สัญญาณเศรษฐกิจฟื้น!! สภาพัฒน์ฯเร่งปฏิรูปชาติ 13 ด้าน ธปท.ขานรับพร้อมเตือนระวังโควิดรอบ 2

1997

แบงก์ชาติเผยตัวเลขเศรษฐกิจก.ค.ปรับตัวดีขึ้น ส่งสัญญาณเศรษฐกิจฟื้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป  คาดอีก 6 เดือนที่เหลือลุ้นรายได้การท่องเที่ยวเพิ่ม แต่ห่วงโควิด-19 ระบาดรอบ 2 เพราะทั่วโลกเผชิญอยู่ ไทยจึงประมาทไม่ได้ ส่วนสภาพัฒน์มองเศรษฐกิจมีสัญญาณบวก และต้องเร่งผลักดันการปฏิรูปประเทศไทยทั้งระบบชง 13 ด้านครอบคลุมฟื้นเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน ประสานการใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า

ธปท.แถลงตัวเลขเศรษฐกิจปรับดีขึ้นต่อเนื่อง

– วันที 31 ส.ค.2563, นายดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในปีนี้มีความเป็นไปได้ 2  ทาง โดยหากดูจากการฟื้นตัวในช่วงเดือน มิ.ย.-ก.ค.63 ปรับตัวดีขึ้นกว่าที่ประเมินไว้ แต่มองไปข้างหน้ายังมีความไม่แน่นอนสูง โดยเฉพาะตัวเลขของนักท่องเที่ยวต่างชาติคาดว่าในปีนี้จะเหลืออยู่ที่ 6.7 ล้านคน รวมทั้งความเสี่ยงจากการระบาดของโควิด-19 รอบ 2 ซึ่ง ธปท.ได้นำมารวมในคาดการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจปี 2563 ในรอบนี้ด้วย

ส่วนกรณีที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่าจีดีพีปีนี้จะขยายตัวติดลบ 10% นั้น จากข้อมูลพบว่า เศรษฐกิจครึ่งปีแรกติดลบ 7% หากจะให้เศรษฐกิจทั้งปีติดลบ 10% เศรษฐกิจครึ่งปีหลังจะต้องติดลบ  13% ซึ่งติดลบสูงกว่าเศรษฐกิจในไตรมาส 2/2563 จึงเหลือปัจจัยเดียวที่จะทำให้เศรษฐกิจไทยลงลึกถึงจุดนั้น คือการระบาดของโควิด-19 รอบ 2 จนทำให้มีการปิดเมือง ล็อกดาวน์ ซึ่งจากปัจจัยในขณะนี้ยังมองไม่เห็นว่าเศรษฐกิจจะลงลึกได้ขนาดนั้น

“การเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติให้เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยอีกครั้ง จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้ในช่วงที่เหลือของปีนี้และปีหน้า แต่ต้องทำอย่างระมัดระวัง เพราะหากเกิดการระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทยรอบ 2 อาจทำให้ประเทศกลับมาลำบากอีกครั้ง โดยปี 2564 ธปท. คาดการณ์ว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติ 16 ล้านคน ขณะที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาคาดไว้ที่ 12  ล้านคนซึ่งถือว่าต่ำมาก สะท้อนว่าปีหน้าความเสี่ยงสำคัญจะสูงกว่าปีนี้ หากนักท่องเที่ยวกลับเข้ามาไม่ได้” นายดอนระบุ

สภาพัฒนฯดันแผนปฏิรูปประเทศ-ใช้งบฯให้คุ้มค่า

เปิดแผนใช้งบประมาณปฏิรูปประเทศ 13 ด้าน-ฉบับปรับปรุง ซึ่งสภาพัฒน์จะเปิดเวทีฟังความคิดเห็นสัปดาห์นี้   เผยว่าสภาพัฒน์เร่งระยะ 2 ปี 2564-65

-ทุ่มงบฯ 100 ล้านบาทใน 2 ปี หวังขจัดทุจริตจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ 

-ส่วนกระบวนการยุติธรรมจัด 1,000 ล้านบาท ให้สภาทนายความจัดหาทนายความอาสาประจำสถานีตำรวจ 

-ด้านสำนักงานศาลยุติธรรมใช้ 352 ล้านบาท ปฏิรูประบบปล่อยตัวชั่วคราวในวันหยุดราชการ 

-ด้านเศรษฐกิจชงหักงบอุดหนุนภาคเกษตร 10% ของ 3 กระทรวงใหญ่ สร้างเกษตรมูลค่าสูงให้เกษตรไทย 

-ปฏิรูปภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข ใช้งบฯ 100 ล้านบาท 3 ปี 

