ทะเลจีนใต้ระอุ! จับตาฟิลิปปินส์พลิกขั้ว สัญญาณเปลี่ยนดุลอำนาจ เพราะผลประโยชน์ไม่ลงตัวในทะเลจีนใต้ จีนเครียดแต่เข้าทางสหรัฐ

4407

สถานภาพของจีนในทะเลจีนใต้สั่นคลอนครั้งใหญ่ เมื่อรัฐบาลฟิลิปปินส์พลิกโฉมหน้าจากเป็นปฏิปักษ์สกับสหรัฐ กลายเป็นเปิดประตูบ้านเชิญสหรัฐฯซ้อมรบและอาจมีแถมฐานทัพแบบอึ้งกันไปที้งอาเซียน ประเทศไทยจะวางบทบาทอย่างไรให้เหมาะสมในสถานการณ์คุกรุ่นรอบตัวนี้

ที่ผ่านมา อาเซียนได้แสดงท่าที ต้องการสมดุลระหว่างวอชิงตันกับปักกิ่งโดยไม่ต้องการเอียงข้างใดข้างหนึ่งมากเกินไปเสมอมา จนกระทั่งภาพการซ้อมรบในทะเลจีนใต้ และบรรยากาศการแสดงแสนยานุภาพกองทัพเรือสหรัฐ-และจีนอย่างไม่มีใครยอมใคร เมื่อต้นเดือนกรกฎาคม สร้างความตึงเครียดหนักขึ้นในช่วงเวลาการระบาดโควิด-19 ยังระบาดหนักในซีกโลกตะวันตก และมีแนวโน้มระบาดรอบสองอย่างน่าวิตก ในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิก

รัฐบาลฟิลิปปินส์, ประธานาธิบดีดูเตอร์เตแสดงท่าทีเป็นปฏิปักษ์กับสหรัฐและพยายามเป็นถ้อยทีถ้อยอาศัยกับจีน แต่ในระยะหลังจีนเริ่มแสดงท่าทีแข็งกร้าวในทะเลจีนใต้มากขึ้น ทำให้ฟิลิปปินส์ต้องเปลี่ยนท่าทีอีกครั้ง โดยหันมาซบไหล่พันธมิตรที่คอยคุ้มกันฟิลิปปินส์ในฐานะประเทศอณานิคมมาอย่างยาวนาน นั่นคือสหรัฐ

นโยบายกลับทิศครั้งนี้เกิดขึ้นเพราะความวิตกต่อท่าทีของจีนในการซ้อมรบทางทะเลจีนใต้ ประหนึ่งเป็นเจ้าของ ทะเลจีนใต้ซึ่งเป็นจุดเปาะบางเรื่องผลประโยชน์จึงตึงเครียดอีกครั้ง

นักวิเคราะห์ทางการเมืองตีความว่าการกลับลำเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าภูมิภาคอาเซียนมีความกังวลเกี่ยวกับการที่จีนอวดแสนยานุภาพทางทหารในทะเลจีนใต้มากขึ้น ทั้งฟิลิปปินส์, เวียดนาม และมาเลเซียล้วนมีข้อพิพาทกับจีนเกี่ยวกับการอ้างสิทธิ์เหนืออาณาเขตในทะเลจีนใต้

ทะเลจีนใต้สำคัญอย่างไร ทำไมจึงขัดแย้งกันไม่เลิกรา

ความสำคัญของทะเลจีนใต้ (South China Sea) คือเป็นทะเลปิด เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิก มีพื้นที่กินทั้งประเทศสิงคโปร์ถึงช่องแคบไต้หวัน รวมทั้งอ่าวตังเกี๋ยและอ่าวไทย มีเนื้อที่ประมาณ 3,500,000 ตารางกิโลเมตร มีเกาะเล็ก ๆ อยู่ประมาณ 200 เกาะ ในแนวหมู่เกาะสแปรตลีย์ (Spratly Islands) และหมู่เกาะพาราเซล (Paracel Islands) มีความสำคัญอย่างยิ่ง ทางด้านยุทธศาสตร์และการเมืองของโลก จึงเป็นที่หมายปองของมหาอำนาจทั้งตะวันตกและตะวันออก (สหรัฐอเมริกา, รัสเซีย, จีน และอินเดีย) ดังต่อไปนี้

1. ทำเลที่ตั้ง -ทะเลจีนใต้ครอบคลุมประเทศอาเซียน อยู่ทางใต้ของจีนแผ่นดินใหญ่และเกาะไต้หวัน อยู่ทางตะวันตกของฟิลิปปินส์ อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐซาบาห์และรัฐซาราวักของมาเลเซีย และบรูไน อยู่ทางเหนือของอินโดนีเซีย อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของคาบสมุทรมลายูและสิงคโปร์ และอยู่ทางตะวันออกของเวียดนาม จึงมีหลายประเทศหมายปองพื้นที่ทองคำบริเวณนี้
2.-การขนส่งน้ำมัน สินค้าต่าง ๆ มายังภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกต้องผ่านทางช่องแคบมะละกาต่อไปยังพื้นที่ส่วนอื่นของทะเลจีนใต้ ก่อนจะขนส่งต่อไปยังประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาค
3.-ทะเลจีนใต้’เป็นเส้นทางการจราจรทางทะเลที่คับคั่งมาก มีเรือบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่ใช้เส้นทางทะเลจีนใต้ จัดเป็นเส้นทางขนส่งทางเรือที่สำคัญ
4.-มีทรัพยากรน้ำมันและก๊าซธรรมชาติมหาศาลใต้ท้องทะเล
ผลประโยชน์ขัดกันความสัมพันธ์ย่อมเปลี่ยนแปลง
จีนอ้างสิทธิเหนือน่านน้ำทะเลจีนใต้ โดยยึดเส้นประ 9 เส้น (nine-dash line) ซึ่งจีนได้ลากครอบคลุมน่านน้ำในทะเลแห่งนี้ถึงร้อยละ 90 จากแผ่นดินใหญ่ไกลออกไปถึง 2,000 กิโลเมตร กระทั่งล้ำเข้าไปในน่านน้ำของฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และเวียดนาม ราว 200-300 กิโลเมตรเพื่อแสดงถึงสิทธิทางประวัติศาสตร์ที่เห็นได้อย่างชัดเจนเหนือน่านน้ำ และก่อนหน้านี้ ได้สร้างเกาะเทียม รวมทั้งรันเวย์และอุปกรณ์ทางทหารในพื้นที่ สร้างความวิตกกังวลต่อประเทศเพื่อนบ้านของไทย และสหรัฐฯ ซึ่งเคยมีอิทธิพลเหนือย่านนี้มาโดยตลอด

