หลังจาก “โจ ไบเดน” จับมือ “คามาลา แฮร์ริส” คว้าคะแนนเสียงจากประชาชนท่วมท้น และไบเดนได้เสียงคณะผู้เลือกตั้ง 306:232 ชนะทรัมป์อย่างเป็นทางการแล้ว ก้าวต่อไปที่ทั่วโลกจับตาคือ คณะรัฐมนตรีของเขาที่ไปเดนได้เคยเผยเจตนารมณ์ไว้ ในระหว่างการรณรงค์หาเสียงการเลือกตั้ง ว่าครม.ของเขาจะเป็นที่รวมของความหลากหลายและมีผู้หญิงครองตำแหน่งสำคัญ และแล้วไบเดนก็ได้สร้างความฮือฮาแก่สังคมอเมริกันและโลก ด้วยการเสนอทีมสื่อสารผู้หญิงล้วนของทำเนียบขาว ตามมาด้วยการประกาศรายชื่อทีมคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีผู้หญิงที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นรัฐมนตรี-รัฐมนตรีช่วยกว่า 10 ราย
หมากการเมืองที่มีเสน่ห์
เมื่อ 4 ปีก่อนตอนที่ชาวอเมริกันเลือก “โดนัลด์ ทรัมป์” นักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ผู้ไม่เคยลงสมัครรับเลือกตั้งในตำแหน่งทางการเมืองมาก่อน มาเป็นประธานาธิบดีก็เพราะนโยบายที่โดนใจ กล้าทำอย่างที่นักการเมืองหน้าเก่า (Establishment) ไม่เคยทำมาก่อน
ครั้นได้ทรัมป์เข้ามาแล้วก็ต้องยอมรับว่า ทรัมป์มักทำอะไรที่แหวกขนบประเพณีทางการเมืองแบบเก่าๆเสมอ เช่น การพูดจาโดยไม่แคร์สื่อไม่สนใจใคร ซึ่งแน่นอนว่า คำพูดเหล่านั้นบ่อยครั้งไปกระทบผู้หญิงและคนผิวสีซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในสังคมหลากหลายอย่างสหรัฐ ดังนั้นเมื่อ โจ ไบเดน ก้าวขึ้นมาจึงถูกคาดหวังอย่างมากว่าจะเป็นผู้เยียวยาความปั่นป่วนที่ทรัมป์ทิ้งไว้ หนึ่งในนั้นคือการยอมรับผู้หญิงและคนผิวสีให้มากกว่าที่ทรัมป์ทำ
และไบเดนก็ไม่ทำให้ผิดหวัง ตั้งแต่ปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา เมื่อคะแนนคณะผู้เลือกตั้งนำทิ้งห่างจากทรัมป์ ทำให้ทั้งไบเดนและทีมงานมั่นใจว่าจะคว้าชัยชนะในการเลือกตั้งครั้งนี้อย่างแน่นอน จึงได้ประกาศว่าที่ ทีมงานคณะรัฐบาล ทั้งทีมเศรษฐกิจ สาธารณสุข และทีมสื่อสารทำเนียบขาว ปรากฏว่า ทีมรัฐมนตรีหญิง และเจ้าพนักงานที่มีตำแหน่งสูงระดับรัฐมนตรี มีผู้หญิงจำนวนไม่น้อย
ที่สำคัญทีมคณะรัฐมนตรีมีผู้หญิงรับตำแหน่งว่าที่รัฐมนตรีและรัฐมนตรีช่วยว่าการมากกว่าครึ่ง ซึ่งปรากฏเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ การตั้งทีมครม.สหรัฐ และก่อนหน้าเปิดรายชื่อทีมรัฐมนตรี ก็ได้ประกาศทีมสื่อสารทำเนียบขาวผู้หญิงล้วน นำความฮือฮามาสู่สังคมสหรัฐและโลก
บุคคลแห่งปี-ทีมบริหารหญิงแห่งปี
โจ ไบเดน และคามาลา แฮร์ริส คือบุคคลแห่งปี 2020 ของนิตยสารไทม์’ นายเอ็ดเวิร์ด เฟลเซนไท (Edward Felsenthal) บรรณาธิการบริหารนิตยสารไทม์ยกย่องโจ ไบเดน และคามาลา แฮร์ริส เป็นบุคคลแห่งปี 2020
คำนิยมที่นิตยสารไทม์ ให้กับว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐ คนที่ 46 และว่าที่รองประธานาธิบดีหญิงคนแรกของสหรัฐว่า
