ผลการเจรจารอบล่าสุดระหว่างสหรัฐและรัสเซีย เมื่อวันศุกร์ที่ 21 ม.ค.ที่ผ่านมาโดยตัวแทนฝ่ายสหรัฐคือรมว.กระทรวงการต่างประเทศ และฝ่ายรัสเซียคือรมว.กระทรวงการต่างประเทศที่ปะทะกันมาหลายรอบแล้ว ผลก็เหมือนเดิมคือต่างฝ่ายต่างยืนยันจุดยืนข้อเรียกร้องไม่มีใครยอมผ่อนปรน รัสเซียเรียกร้องการรับรองความปลอดภัยของรัสเซียอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร โดยการระงับไม่ขยายสมาชิกนาโตเพิ่ม และไม่ติดตั้งอาวุธนิวเคลียร์ในยุโรปกดดันรัสเซีย แต่สหรัฐก็ยืนยันคำเดิมว่า จะรับยูเครนและประเทศอดีตสหภาพโซเวียตมีชายแดนติดรัสเซียเป็นสมาชิกนาโตได้หากสมาชิกนาโตเห็นสมควร เป็นการฉีกสัญญาที่สหรัฐทำข้อตกลงกับรัสเซียหลังสงครามโลกใหม่ๆ
ล่าสุดสหรัฐเดินเกมล็อบบี้ยุโรปให้เข้าร่วมถล่มรัสเซีย อาศัยวิกฤตยูเครนที่สหรัฐสร้างขึ้นโดยอ้างรัสเซียจะบุกยูเครน เรื่องนี้ไม่ได้รับการตอบรับจากนายกรมว.เยอรันเพราะเยอรมันคัดค้านส่งอาวุธให้ยูเครน แต่อังกฤษกลับขานรับก่อนใครทั้งที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสหภาพยุโรปแล้ว ประกาศส่งทหารมือดี 30 นายฝึกกองทัพยูเครน แถมส่งมอบอาวุธให้เรียบร้อย ขณะที่สหรัฐรีบเร่งส่งเฮลิคอปเตอร์แก่ยูเครนแถมเงินอีก 200 ล้านดอลลาร์เป็นที่เรียบร้อยอีกเช่นกัน
เมื่อวันที่ 21 ม.ค.2565 นายแอนโทนี บลิงเคน รมว.ต่างประเทศสหรัฐฯ เข้าหารือกับนายเซอร์เก ลาฟรอฟ รมว.ต่างประเทศรัสเซีย อย่างเป็นทางการ ที่นครเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ กรณีวิกฤตชายแดนยูเคน-รัสเซีย การประชุมอย่างเป็นทางการครั้งนี้มีขึ้นหลังรมว.ต่างประเทศสหรัฐฯ ได้ทำการหารือร่วมกับกลุ่มชาติพันธมิตรตะวันตกทั้งอังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมนี ที่กรุงเบอร์ลิน ซึ่งนายบลิงเคนได้ประกาศจุดยืนของสหรัฐฯว่า การปล่อยให้รัสเซียบุกรุกเข้าไปในยูเครน เปรียบเสมือนการลากประเทศในยุโรปให้กลับไปยังยุคสมัยที่อันตรายและไร้เสถียรภาพ ซึ่งเป็นยุคที่ทวีปยุโรปแห่งนี้ถูกแบ่งเป็นสองส่วน ตะวันตก-ตะวันออก และเป็นยุคที่เต็มไปด้วยความเสี่ยงที่จะเกิดสงครามเต็มรูปแบบได้ทุกเมื่อ
สรุปว่าโทษรัสเซียอีกตามเคย ทั้งที่ๆคนเปิดประเด็นคือสหรัฐฯอเมริกา
มีรายงานว่า นายกรัฐมนตรีเยอรมนี โอลาฟ ชอลซ์ (Olaf Scholz) ปฏิเสธคำเชิญประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐฯเข้าร่วมการเจรจาประเด็นเฉพาะเรื่องยูเครน ตามที่สื่อออนไลน์ทางการทหารของรัสเซีย เดอร์สปีเกิล(Der Spiegel)เปิดเผย
ชอลซ์ อ้างถึงตารางงานที่ยุ่งมากเนื่องจากสถานการณ์โควิดโอมิครอนระบาดหนัก เป็นเหตุผลว่าทำไมเขาไม่สามารถหารือเกี่ยวกับสถานการณ์รอบยูเครนกับวอชิงตัน แต่จะดำเนินการจัดประชุมทวิภาคีภายในกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2565
