“เยอรมนี-เนเธอร์แลนด์” ไม่เอาด้วย! หักหน้า “ไบเดน” หาพวกแบนน้ำมันรัสเซีย ทำโลกเดือดร้อน!

1160

“เยอรมนี-เนเธอร์แลนด์” ไม่เอาด้วย! หักหน้า “ไบเดน” หาพวกแบนน้ำมันรัสเซีย ทำโลกเดือดร้อน!

จากกรณีที่นายอเล็กซานเดอร์ โนวัค รองนายกรัฐมนตรีรัสเซีย ขู่ว่า บรรดาประเทศในกลุ่มตะวันตกอาจเผชิญกับราคาน้ำมันที่พุ่งขึ้นเหนือระดับ 300 ดอลลาร์/บาร์เรล และท่อส่งก๊าซหลักระหว่างรัสเซีย – เยอรมนี อาจถูกปิดลง หากรัฐบาลของชาติตะวันตกยังคงเดินหน้าแผนการระงับนำเข้าน้ำมันจากรัสเซีย

ล่าสุดวันนี้ (8 มีนาคม 2565)  สื่อต่างประเทศรายงานว่า สหรัฐฯ มีความตั้งใจเดินหน้าแบนนำเข้าน้ำมันจากรัสเซีย โดยปราศจากการมีส่วนร่วมของพันธมิตรในยุโรป ตอบโต้กรณีมอสโกรุกรานยูเครน ตามรายงานของรอยเตอร์โดยอ้างแหล่งข่าวใกล้ชิดกับประเด็นนี้ หลังจากหลายชาติยุโรปมีท่าทีไม่เห็นด้วยกับมาตรการดังกล่าว โดยเฉพาะเยอรมนีกับเนเธอร์แลนด์

ขณะเดียวกัน รัสเซียเตือนว่า ราคาน้ำมันอาจพุ่งสู่ระดับ 300 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และอาจปิดท่อลำเลียงก๊าซธรรมชาติหลักที่ป้อนสู่เยอรมนี หากว่าตะวันตกระงับนำเข้าน้ำมันของพวกเขา ตอบโต้กรณีรุกรานยูเครน ในขณะที่การเจรจาสันติภาพในวันจันทร์ (7 มี.ค.) มีความคืบหน้าแค่เล็กน้อย
การรุกราน ซึ่งถือเป็นการโจมตีรัฐหนึ่ง ๆ ของยุโรปครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 กระตุ้นให้ประชาชนมากกว่า 1.7 ล้านคน ต้องอพยพหลบหนี นานาชาติกำหนดมาตรการคว่ำบาตรต่าง ๆ เล่นงานมอสโก บรรดาบริษัทต่างชาติถอนตัวออกมา และมีความกังวลว่าสถานการณ์ความขัดแย้งอาจลุกลามบานปลายอย่างคาดไม่ถึง
ปฏิบัติการบุกยึด ทิ้งระเบิดและยิงถล่มเมืองต่าง ๆ ของยูเครนยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เจ้าหน้าที่ยูเครนเผยว่า รัสเซียได้โจมตีโรงงานขนมปังแห่งหนึ่ง คร่าชีวิตผู้คนไป 13 ราย ในเมืองมาคาริฟ ในภูมิภาคเคียฟ อย่างไรก็ตาม รอยเตอร์ไม่ยืนยันรายละเอียดคำกล่าวอ้างดังกล่าว และรัสเซียปฏิเสธมาตลอดว่าไม่ได้เล็งเป้าหมายเล่นงานพลเรือน
ในความพยายามยกระดับกดดันประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย ทางสหรัฐฯ เผยว่าวอชิงตัน และพันธมิตรยุโรปของพวกเขากำลังพิจารณาแบนนำเข้าน้ำมันจากรัสเซีย ความเคลื่อนไหวที่กระตุ้นให้ราคาน้ำมัน แตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2008
อย่างไรก็ตาม รัสเซียเตือนว่า ความเคลื่อนไหวแบนนำเข้าน้ำมันอาจนำมาซึ่งผลลัพธ์อันเลวร้าย “การปฏิเสธน้ำมันของรัสเซียจะนำมาซึ่งผลลัพธ์หายนะสำหรับตลาดโลก” อเล็กซานเดอร์ โนวัค รองนายกรัฐมนตรีรัสเซียระบุ พร้อมเตือนว่าราคาน้ำมันอาจพุ่งขึ้นอีกเท่าตัวแตะระดับเหนือกว่า 300 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ประธานาธิบดีโจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ ประชุมทางไกลกับบรรดาผู้นำฝรั่งเศส เยอรมนี และสหราชอาณาจักร ในความพยายามผลักดันขอแรงสนับสนุนจากพวกเขาในมาตรการห้ามนำเข้าน้ำมันจากรัสเซีย
กระนั้นแหล่งข่าวใกล้ชิดในประเด็นนี้เปิดเผยกับรอยเตอร์ว่า ถ้าจำเป็น สหรัฐฯ จะเดินหน้าในเรื่องนี้โดยปราศจากการสนับสนุนของพันธมิตรในยุโรป หลังหลายประเทศในทวีปแห่งนี้ไม่สู้เต็มใจให้ความร่วมมือ เนื่องจากพวกเขาต้องพึ่งพิงพลังงานจากรัสเซียเป็นอย่างมาก