“สำหรับการเปลี่ยนแปลงเรื่องราวของชาวอเมริกัน สำหรับการแสดงให้เห็นถึงพลังของความรู้สึกร่วมยิ่งใหญ่กว่าความโกรธที่สร้างความแบ่งแยก สำหรับการแบ่งปันความคิดของการเยียวยาในโลกที่โศกเศร้า”
เปิดโฉมหน้าทีมรมว.หญิงสหรัฐ
1.นางคามาลา แฮร์ริส ถือเป็นผู้หญิงคนแรก, คนผิวสีคนแรก และคนอเมริกันเชื้อสายเอเชียใต้คนแรก ที่จะได้ดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา
เมื่อวันที่ 30 พ.ย. ที่ผ่านมา (ตามเวลาท้องถิ่นสหรัฐ) “โจ ไบเดน” ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐได้เปิดตัวตำแหน่งทีมเศรษฐกิจสำคัญใน ครม. ที่ได้เสนอชื่อเพื่อรอสมาชิกวุฒิสภารับรอง ซึ่งแต่ละคนล้วนมีประวัติการทำงานกับพรรคเดโมแครตและองค์กรเศรษฐกิจต่าง ๆ ของสหรัฐ
2.เจเน็ต เยลเลน ซึ่งก่อนหน้านี้ไบเดนเคยแย้มไว้ว่าจะมานำทีมเศรษฐกิจ ล่าสุดยืนยันว่าจะเข้ารับตำแหน่ง “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง” ซึ่งเจเน็ตได้เป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้เป็นประธานธนาคารกลาง (FED) ช่วงปี 2014-2018 และเธอจะเป็นผู้หญิงคนแรกที่นั่งตำแหน่งนี้
3.เซซิเลีย เราซ์ นักเศรษฐศาสตร์ถูกเสนอชื่อเป็น ประธานสภาที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจ ซึ่งหากวุฒิสภารับรองตำแหน่ง ทั้งคู่จะกลายเป็นชาวแอฟริกันอเมริกันคนแรกที่ได้รับตำแหน่งเหล่านี้
4.นางนีรา แทนเดน ซึ่งเคยมีส่วนร่วมในการร่างกฎหมายโอบามาแคร์ เป็น หัวหน้าสำนักงานบริหารจัดการและงบประมาณ ซึ่งถ้าได้รับการรับรอง เธอจะเป็นผู้หญิงผิวดำและชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียใต้คนแรกที่ได้เป็นผู้นำหน่วยงานนี้
5.เฮเตอร์ บุชชี่ รับตำแหน่ง “สมาชิกสภาเศรษฐกิจแห่งชาติ” ซึ่งตอนนี้หนึ่งในหัวหน้าที่ปรึกษาเศรษฐกิจของประธานาธิบดี (CEA) และเป็นนักเขียนหนังสือเศรษฐกิจชื่อ “Unbound: How Economic Inequality Constricts Our Economy and What We Can Do About It” ซึ่งไฟแนนเชี่ยลไทมส์เคยรายงานว่าเป็นหนึ่งในหนังสือเศรษฐกิจที่ดีที่สุดเมื่อปี 2019
6.เรมา โดดิน, 7.ชูวันซา กอฟฟ์ ผู้อำนวยการ,รองผู้อำนวยการสำนักนิติบัญญัติ ทำเนียบขาว
8.ดร.โรเชลล์ วาเลนสกี ผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันควบคุมโรค (CDCP) the Centers for Disease Control and Prevention
10.ดร.มาร์เซลลา นูเนซ-สมิท ประธานการปฏิบัติการต้านโควิด-19 (Equity Task Force)
นอกจากนี้ไบเดนยังได้เสนอผู้หญิงเข้ารับตำแหน่งที่เทียบเท่ารัฐมนตรี มีบทบาทสำคัญมากอีกหลายตำแหน่งเช่น
นางแอฟริล ไฮนส์ ได้รับการเสนอชื่อเป็นผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติ (DNI) ซึ่งทำหน้าที่เป็นหัวหน้าคณะกรรมการข่าวกรองสหรัฐฯ คอยดูแลโครงการข่าวกรองแห่งชาติ
นางลินดา โธมัส-กรีนฟีลด์ ได้รับการเสนอชื่อเป็น ทูตสหรัฐฯ ประจำสหประชาชาติ