ในขณะที่ประเทศสมาชิกอาเซียน ได้แสดงท่าทีไม่พอใจต่อการเคลื่อนไหวเชิงรุกของจีนอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ก่อนการแพร่ระบาดโควิด-19 ทั้งหมดนี้ล้วนมีน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเป็นเหตุผลหลัก
อินโดนีเซีย : ขัดแย้งอย่างชัดแจ้ง เมื่อทางการของจีนการเผยแพร่แผนที่ที่แสดงเขตพื้นที่โดยครอบคลุมบริเวณหมู่เกาะนาทูนา บริเวณดังกล่าวเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ของอินโดนีเซีย อินโดนีเซียจึงตอบโต้ด้วยการจัดซ้อมรบทางทหารในบริเวณหมู่เกาะนาทูนา
มาเลเซีย : แหล่งก๊าซธรรมชาติหลายแห่งของบริเวณนอกชายฝั่งของเกาะซาราวัคอยู่ในน่านน้ำที่จีนอ้างสิทธิ แต่จีนไม่เคยทักท้วงการพัฒนาแหล่งก๊าซเหล่านี้มาก่อน
เวียดนาม : ทั้งจีนและเวียดนามต่างอ้างสิทธิเหนือแหล่งน้ำมันในพื้นที่นอกชายฝั่งเวียดนาม ทำให้บริษัทขุดเจาะน้ำมันของทั้งสองฝ่ายไม่สามารถเข้าเจาะสำรวจบริเวณดังกล่าวได้ตามกำหนด โดยแหล่งน้ำมัน Dai Hung (หมีใหญ่) ของเวียดนามก็อยู่ในเขตน่านน้ำที่จีนอ้างสิทธิด้วย
ฟิลิปปินส์ : ฟิลิปปินส์สำรวจและผลิตก๊าซธรรมชาติและก๊าซธรรมชาติเหลวในแหล่งมาลาปายาและคามาโกที่อยู่ในน่านน้ำที่จีนต่างก็อ้างสิทธิเช่นกัน

จุดเริ่มต้นอยู่ที่ผลประโยชน์ทรัพยกรธรรมชาติในพื้นที่ ที่ยังจัดสรรแบ่งปันไม่ลงตัว

อดีตที่สหรัฐอเมริกาแผ่อิทธิพลเหนือเอเซีย-แปซิฟิกอย่างเข้มแข็ง ปัญหาความขัดแย้งแม้มีก็ไม่ตึงเครียดรุนแรง เพราะไประเบิดอยู่แถวตะวันออกกลาง

สถานการณ์ที่กำลังคุกรุ่นอยู่ในน่านน้ำทะเลจีนใต้ ในกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกันแล้ว ฟิลิปปินส์ เป็นประเทศที่พลิกกลับไปมาและมีท่าทีแข็งกร้าวกับจีนอย่างชัดเจน แต่กับสหรัฐฯ วันนี้ เปลี่ยนเป็นผ่อนปรนเปิดรับบทบาทสหรัฐอเมริกาอย่างเต็มที่แล้ว โดยสั่งรื้อฟื้นสนธิสัญญาข้อตกลงการเยี่ยมเยือนของกองทัพ (Visiting Forces Agreement) ซึ่งอนุญาตให้กองทัพสหรัฐดำเนินการฝึกซ้อมร่วมขนาดใหญ่ในฟิลิปปินส์ ภายใต้ข้อตกลงรัฐบาลวอชิงตันและรัฐบาลกรุงมะนิลา เร็วขึ้นกว่ากำหนดถึง 2 เดือน (เดิมเส้นตายอยู่ที่ เดือนสิงหาคมศกนี้)

การพลิกท่าทีของฟิลิปปินส์เป็นผลประโยชน์ทางยุทธศาสตร์สำหรับสหรัฐ ที่รอจังหวะมานาน
เนื่องจากฟิลิปปินส์เป็นพันธมิตรตามสนธิสัญญาของสหรัฐเพียงประเทศเดียวที่อยู่ใกล้ทะเลจีน
ใต้ทั้งนี้ สหรัฐเคยตั้งฐานทัพเรือทางตอนเหนือของกรุงมะนิลา แต่ต้องถอนทัพออกไปเพราะทั้ง
สองฝ่ายตกลงกันไม่ได้เรื่องสัญญาเช่า สถานการณ์ใหม่และสถานภาพใหม่ของสหรัฐฯที่ฟิลิป
ปินส์ น่าจะทำให้จีนเครียดแต่สหรัฐยินดี

ท่ามกลางความตึงเครียดนี้ ประเทศไทยจะวางบทบาทให้เหมาะสมอย่างไร เมื่อ นายกรัฐมนตรี
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศ “ไม่เลือกข้าง”

…………………………………………