นักข่าวชาวเยอรมันอ้างว่าการประชุมต้องถูกยกเลิกไป เพราะเยอรมนีไม่เข้าร่วม สะท้อนถึงความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างเยอรมนีกับรัสเซียยังไม่เปลี่ยนแปลง มีรายงานว่าไบเดนหวังที่จะโน้มน้าวชอลซ์ให้ใช้แนวทางกดดันมอสโกว์ โดยส่งหัวหน้า CIA:วิลเลียม เบิร์นส์มากล่อม ดอดเข้าพบนายกรัฐมนตรีเยอรมันที่เบอร์ลินเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ก่อนการประชุมร่วม
โฆษกของสภาความมั่นคงแห่งชาติทำเนียบขาวระบุว่า เรื่องดังกล่าวเป็นเท็จ และเสริมว่าไม่มีเหตุการณ์ดังกล่าว “เกิดขึ้น” เจ้าหน้าที่กล่าวต่อไปว่าความคิดริเริ่มที่จะจัดการเจรจานั้นจริงๆแล้ว มาจากฝ่ายเบอร์ลินเป็นผู้ร้องขอ และวอชิงตันคาดว่าจะต้อนรับชอลซ์ได้ในเดือนกุมภาพันธ์
ในการให้สัมภาษณ์เมื่อวันอังคาร ภายหลังการเจรจากับนายเยนส์ สโตลเทนเบิร์ก เลขาธิการองค์การนาโต้ ชอลซ์ได้ชี้แจงอย่างชัดเจนว่าเยอรมนีจะไม่ส่งออกอาวุธร้ายแรงไปยังยูเครน เขาเน้นว่า“ในจุดนั้น ยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง”ยืนยันเช่นนี้มานับตั้งแต่รัฐบาลของเขาเข้ารับตำแหน่งในเดือนธันวาคม 2564
ในขณะเดียวกัน สถานีโทรทัศน์อังกฤษ Sky News รายงานว่า กองกำลังทหารชั้นนำของอังกฤษจำนวน 30 นายถูกส่งไปยังยูเครนเพื่อฝึกกองกำลังติดอาวุธในการใช้อาวุธต่อต้านรถถังแบบใหม่ ซึ่งลอนดอนได้มอบให้ยูเครนแล้ว
สมาชิก 30 คนจากกรมแรนเจอร์ของอังกฤษ เพิ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปลายปีที่แล้ว โดยเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยปฏิบัติการพิเศษใหม่ ได้ลงจอดที่เมืองเคียฟในสัปดาห์นี้ พร้อมกับเครื่องยิงขีปนาวุธต่อต้านรถถัง 2,000 หน่วย
เป็นช่วงเวลาเดียวกับที่เพนตากอนได้จัดส่งเฮลิคอปเตอร์ที่ทำจากรัสเซียมอบให้ยูเครนแล้ว
เจน ซากี(Jen Psaki)โฆษกทำเนียบขาว ยืนยันเมื่อวันศุกร์ว่ารัฐสภาได้รับรายงานเกี่ยวกับการส่งมอบอาวุธดังกล่าว ซึ่งดำเนินการภายใต้โครงการแอ็คเซส ดีเฟนซ์ ( Excess Defense Articles) กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐกล่าวเมื่อวันพฤหัสบดีว่านี่เป็นการโอนที่เร็วที่สุดสำหรับรัฐบาลสหรัฐฯ
มี รายงานว่าสหรัฐฯได้ส่งพัสดุลับฝ่ายเดียวไปยังยูเครนเมื่อต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา และสภาคองเกรสให้เงินช่วยเหลือทางทหารเพิ่มเติมอีก 200 ล้านดอลลาร์ ซึ่งถูกนำไปใช้อย่างเงียบๆ ตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคมปีที่แล้ว