณะกรรมการได้หารือร่วมกันโดยมีมติตัดเงินยอดแรกในจำนวนเงิน 1,300 ล้านบาท สำหรับเกณฑ์ในการจัดสรรเงินให้ทั้ง 11 โรงพยาบาลนั้น ใช้จำนวนเตียงของโรงพยาบาลเป็นเกณฑ์แล้วบวกให้อีก 1% เช่น มี 700 เตียง ก็เท่ากับ 7% แล้วบวกให้อีก 1% เป็น 8% จากจำนวน 1,300 ล้านบาท เป็นต้น
1. รพ.ยะลา 7% คิดเป็นจำนวน 91 ล้านบาท
2. รพ.สุราษฎร์ธานี 10.5% คิดเป็น 136.5 ล้านบาท
3. รพ.ราชบุรี 10% คิดเป็น 130 ล้านบาท
4. รพ.เจ้าพระยายมราช จ.สุพรรณบุรี 7% คิดเป็น 91 ล้านบาท
5. รพ.สระบุรี 8% คิดเป็น 104 ล้านบาท
6. รพ.ขอนแก่น 11% คิดเป็น 143 ล้านบาท
7. รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร จ.ปราจีนบุรี 7% คิดเป็น 91 ล้านบาท
8. รพ.นครพิงค์ จ.เชียงใหม่ 7% คิดเป็น 91 ล้านบาท
9. รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ 8.5% คิดเป็น 110.5 ล้านบาท
10. รพ.น่าน 7% คิดเป็น 91 ล้านบาท และ