หลังจากพูดคุยกับผู้นำแคนาดา และบรรดาสมาชิกรัฐสภาของเนเธอร์แลนด์ นายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร เรียกร้องให้ค่อย ๆ ก้าวทีละก้าวในการถอยห่างจากการพึ่งพิงน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติของรัสเซีย และประเทศต่าง ๆ ต้องทำงานร่วมกับที่รับรองแหล่งพลังงานทางเลือกอื่น
จัสติน ทรูโด นายกรัฐมนตรีแคนาดา บอกว่ายุโรปไม่อาจทำผิดพลาดซ้ำ 2 ในการพึ่งพิงรัสเซียมากจนเกินไป แต่ มาร์ค รุตต์ นายกรัฐมนตรีเนเธอร์แลนด์ บอกว่า การบีบบังคับให้คว่ำบาตรพลังงานของรัสเซียในตอนนี้จะก่อผลกระทบมหึมา
ยิ่งไปกว่านั้น เยอรมนี ผู้ซื้อน้ำมันดิบรัสเซียรายใหญ่ที่สุด ปฏิเสธอย่างชัดเจนต่อแผนแบนนำเข้าพลังงานจากรัสเซีย โดย โอลาฟ โชลซ์ นายกรัฐมนตรี ระบุในวันจันทร์ (7 มี.ค.) ว่าเยอรมนีมีแผนใช้แหล่งพลังงานทางเลือกอื่น ๆ แต่ไม่สามารถระงับนำเข้าพลังงานจากรัสเซียเพียงชั่วข้ามคืน
โดยคำแถลงของชอลซ์ มีขึ้นหลังจากรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯแอนโทนี บลิงเคน (Anthony Blinken) กล่าวเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาว่า สหรัฐฯ กำลังพูดคุยกับพันธมิตรในยุโรปเกี่ยวกับการห้ามนำเข้าน้ำมันของรัสเซีย

ความคิดเห็นของบลิงเคน กระตุ้นราคาน้ำมันให้พุ่งสูงขึ้นอย่างมากในชั่วข้ามคืนโดยราคาน้ำมันดิบเบรนท์เพิ่มขึ้น 18% ที่ระดับหนึ่งแตะ 139 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งสูงที่สุดในรอบ 14 ปี ราคาน้ำมันลดลงจำนวนหนึ่ง แต่ก็ยังอยู่ที่ประมาณ 125 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเพิ่มขึ้นจากต่ำกว่า 80 ดอลลาร์เมื่อต้นปีนี้

เขากล่าวว่า“ยุโรปจำเป็นต้องยกเว้นการระงับพลังงานจากรัสเซียจากการคว่ำบาตร เพราะ การจัดหาพลังงานให้กับยุโรปเพื่อการผลิตความร้อน การเคลื่อนย้าย การจ่ายไฟฟ้า และอุตสาหกรรมไม่สามารถหามาทดแทนได้ด้วยวิธีอื่นได้ในขณะนี้ ดังนั้นจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการให้บริการสาธารณะและชีวิตประจำวันของพลเมืองของเรา”

ความคิดเห็นของชอลซ์เกิดขึ้นหนึ่งวันหลังจากรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ แอนโทนี บลิงเคน(Antony Blinken) กล่าวว่าสหรัฐฯ กำลังเจรจากับพันธมิตรยุโรปเกี่ยวกับการห้ามนำเข้าน้ำมันรัสเซีย เพื่อเพิ่มแรงกดดันต่อมอสโกว์ให้ยุติการปฏิบัติการทางทหารต่อยูเครน