อัษฎางค์ ชำแหละ ประวัติศาสตร์ 10 ธันวา วันชิงสุกก่อนห่าม ของคนที่มีความรู้แต่ไม่มีความคิด!?!

2270

จากกรณีที่สถานการณ์การเมืองในขณะนี้ เรียกว่าเป็นที่จับตามองเป็นอย่างมาก ขณะนี้ก็ได้มีการเคลื่อนไหว โดยใช้สัญลักษณ์ค้อนเคียว ซึ่งก็มีคนวิพากษ์วิจารณ์เป็นจำนวนมาก

เนื่องจากเป็นสัญลักษณ์คล้ายคอมมิวนิสต์ ประกอบกับเมื่อวานนี้ (10 ธันวาคม 2563) ซึ่งเป็นวันรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นวันสำคัญของประเทศไทย และเป็นวันแห่งประวัติศาสตร์ด้วย

ล่าสุดทางด้าน นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการประวิติศาสตร์ ได้โพสต์ข้อความถึงกรณีวันที่ 10 ธันวาคม วันชิงสุกก่อนห่าม โดยระบุข้อความว่า

“10 ธันวาคม วันชิงสุกก่อนห่าม”
………………………………………………………………….
ส่วนหนึ่งในบันทึกนายยาสุกิจิ ยาดาเบ ทูตญี่ปุ่น เรื่องการเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทย ระบุว่า
เริ่มมีกลุ่มคนที่พระเจ้าอยู่หัวให้ทุนส่งไปศึกษายังประเทศในยุโรปที่พยายามปฎิรูปการเมืองเปลี่ยนแปลงการปกครองมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 และหลังจากรัชกาลที่ 6 เสด็จครองราชย์ได้ 2 ปี ก็เกิดขบวนการปฎิวัติ 2 กลุ่ม
กลุ่มแรกเรียกร้องรัฐธรรมนูญแบบราชาธิปไตย (ประชาธิไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข) กลุ่มที่ 2 เรียกร้องระบบสาธารณรัฐ (มีประธานาธิปดีเป็นประมุข) แต่กระทำการไม่สำเร็จ
ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 ซึ่งทรงเสด็จไปศึกษายังต่างประเทศตั้งแต่ยังทรงพระเยาย์ และสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยจากอังกฤษ และโรงเรียนเสนาธิการจากฝรั่งเศส จึงมีแนวพระราชดำริแบบเสรีนิยม และมีพระราชดำริที่จะเริ่มการปกครองในแบบรัฐธรรมนูญราชาธิปไตย (ประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข) ทรงมีพระบรมราชโองการในการปฎิรูป “กรรมการองคมนตรีสภา” เพื่อฝึกฝนให้กรรมการองค์มนตรีสภาเข้าใจกระบวนการรัฐสภา เป็นการเตรียมตัวเพื่อพัฒนาระบบรัฐสภานิติบัณญัติในอนาคต เมื่อพระองค์เสด็จประพาสสหรัฐฯอเมริกาเพื่อรักษาพระเนตรได้ทรงประทานสัมภาษณ์แก่หนังสือพิมพ์ว่า ประเทศสยามจะมีรัฐบาลในระบอบรัฐสภาในอีกไม่นานนี้
………………………………………………………………….
จากประวัติการเมืองไทย พบพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 หลังจากที่ทรงมีพระราชวินิจฉัยว่าประชาธิปไตยยังไม่ถึงเวลาสำหรับเมืองไทย โดยมีใจความว่า
“ราษฎรไม่ได้เลือกผู้แทนของตน เพราะรู้แน่ว่าเป็นคนดี สมควรจะเป็นผู้แทน ด้วยประการทั้งปวงฉนี้เลย ตามจริงเลือกบุคคลผู้นั้นผู้นี่ เพราะมีผู้บอกให้เลือกฤาติดสินบนให้เลือกเท่านั้น”
………………………………………………………………….
