จากการให้สัมภาษณ์ของ “บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์” ถึงเรื่องที่ผู้ชุมนุมออกมาเรียกร้อง 10 ข้อ ให้มีการปฎิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ บิณฑ์บอกว่า
“ส่วนการที่บอกว่าต้องการปฏิรูปสถาบันไม่ต้องการล้มล้างนั้น ตนมองว่าคำว่าปฏิรูปและคำว่าล้มล้างคือคำเดียวกัน โดยเฉพาะข้อเรียกร้อง 10 ข้อ ซึ่งเห็นว่าไม่ใช่การปฏิรูปสถาบัน ดังนั้นการปฏิรูปดังกล่าว ท้ายที่สุดแล้วก็จะนำไปสู่จุดนั้นอยู่ดี”
ล่าสุด ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ นักวิชาการประจำสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยเกียวโต ผู้ลี้ภัยการเมืองในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่ออกมาโพสต์เฟซบุ๊กโต้กลับถึงความหมายในการจะปฏิรูปสถาบันฯ โดยระบุข้อความว่า
“การออกมาพูดของฝ่ายนั้น (บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์) ที่บอกว่า สำหรับเค้า การปฏิรูปมีค่าเท่ากับการล้มล้าง นี่เป็นคำพูดที่ฉลาดมาก และได้ผล เพราะทันทีที่พูด ฝ่ายประชาธิปไตยต้องออกมายืนยันทันทีว่า การเรียกร้องของพวกเค้าเป็นแค่การปฏิรูปจริงๆ ไม่ใช่การล้มล้างอย่างที่ถูกกล่าวหา นี่เท่ากับเป็นการตีกรอบฝ่ายประชาธิปไตยโดยบิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ ไม่ให้ไปไกลกว่านั้น เป็นการสกัดความเคลื่อนไหวของฝ่ายประชาธิปไตย ให้อยู่ที่การปฏิรูป (และเอาจริงๆ ฝ่ายบิณฑ์ไม่เอาการปฏิรูปด้วยซ้ำ) ในส่วนของการหาข้อถกเถียงในสังคม ต่อให้เป็นการล้มล้างเพื่อสร้างระบอบใหม่ ก็เป็นสิ่งที่น่าจะมีการถกเถียงกันได้อย่างเสรีโดยไม่ต้องล้อมกรอบ เช่น สก๊อตแลนด์มีประชามติด้วยซ้ำที่จะออกจากสหราชอาณาจักร และออสเตรเลียก็มีการถกอย่างจริงจังที่จะเอาเจ้าอังกฤษออกจากการเป็นประมุข และต้องการออกจากเครือจักรภพอังกฤษด้วย”
อย่างไรก็ตาม แม้นายปวินจะชี้แจงความหมายของการปฏิรูปของกลุ่มคณะราษฎร 63 ว่าไม่ใช่การล้มล้างสถาบัน แต่ขณะเดียวกันภาพที่ปรากฎในบรรยากาศการประท้วงชุมนุมดันออกมาตรงกันข้าม