หวังช่วยคนตกงาน!! รัฐฯจ้างเรียนสร้างอาชีพ ฝึกอบรมแทนว่างงาน ปั้นแพลตฟอร์มระดับชาติ “ไทยมีงานทำ” แก้ปัญหาทุกวงการ

2052

หน่วยงานภาครัฐ ทั้งกระทรวงแรงงาน, สภาพัฒน์และแบงก์ชาติ ต่างตระหนักในปัญหาแรงงานไทยที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดโควิด-19 ผ่านมาตรการช่วยเหลือระยะที่ 1 แล้ว ยังมีแนวโน้มยากลำบาก เพราะปัญหาการระบาดไวรัส และเศรษฐกิจทั่วโลกทรุด กดดันการดำเนินกิจการค้าและทำธุรกิจของไทย ท่ามกลางความวิตก สร้างแพลตฟอร์มระดับชาติ “ไทยมีงานทำ” ขึ้นเพื่อรองรับปัญหาที่จะเกิด รองรับแรงงานทุกระดับเชื่อมโยงระหว่างภาคเอกชนและภาครัฐ

สิ้นเดือนสิงหาคมนี้ เป็นช่วงเวลาสิ้นสุดมาตรการเยียวยาในรอบแรกของรัฐบาล ทุกฝายต่างกังวลปัญหาคนตกงานอาจพุ่งสูงขึ้นระลอกใหม่ เป็นผลกระทบจากการที่สุถานประกอบการ นายจ้าง ต่างทนพิษโควิด-19 และเศรษฐกิจซึมต่อไปไม่ไหว มาตรการทางการเงินที่เตรียมไว้ให้ ก็ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ภาคเอกชนและนักวิชาการต่างเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหา ก่อนสาย

สถานการณ์แรงงานปี 2563 ทั้งการว่างงาน ตกงาน ถูกเลิกจ้าง ทุกฝ่ายต่างคาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 แม้คลี่คลายสำหรับประเทศไทย แต่ทั่วโลกต้องเผชิญกับระบาดรอบใหม่ ทั้งที่รอบแรกยังไม่ดีขึ้น หรือบางที่แค่ผ่อนคลาย ทรงตัว ส่งผลให้เศรษฐกิจการค้าทั่วโลกดิ่งลงยังหาทางโงหัวไม่ขึ้น เช่นนี้ ประเทศไทยไม่พ้นต้องรับมือกับสถานการณ์ภายนอกที่เขม็งเคร่งเครียดทั้งสงครามการค้าของมหาอำนาจ และการต่อสู้ในทางยุทธศาสตร์พื้นที่ของสหรัฐและจีนอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงรัฐบาลได้ออกมาตรการเยียวยา-ฟื้นฟูเศรษฐกิจในวงเงินรวม

สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์ฯ) ร่วมกับ ธนาคารแห่งประเทศไทย เห็นร่วมกันถึงปัญหา แนวโน้มคนตกงาน 8.4 ล้านคน ได้จัดทำแพลตฟอร์มระดับชาติ มารองรับปัญหาแรงงาน การตกงาน ว่างงานชื่อว่า “ไทยมีงานทำ” (job platform หรือ digital labor marketplace) .

มีวัตถุประสงค์รอบรับตลาดแรงงานที่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างครั้งใหญ่ ต้องโยกย้ายแรงงานจากสาขาที่มีความเสี่ยงไปสู่สาขาที่มีแนวโน้มเอาตัวรอดได้ในยุควิกฤติโควิด-19  ขณะเดียวกันต้องพัฒนาตนเองยกระดับและปรับทักษะให้สอดคล้องกับยุคใหม่ จำเป็นต้องมีเทคโนโลยีดิจิทัลมารองรับเพื่อเชื่อมโยงฐานข้อมูลด้านแรงงาน แก้ปัญหาได้ตรงข้อเท็จจริง

นายดนุชา พิชยนันท์ รองเลขาธิการสศช. เปิดเผยว่า สถานการณ์แรงงานมีแนวโน้ม ปัญหารุนแรง สภาพัฒน์ฯ จึงร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย โดยนายวีรไท สันติประภพ ผู้ว่าการ ธปท. ออกแบบแพลตฟอร์มให้ผู้ว่างงานทุกเซ็กเตอร์สามารถลงทะเบียนได้สะดวก และประสานบริษัทเอกชนให้มีระบบการจ้างงาน เพื่อจับคู่กัน จะเรียบร้อยภายในเดือนสิงหาคม โดยใช้งบ 400,000 ล้านที่ได้รับอนุมัติแล้ว บวกกับงบประมาณประจำปี  ในการนี้ผู้ว่างงานล่าสุดเดือน พ.ค. 2563 มีจำนวน 300,000 ราย (ตัวเลขผู้ว่างงานลงทะเบียนกับประกันสังคม)

ส่วนอีอีซี: นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการ สกพอ.(สำนักงานนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เปิดเผยว่าได้ร่วมกับบริษัทเอกชน ค่ายรถยนต์และชิ้นส่วนอุตสาหกรรมยานยนต์ เพื่อบรรเทาการตกงานในกลุ่มธุรกิจนี้ ซึ่งคาดการณ์ว่ามีกำลังแรงงานประมาณ 1 ล้านคน อาจตกงานประมาณ 3 แสนคน หรือบางแห่งอาจลดเวลาการทำงาน เหลือเดือนละ 10 วัน ซึ่งแน่นอนต้องกระทบกับรายได้ในการครองชีพของแรงงานไทย ใช้วิธีเปิดอบรม แทนว่างงาน ในการนี้รัฐบาลออกค่าอบรม 100% งบประมาณ 200 ล้านบาท อบรมกำลังแรงงาน 6,000 คน (จากกรอบงบฯฟื้นฟูเศรษฐกิจ 400,000 ล้านบาท)

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการ เปิดเผยว่า ธนาคารได้จัดทำโครงการ “เศรษฐกิจพอเพียงสร้างไทย” เพื่อช่วยเหลือคนตกงาน โดยธนาคารได้ออกสินเชื่อเพื่อสนับสนุนโครงการดังกล่าว 2.6 แสนล้านบาท โดยใช้งบ พ.ร.ก.วงเงินกู้ 5.5 หมื่นล้านบาท อยู่ในระหว่างพิจารณาของ คณะกรรมการการใช้้จ่ายเงินกู้

กรมสวัสดิการแรงงาน: นายอภิญญา สุจริตตานนท์ อธิบดีกรม เปิดเผยว่า การประกาศปิดกิจการ-เลิกจ้างยังมีต่อเนื่อง เพราะภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบ หลังเดือน ส.ค.ยิ่งน่าเป็นห่วง เพราะเป็นช่วงเวลาสิ้นสุดระยะเวลาเยียวยา กิจการบางส่วนสู้ไม่ได้ต้องปิดกิจการและเลิกจ้าง ที่ผ่านมาทางกระทรวงแรงงานดูแล ลูกจ้างในระบบ, นอกระบบ และแรงงานต่างด้าว

………………………………………………