เหล่าสามัญชนที่ได้รับทุนการศึกษาจากพระเจ้าอยู่หัวให้ไปศึกษายังต่างประเทศ เมื่อสำเร็จการศึกษากลับมาแล้วก็ลำพองตัวว่าเป็นนักเรียนนอกมีความรู้สูง แต่ไม่สามารถที่จะมีความเจริญก้าวหน้าในงานราชการ เป็นเจ้ากระทรวง ทบวง กรมได้ เพราะมีแต่พระบรมวงศานุวงศ์เท่านั้นที่เป็นใหญ่
*ซึ่งความต้องการมีอำนาจในทางการบริหารราชการแผ่นดินและในทางการเมืองนี่คือหนึ่งในเหตุผลที่สำคัญ แต่ถูกแอบแฝงเอาไว้ภายใต้หน้ากากที่แอบอ้างว่าทำเพื่อการปฏิวัติประชาธิปไตย
*ส่วนอีกเหตุผลหนึ่งคือ การถูกตัดลดเงินเดือน
เนื่องจากหลังจากสงครามโลกสงบลง ก็เกิดภาวะเศรษฐกิจฝืดเคืองทั่วโลก แต่ในหลวงรัชกาลที่ 7 ไม่ทรงต้องการจะขึ้นภาษีให้ราษฎรเดือดร้อน ทรงใช้นโยบายตัดทอนงบประมาณที่ไม่จำเป็น รวมทั้งลดเงินเดือนข้าราชการ
ซึ่งปัญหาเศรษฐกิจดังกล่าวไม่ได้เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทย แต่เกิดขึ้นทั่วทั่วโลก แต่คณะราษฏร์ 2475 ก็อาศัยภาวะเศรษฐกิจทดถอยเป็นหนึ่งในข้ออ้างในการปฏิวัติ
มันชั่งมีความคล้ายคลึงการข้ออ้างของคณะราษฏร์ 2563 ที่อ้างว่ารัฐบาลปัจจุบันขาดความสามารถในการบริหารประเทศ เพราะเศรษฐกิจตกต่ำ ทั้งๆ ที่ทั่วทั่วโลกก็้กิดภาวะเศรษฐกิจทดถอน เนื่องจากเกิดโควิดระบายไปทั่วโลก
………………………………………………………………….
อีกปัญหาหนึ่งซึ่งมีความคล้ายคลึงกันระหว่างสมาชิกคณะราษฏร์ 2475 และ 2563 คือบัณฑิตและนักศึกษาที่ผ่านการศึกษา แต่เหมือนคนไร้การศึกษา เพราะขาดการคิดวิเคราะห์ถึงความเหมาะสม ความถูกผิด
จากหนังสือสิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็นของหม่อมเจ้าพูนพิศสมัย ดิศกุล บันทึกไว้ว่า…
“การศึกษาของเด็กสมัยใหม่นี้ก็ไม่มีอะไรเป็นหลักนอกจากให้รู้ภาษาอังกฤษและฝรั่งเศสหรือภาษายุโรปประเทศอื่นเป็นอย่างดีแล้ว ก็เรียกว่ามีการศึกษาแล้วและเมื่ออ่านได้แล้วก็มีสิทธิ์จะเลือกอ่านอะไรก็ได้ตามชอบใจไม่มีใครจะเป็นผู้ชี้แจงให้เห็นประโยชน์โทษทัน” นั้นเป็นการบ่งบอกว่า นักศึกษาและบัณฑิตจากปี 2475 ถึง 2563 ยังคงมีลักษณะที่สามารถการอ่านออกเขียนได้ แต่ไม่รู้จักคิดวิเคราะห์ ว่าอะไรถูกอะไรผิด อะไรจริงอะไรเท็จ อะไรเหมาะสมหรือไม่เหมาะสม
………………………………………………………………….
