รัฐยืนข้างผู้บริโภค ?!!? บ.ลิสซิ่งป่วน ธปท.รื้อใหญ่ค่าทวงหนี้ให้ความเป็นธรรมแก่ลูกหนี้ เจ้าหนี้ค้านไม่คุ้ม โอดรัฐอุ้มคนผิดสัญญา

2058

สมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทยยื่นข้อเสนอเพิ่มเติม หลังถกค่าธรรมเนียมทวงหนี้ร่วม ธปท.และสศค.แล้วตกลงกันไม่ได้ สาเหตุธปท.เคาะค่าทวงหนี้เหลือ 100 บาท ค่าลงพื้นที่ 500 บาท เพราะธปท.มองให้ความเป็นธรรมแก่ลูกหนี้ ส่วนเจ้าหนี้ทั้งไฟแนนซ์ ธนาคารที่ให้สินเชื่อรถยนต์ อ้างราคาไม่สมเหตุผลกับสินเชื่อของลูกหนี้ที่มีมูลหนี้หลายประเภท และไม่เท่ากัน  ทำให้ต้นทุนค่าสจ้างบริษัทภายนอกทวงหนี้สูง (เอาท์ซอร์ส) และอาจทำให้คนหนีหนี้มากขึ้น ตกลงกันไม่ได้ ถกอีกครั้ง กันยายนนี้

พรบ.ทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 ในส่วนของธุรกิจเช่าซื้อและธุรกิจลิซซิ่ง ยังต้องรอคณะกรรมการ กำกับการทวงหนี้ กำหนดราคากลางในการกำหนดการทวงถามหนี้ แม้ว่าจะมีการหารือระหว่างผู้แทนจากสมาคมเช่าซื้อไทย และสมาคมการค้า ผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อ ทะเบียนรถร่วม กับสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เมือวันที่ 20 ก.ค.2563 เพื่อกำหนดอัตราค่าทวงถามหนี้ สำหรับกลุ่มเช่าซื้อและจำนำทะเบียน แต่ยังไม่สามารถหาข้อสรุปที่ตรงกันได้

ธปท.เสนอค่าทวงหนี้ 100 บาท และค่าลงพื้นที่ 500 บาท ซึ่งต่างจากสมาชิกของทั้งสองสมาคม ทางสมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทย โดยนายวิสิทธิ์ พึ่งพรสวรรค์ ประธานกรรมการเปิดเผยว่า จะมีการพิจารณาอีกครั้งในเดือนสิงหาคมนี้

ในมุมมองของเจ้าหนี้  อย่างสมาคมเช่าซื้อไทย และสมาคมการค้า ผู้ประกอบการสินเชื่อทะเบียนรถร่วมมองวา เป็นค่าใช้จ่ายที่น้อยมาก ไม่คุ้มค่าใช้จ่ายจริงที่ ต้องจ้างบริษัทภายนอกทำการทวงถามลูกหนี้ การออกกฎเช่นนี้ จะทำให้ลูกหนี้หลีกเลี่ยง ผิดวินัยทางการเงินเป็นวงกว้าง เป็นการไม่เป็นธรรมกับคนที่เคารพกตืกา

ธปท.มองว่าเป็นธรรมกับลูกหนี้แล้ว เพราะการติดตามทวงถามเท่ากัน ค่าใช้จ่ายที่ธนาคารหรือเจ้าหนี้ลิสซิ่งใช้ในการติดตามถือเป็นเงินลงทุน ซึ่งปกติสถาบันการเงิน หรือไฟแนนซ์คิดรวมเป็นค่าธรรมเนียม หรือค่าใข้จ่ายในการทวงหนี้จากลูกหนี้อยู่แล้ว

 

ข้อเท็จจริงของมูลหนี้และการทวงหนี้สินเชื่อในปัจจุบัน

ประกาศของธปท. วันที่ 29 ก.ค. 2563 อัตราค่าธรรมเนียมเปรียบเทียบของสินเชื่อเช่าซื้อ รถยนต์และรถจักรยานยนต์ ของธนาคารพาณิชย์ คิด 200-35,000 บาท ต่อสัญญา ขี้นต่อชนิดของรถยนต์ ทำค่าใช้จ่ายในการท่วงหนี้ ต่อกรณีต่อรายพุ่งถึง 35,000 บาทต่องวด