-สร้างมูลค่าที่ดินรัฐให้ประชาชน 500 ล้านบาท 

-งานปฏิรูปป้องปราบทุจริต จ่อใช้เงินที่ยึดจากทุกคดี ต้านภัยทุจริตทั้งระบบ

สภาพัฒน์ได้เผยแพร่ (ร่าง) แผนการปฏิรูปประเทศ หลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้ง 13 คณะกรรมการชุดใหม่ไปเมื่อต้นเดือน ส.ค. โดยมีประเด็นที่น่าติดตามได้แก่

ด้านการเมือง (ฉบับปรับปรุง เดือนสิงหาคม 2563) กำหนดกิจกรรมปฏิรูป โดยยังไม่มีการระบุงบประมาณ ได้แก่

  1. กิจกรรมการส่งเสริมความรู้ทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยใช้สื่อออนไลน์ร่วมสมัย มีสถาบันพระปกเกล้าเป็นเจ้าภาพ ดำเนินการในปี 2565 กิจกรรมที่ 
  2. การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ เช่น การผลักดันร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกรับวนการนโยบายสาธาาณะ พ.ศ. … คาดว่าจะดำเนินการในปี 2565
  3. กิจกรรมสร้างความสามัคดีปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติ โดยชูเรื่อง “การนิรโทษกรรมแก่ผู้ที่กระทำผิดจากการชุมนุมและแสดงออกทางการเมือง” ความขัดแย้งทางการเมือง และการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ยังไม่มีการกำหนดหน่วยงานเจ้าภาพ และงบประมาณ คาดว่าจะดำเนินการในปี 2565 เช่นกัน 
  4. กิจกรรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งและความโปร่งใสของนักการเมืองท้องถิ่น เน้นพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์ในการเลือกตั้งท้องถิ่น เป็นต้น
  5. กิจกรรมส่งเสริมการพัฒนาการเมือง ที่สำนักงาน กกต.จะเป็นเจ้าภาพ ที่จะดำเนินในปี 2565 เช่น การผลักดันให้พรรคการเมือง “จัดการเลือกตั้งขั้นต้น” ในแต่ละเขตเลือกตั้งเพื่อคัดเลือกผู้สมัครเป็นสมาชิกพรรคในแต่ละเขตอย่างแท้จริง

-ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน (พ.ศ. 2561-2565) (ฉบับปรับปรุง เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2563) กำหนดกิจกรรมปฏิรูป 5 กิจกรรม ได้แก่ 

  1. กิจกรรมพลิกโฉมการบริหารงานและการบริหารภาครัฐเพื่อเป็นแพลตฟอร์มของทุกภาคส่วนสำหรับแก้ไขปัญหาและเยียวยาประเทศภายหลังโควิด-19 โดยมีสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (สพร.) เป็นเจ้าภาพร่วมกับสภาพัฒน์, ก.พ.ร., ก.พ., สำนักงบประมาณ, สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และกรมบัญชีกลาง โดยกิจกรรมนี้ยังไม่มีกำหนดงบประมาณดำเนินการ ระหว่างปี 2564-2570 โดยมีการต่อยอดและขยายผล
  2. กิจกรรมการสร้างความยืดหยุ่น คล่องตัว และทันการเปลี่ยนแปลง ในระบบการบริหารราชการ กำหนดให้ ก.พ.ร. ร่วมกับ ก.พ.สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง ดำเนินการใช้งบกว่า 2 ล้านบาท จากงบประมาณประจำระหว่างปี 2564-2565 กิจกรรมที่ 
  3. เปิดระบบบริหารทรัพยากรบุคคลในภาครัฐเพื่ความยืดหยุ่น คล่องตัวและเชื่อมโยงกัน มีหน่วยงานอย่าง “สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ และองค์กรกลางบริหารงานบุคคลต่างๆ” มาทำงานร่วมกับ ก.พ.ร. สำนักงบฯ และกรมบัญชีกลาง ใช้งบประมาณประจำ 20 ล้านบาท ระหว่างปี 2564-2565
  4. กิจกรรมสร้างความเข้มแข็งในการบริหารราชการเชิงพื้นที่โดยประชาชนเพื่อประชาชน โดยกระทรวงมหาดไทย จะเป็นเจ้าภาพร่วมกับ ก.พ.ร. สำนักงบฯ ก.พ. และกรมบัญชีกลาง ใช้งบประจำ 7 ล้านบาท ดำเนินารระหว่าง 2564-2565 กิจกรรมที่ 5.การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ที่มีความรวดเร็วคุ้มค่า ปราศการการทุจริต มีกรมบัญชีกลาง และ สตง.เป็นเจ้าภาพ ทำงานใน 2 ปี ใช้งบมากกว่า 100 ล้านบาท