ช่วงปลายปี 2474 เริ่มมีความลับรั่วไหลเป็นข่าวลือทุกวัน โดยทางตำรวจทำรายงานกราบทูลเฉพาะเจ้าฟ้าบริพัตร เสนาบดีมหาดไทย พระองค์เดียว แต่พระองค์ไม่ทรงเชื่อ
พฤษภาคม 2475 ในหลวงรัชกาลที่ 7 เสด็จไปพักที่พระราชวังไกลกังวล ที่หัวหินโดยก่อนที่จะเสด็จไปหัวหินคราวนั้นได้รู้ทรงทราบว่าทหารบกคิดจะปฏิวัติเร็วๆ นี้
ก่อนเสด็จไปหัวหินได้เสด็จไปหาเจ้านายพระองค์หนึ่งเป็นการส่วนพระองค์ เพื่อจะบอกว่าจะทรงเสด็จไปที่หัวหินเพื่อร่างรัฐธรรมนูญ และรับสั่งให้กรมหมื่นเทเวศฯ ไปล็อบบี้กับเจ้าฟ้าบริพัตรเพื่อโน้มน้าวใจให้ทรงเห็นด้วย ซึ่งถ้าเห็นด้วยแล้ว พระองค์จะเสด็จกลับมากรุงเทพและพระราชทานรัฐธรรมนูญในเดือนกรกฎาคม แต่แล้วในวันที่ 24 มิถุนายนคณะราษฎร์ก็ปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองซึ่งเป็นการชิงสุกก่อนห่ามเพราะในหลวงได้เตรียมการที่จะมอบรัฐธรรมนูญที่เป็นในลักษณะค่อยๆ เปลี่ยนแปลง แบบค่อยเป็นค่อยไป ให้อยู่แล้ว
………………………………………………………………….
จากหนังสือเกิดวังปารุสก์ ของพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ บันทึกไว้ว่า…
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชหัตถเลขาเป็นภาษาอังกฤษพระราชทานไปยังพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ โดยทรงเล่าถึงเหตุการณ์ในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ปรากฏความว่า
“…ฉันรู้สึกเสียดายอย่างยิ่งที่เขามิได้คิดจะถอดฉัน และฉันยังเสียใจอยู่จนบัดนี้ ความรู้สึกขั้นแรกก็คือจะลาออกทันที แต่สมเด็จกรมพระสวัสดิ์ฯ แนะนำว่าไม่ควรทำ เพราะถ้าทำเช่นนั้นอาจมีการรบกันจนนองเลือดทั้งยุ่งยากต่าง ๆ จนอาจมีฝรั่งเข้ามายุ่งและชาติเราอาจเสียอิสรภาพได้… ถ้าเราจะรบโดยใช้ทหารหัวเมืองหรือ นั่นเป็นของแน่ที่เราอาจทำได้ แต่ฉันไม่ยินยอมเลยแม้แต่ชั่วขณะเดียว เพราะเจ้านายในกรุงเทพฯ อาจจะถูกฆ่าหมด ฉันรู้สึกว่าฉันจะนั่งอยู่บนราชบัลลังก์ที่เปื้อนโลหิตไม่ได้… สมเด็จกรมพระสวัสดิ์ฯ แนะนำตลอดเวลาให้ยินยอมกลับกรุงเทพฯ และช่วยคณะราษฎรจัดตั้งการปกครอง โดยมีกษัตริย์และรัฐธรรมนูญ ซึ่งก็เป็นของที่ฉันเคยอยากจะทำมานานแล้ว แต่ว่าฉันเสียขวัญ
ในที่สุด มีทางจะทำได้ ๒ ทาง คือจะหนี หรือจะกลับกรุงเทพฯ……”
ในการตกลงใจอย่างกล้าหาญเด็ดเดี่ยวเช่นนั้น เพราะในเวลานั้น เราอาจจะกลับไปสู่ความตายก็ได้
…เลือกเอาความตายดีกว่าการเสียศักดิ์ เท่านั้นก็พอแล้วสำหรับฉัน
………………………………………………………………….
