สุชาติฯเปิดแผน ‘แฟคทอรี่แซนด์บ็อกซ์’?!?ดูแลแรงงาน 4 กลุ่มส่งออกปั้มรายได้ประเทศ นำร่อง 4 จว.ดูเลยโปรโมชั่นเพียบ!

1521

ศปก.ศบค.เตรียมเสนอ “แฟคทอรี่แซนด์บ็อกซ์” ตรวจรักษา-ควบคุม ดูแลแรงงาน 4 กลุ่มส่งออก ที่ประชุมศบค.ชุดใหญ่ นำรอง 4 จว. “นนทบุรี- ปทุมธานี-สมุทรสาคร-ชลบุรี” ด้าน “สุชาติ” หวังสร้างความเชื่อมั่นนักลงทุนต่างชาติ-รักษาสภาพศก.ส่งออกเครื่องยนต์ตัวสำคัญสร้างรายได้ของปท. 

เมื่อวันที่ 6 ส.ค.2564 ที่ประชุมศูนย์ปฏิบัติการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (ผอ.ศปก.ศบค.) มีการนำเสนอรูปแบบแฟคทอรี่แซนด์บ็อกซ์(Factory sandbox) คือ การตรวจรักษาควบคุมดูแล ซึ่งเป็นแนวคิดในการจัดการโครงสร้างและกระบวนการในลักษณะเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข เป็นการดำเนินการควบคู่กัน ระหว่างสาธารณสุขและเศรษฐกิจ  โดยในแซนด์บ็อกซ์ จะมุ่งเป้าไปที่โรงงานภาคการผลิตส่งออกขนาดใหญ่ซึ่งถือเป็นกลไกลหลักที่พยุงประเทศในปัจจุบันนี้  โดยมี 4 กลุ่ม ได้แก่ ยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อาหาร และอุปกรณ์การแพทย์  โดยยึดหลักสำคัญ คือ ตรวจรักษา ดูแล และควบคุม เพื่อให้การบริหารทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดได้ตรงตามเป้าหมาย ซึ่งในระยะที่หนึ่ง จะดำเนินการในพื้นที่นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรสาครและชลบุรี ระยะที่สอง  คือ อยุธยา ฉะเชิงเทรา และสมุทรปราการ ทั้งนี้ 

มีหลักหัวใจสำคัญคือ การตรวจจะต้องดำเนินการคัดกรองด้วยการSwab ในรูปแบบ RT-PCR 100 เปอร์เซ็นต์ เพื่อแยกคนป่วยไปรักษาทันทีและดำเนินการตรวจ Antigen Test Kit ทุกสัปดาห์ ส่วนการรักษาจัดให้มีจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม เพื่อแยกกักผู้ติดเชื้อโควิด-19 ภายในโรงงาน (FAI:Factory Accommodation Isolation) hospital และไอซียู สำหรับผู้ป่วยเขียว เหลือง และแดง 

ทั้งนี้ การดูแล ดำเนินการฉีดวัคซีนให้แรงงาน โดยเน้นกลุ่ม 7 โรคเสี่ยง คนตั้งครรภ์ และออกใบรับรองให้กับบริษัทเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน ส่วนการควบคุม ดำเนินการตรมมาตราการบั้บเบิล แอนด์ซิล และDMHTT  โดยประเภทประกอบการที่เข้าร่วมโครงการมีดังนี้ สถานประกอบกิจการที่ผลิตเพื่อการส่งออก อยู่ในนนทบุรี ชลบุรีสมุทรปราการ ปทุมธานี สมุทรสาครและอยุธยา ฉะเชิงเทรา มีลูกจ้างตั้งแต่ 500 คนขึ้นไป ต้องดำเนินการFAI ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5  และดำเนินบับเบิลแอนด์ซีลโดยกำหนดให้ลูกจ้างเดินทางกลับที่พักโดยตรง ไม่แวะระหว่างทางและอยู่ในเคหะสถานเท่านั้น ตรวจหาเชื้อแบบด้วยSwab ด้วยรูปแบบ RT-PCR จำนวน 1 ครั้งให้ลูกจ้างทั้งหมด และตรวจแบบตรวจ Antigen Test Kit ทุก 7 วัน และฉีดวัคซีนให้ลูกจ้างที่ตรวจทุกคน ยกเว้นคนที่ติดเชื้อให้เข้ารับการรักษา ส่วนค่าบริการฉีดวัคซีนให้สถานประกอบเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเอง ขณะเดียวกันสถานประกอบการทำหนังสือยินยอมตามแนวทางของกระทรวงแรงงานและจังหวัด 