-ด้านกระบวนการยุติธรรม (พ.ศ. 2561-2565) (ฉบับปรับปรุง เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2563) กิจกรรมการรับแจ้งความร้องทุกข์ต่างท้องที่ โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องเขตพื้นที่การสอบสวน พัฒนาระบบการสอบสวนสร้างความเชื่อมั่นให้แก่พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการ มีสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นเจ้าภาพ ใน 2 ปี ใช้งบประมาณ 63 ล้านบาท  ในการจัดหาทนายความอาสาประจำสถานีตำรวจให้ครบทุกสถานีตำแหน่ง ใช้งประมาณกว่า 1,070 ล้านบาทของกระทรวงยุติธรรม รายการเงินอุดหนุนสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมย์ ดำเนินการโดยระยะ 2 ปี มีสภาทนายความ เป็นเจ้าภาพ กิจกรรมที่ 4 ปฏิรูประบบการปล่อยตัวชั่วคราวในวันหยุดราชการ ใช้งบกว่า 352 ล้านบาท มีสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นเจ้าภาพดำเนินการในระย 2 ปี

-ด้านเศรษฐกิจ (พ.ศ. 2564-2565 มีกิจกรรมที่กำหนดงบประมาณแล้ว เช่น การสร้างเกษตรมูลค่าสูง (High Value Added) ให้กับเกษตรไทย 149 ไร่ แนวทางหนึ่งที่สำคัญและเร่งด่วนในการเพิ่มผลิตภาพและมูลค่าต่อหน่วยพื้นที่ทางการเกษตร คือ การปรับเปลี่ยนไปสู่การปลูกพืชที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง เช่น หน่อไม้ฝรั่ง ขิง ถั่ว พริกไทย กล้วย ฯลฯ โดยใช้งบประมาณ ร้อยละ 10 ของงบประมาณที่รัฐใช้ในการอุดหนุนภาคการเกษตร ของเจ้าภาพจากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงอุตสาหกรรม ดำเนินการใน 2 ปี

ด้านสาธารณสุขที่น่าสนใจ เช่น กิจกรรมที่ 1 การปฏิรูปการจัดการภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขเพื่อความมั่นคงแห่งชาติด้านสุขภาพ มีกรมควบคุมโรค และกองสาธารณสุขฉุกเฉิน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นเจ้าภาพ ดำเนินการใน 3 ปี ใช้งบประมาณ 100 ล้านบาทสำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2563-2565

ด้านสังคม ในกิจกรรมปฏิรูปที่ 5 การสร้างมูลค่าให้กับที่ดินที่รัฐจัดให้กับประชาชน มีคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ) เจ้าภาพดำเนินการ 2 ปี วงเงินงบประมาณแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 500 ล้านบาท จากงบประมาณแผ่นดินเป็นเงินใช้บริหารงานในเบื้องแรก และเงินหมุนเวียนที่ได้จากกองทุนต่างๆ และกิจการอันเนื่องมาจากการจัดการที่ดินที่รัฐจัดให้ประชาชน

ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ เช่น กิจกรรมปฏิรูปที่ 1 “ประชาราษฎร์รวมใจต้านภัยทุจริต” สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) (องค์กรมหาชน) จะเป็นเจ้าภาพ ดำเนินการ ในปี 2564 จะใช้งบประมาณ 85 ล้านบาท (สนับสนุนการดำเนินการระดับจังหวัด และกรุงเทพมหานคร เฉลี่ยจังหวัดละ 1 ล้านบาท และกิจกรรมส่วนกลาง 3 ล้านบาท และสนับสนุนหรือร่วมสมทบกิจกรรมเฉพาะที่เกี่ยวข้องข้องกับองค์การหรือสาธารณกุศลและเครือข่ายภาคประชาสังคมที่มีบทบาทต้านการทุจริตคอร์รัปชัน อาทิ มูลนิธิต้านการทุจริตประพฤติมิชอบต่างๆ 5 ล้านบาท)

นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ ว่า การปรับปรุงแผนปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจในครั้งนี้มุ่งให้ความสำคัญกับการสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจภายในประเทศ (Local Economy) มากขึ้น เพื่อชดเชยช่วงที่เศรษฐกิจที่พึ่งพาภายนอกและรับผลกระทบจากโควิด-19 รวมทั้งในช่วง 1-2 ปีข้างหน้า เศรษฐกิจอยู่ในช่วงฟื้นตัวจากผลกระทบโควิด-19 

ทั้งนี้ มี 5 ส่วนที่คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนการปฏิรูป ได้แก่ 1.การปฏิรูปเศรษฐกิจเพื่อสร้างเกษตรมูลค่าสูง 2.การปฏิรูปเศรษฐกิจเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวคุณภาพสูง 3.การเพิ่มโอกาสของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็กในอุตสาหกรรมและบริการเป้าหมาย 4.การเป็นศูนย์กลางด้านการค้าและการลงทุนในภูมิภาคของประเทศไทย 5.การพัฒนาศักยภาพคนเพื่อเป็นพลังในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