พอรุ่งขึ้น 25 มิถุนายนคณะราษฎร์ได้ส่งหลวงศุภชลาสัยไปรับตัวในหลวงกลับกรุงเทพโดยทางเรือ
แต่พระองค์แต่พระองค์เสด็จกลับมาเองโดยทางรถไฟ รุ่งขึ้นคณะราษฎรจึงเข้าเฝ้าถวายรัฐธรรมนูญชั่วคราว
เล่ากันว่าในหลวงทรงพระกันแสงเมื่อเห็นพระยาศรีวิสารวาจาและตรัสว่าตั้งหุ่นแกรู้แล้วใช่ไหมว่าฉันจะให้รัฐธรรมนูญทำไมจึงต้องทำให้ฉันอัพอายเค้าถึงเช่นนี้พระยาศรีวิสารฯ ก็น้องห้ายทูลตอบว่าข้าพระพุทธเจ้า ไม่ได้รู้เห็นด้วยเลยจริงๆและมีหลายคนที่ร้องไห้ตามในหลวง หลังจากที่ทุกคนกลับกันแล้วในหลวงก็ประชวรจนถึงขั้นกับสลบต้องฉีดยาและถวายการพยาบาลอยู่ตลอดคืน
………………………………………………………………….
พระเจ้าอยู่หัวตั้งแต่รัชกาลที่ 5,6 และ 7 ทรงได้รับการศึกษาสมัยใหม่ และทรงเป็นพระมหากษัตริย์นักบริหารหัวก้าวหน้าที่มีวิสัยทัศน์ มองการณ์ไกล ทรงเห็นแล้วว่า การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้นจะต้องพ้นสมัยไป จึงทรงตั้งพระราชหฤทัยที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญให้ไทยมีการปกครองแบบประชาธิปไตย แต่ก็ทรงมีความเห็นว่าราษฎรส่วนใหญ่ยังไม่มีความพร้อมกับการปกครองระบอบใหม่นี้
จึงทรงเริ่มแบบค่อยเป็นค่อยไป ด้วยการให้การศึกษาแก่ประชาชน รวมทั้งฝึกหัดช้าราชการให้รู้จักการปกครองแบบประชาธิปไตยหลายๆ วิธี และวิธีที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด คือการตั้งดุสิตธานี เป็นเมืองต้นแบบการปกครองแบบประชาธิปไตย พระราชดำรัสของในหลวงรัชกาลที่ 6 เมื่อร้อยกว่าปีก่อนที่ว่า…
“ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจอย่างถ้องแท้ในเรื่องประชาธิปไตย จึงถูกนักการเมืองหลอกหลวง ชักจูง และติดสินบน ทำให้ผิดวัตถุประสงค์ของประชาธิปไตย”
เป็นพระราชวินิจฉัยที่ว่าราษฎรยังไม่มีความพร้อมเพราะขาดความรู้ความเข้าใจในระบอกประชาธิปไตยนี้ จะเป็นอันตรายต่อประเทศชาติและประชาชน เพราะจะมีเพียงแค่กลุ่มคนเล็กๆ ที่ได้รับการศึกษาสูงที่พอจะเข้าใจการปกครองระบอบประชาธิปไตย และกลุ่มคนเหล่านี้ก็สามารถหลอกลวงและชักจูงให้ทำผิดวัตถุประสงค์ของประชาธิปไตยที่แท้จริง เช่นด้วยการติดสินบนให้เลือกกลุ่มของตน แต่ในที่สุดคณะราษฎร์ก็ก่อการปฎบัติ ที่เป็นเหมือนการชิงสุกก่อนห่ามนี้ ที่ส่งผลให้ทั้งเกิดปัญหาการเมืองและความขัดแย้งทางการเมืองมาจนทุกวันนี้
………………………………………………………………….
อัษฎางค์ ยมนาค
รวบรวม เรียบเรียง