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา คิด 200 บาท ถ้าผิดนัดชำระ 1 งวด และ 300 บาทถ้าผิดนัดชำระงวดที่ 2  ส่วนธนาคารทิสโก้คิด 321 บาทต่องวด ธนาคารไทยพาณิชย์ ถ้ายังไม่ยกเลิกสัญญาคิด 321-525 บาท หากยกเลิกสัญญา จะคิด 1,500-16,000 บาท, ธนชาติ คิดขั้นต้ำ 400 บาท สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ธนาคารแลนด์แอนด์เฮาส์ ครั้งละ 200 บาท เกียรตินาคินคิด กรณีค้างชำระเกิน 3 งวด ถ้าเป็นรถยนต์ทุกประเภท ถ้าเป็นประเภทที่ 2 คิดค่าที่ 1,000-12,000 บาท ต่องวด ถ้าเป็นรถบรรทุก และรถมีใบอนุญาตประกอบการ จะคิดต้้งแต่ 3,500-35,000 บาทต่องวด  ส่วนที่เหลือจะไม่มีการคิดค่าติดตามทวงถามหนี้

หากพิจารณาตามข้อเท็จจริงในสถานการณ์ปกติ  คงไม่มีใครว่าอะไร เพราะที่ผ่าานมาระบบการเงินการธนาคารได้เปรียบผู้บริโภคอยู่แล้ว ทั้งในเรื่องดอกเบี้ยปกติ  ค่าใช้จ่ายในการทวงถาม ค่าใช้จ่ายในการติดตามทวงหนี้ ทวงทางโทรศัพท์ในเบื้องต้น ไม่น่ามีค่าใช้จายเพิ่ม เพราะเป็นเจ้าหน้าที่ของฝ่ายเจ้าหนี้อยู่แล้ว  แต่ค่าใช้จ่ายบริษัทภายนอกที่ใช้ทวงหนี้ (เอาท์ซอร์ส) ที่เปิดเพดานไว้สูง  ส่วนใหญ่เจ้าหนี้ก็ใช้สิทธิ์เรียกเก็บจากลูกหนี้สูงติดเพดานเสมอ หากเกิดกรณีผิดนัดชำระหนี้

แต่ปัจจุบัน สถานการณ์ที่เป็นจริงทั้งโลก และในประเทศไทย ทุกคนล้วนเผชิญสึนามิทางเศรษฐกิจ ซี่งเกิดจากผลของการระบาดไวรัสโควิด-19 อย่างทั่วหน้า  อย่าว่าจะจ่ายค่าหนี้สินเลย ค่าใข้จ่ายในการดำรงชีวิตก็ยังยาก  ทางฝ่ายเเจ้าหนี้ ก็ยังคงยืนยันที่จะขอกำไรจากส่วนต่างเหล่านี้ในระดับสูงสุดเหมือนเดิม ขณะที่ธปท.ยึดถือความจริงที่เกิดขึ้นกับ ชีวิตของประชาชนคนธรรมดา ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายดูแลประคับประคองประชาชนให้ดำเนินชีวิตต่อไปได้  ถ้าคิดในมุมกลับกัน ถ้าค่าธรรมเนียมที่เพิ่มจากมูลหนี้ไม่สูงเกินไป  ลูกหนี้ก็อาจพอมีหนทางผ่อนหนักเป็นเบา เจรจาผ่อนชำระได้ 

ตามกำหนดการปะชุมอีก 2 เดือนข้างหน้า ก็หวังว่า ฝ่ายเจ้าของเงินทั้งหลาย เจ้าหนี้องค์กรทั้งหลายจะยอมเข้าใจสถานการณ์ ปรับเปลี่ยนมุมมองและจุดยืนให้สอดคล้องกับความจริง ของลูกหนี้และยอมผ่อนปรนให้ ได้สมประโยชน์ทั้งสองฝ่าย  ยุคนี้ต้องแบ่งกันแบกรับความยากลำบากที่ต้องเผชิญกันทั้งโลก จะรวยไม่เลิกอยู่ฝั่งเดียว คงไม่ค่อยสอดคล้องความจริงกระมัง

………………………………………………………