อย่างไรก็ตาม แผนเตรียมโครงการแรงงานแซนด์บ็อกซ์ กระทรวงแรงงานจะเสนอที่ประชุมศบค.เพื่อพิจารณาเห็นชอบต่อไป หลังจากนั้นจะมีการจัดประชุมชี้แจงแนวปฏิบัติแรงงานแซนด์บ็อกซ์ใน 4 จังหวัด คือ นนทบุรี ปทุมธานีสมุทรสาครและชลบุรี และจัดทำบันทึกข้อตกลงร่วมกับโรงพยาบาลในเรื่องการตรวจรักษาและฉีดวัคซีน ก่อนเสนอคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด เพื่อพิจารณาเห็นชอบโครงการดังกล่าวต่อไป รวมถึงจัดทำบันทึกข้อตกลงร่วมกับสถานประกอบการที่ผ่านเกณฑ์ ขณะเดียวกัน ที่ประชุมศปก.ศบค.รับทราบสถานประกอบการขั้นต้นที่สนใจเข้าร่วมโครงการ คือ นนทบุรี 3 แห่ง ปทุมธานี 5 แห่ง สมุทรสาคร 7 แห่ง ชลบุรี 5 แห่ง รวม 20 แห่งเบื้องต้น

ด้านนายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน เปิดเผยว่า โครงการดังกล่าวได้นำเสนอที่ประชุมศปก.ศบค.ในวันเดียวกันนี้ ซึ่งมีการบูรณาการร่วมกันระหว่างกระทรวงแรงงานกระทรวงสาธารณสุขกระทรวงมหาดไทย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) และภาคอุตสาหกรรม เพื่อดูแลโรงงานอุตสาหกรรมภาคการส่งออก ซึ่งเรายึดฐานโรงงานที่มีจำนวน 500 คนขึ้นไปก่อน โดยจะมีการตรวจ RT-PCR ให้ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ โดยเป็นส่วนของสำนักงานประกันสังคมจะดำเนินการให้ เช่นยกตัวอย่างตรวจ 1,000 คนเจอ 100 คน 10 เปอร์เซ็นต์โรงงานในเครือสำนักงานประกันสังคมจะต้องรับไปรักษาทั้งหมด ก็จะเหลือ 900 คนสำนักงานประกันสังคมก็จะไปสำรวจว่า 900 คนฉีดวัคซีนในสัดส่วนม.33 ไปแล้วเท่าไหร่ หากฉีดไปแล้ว 400 คนก็จะมีวัคซีนฉีดให้กับโครงการดังกล่าวให้ครบอีก 500 คน ซึ่งก็จะเป็นโรงงานสีฟ้าสอดคล้องกับนโยบายชุมชนสีฟ้าของนายกรัฐมนตรี 

สำหรับเจ้าของกิจการที่เข้าร่วมโครงการจะต้องซื้อชุดตรวจ Antigen Test Kit ตรวจทุกอาทิตย์ตลอด 1 เดือน และฝ่ายบุคคลจะต้องทำเรื่องบับเบิลแอนด์ซีล ควบคุมการเดินทาง เช่น ฝ่ายบุคคลจะต้องควบคุมการเดินทางพนักงานคนไทยจะต้องมีไลน์กลุ่มในการส่งโลเคชั่นของพนักงานว่าได้กลับถึงบ้านแล้ว ทั้งนี้ ไม่ใช่รัฐบาลเพียงอย่างเดียวเอกชนต้องร่วมมือด้วย แต่หากเป็นแรงงานต่างด้าวจะใช้บับเบิลแอนด์ซีลที่พักกับโงงานไม่ต้องไปไหน

นายสุชาติ กล่าวต่อว่า หลังจากที่ตรวจและได้เป็นโรงงานสีฟ้า จะออกเป็นใบรับรองว่าโรงงานดังกล่าวได้ตรวจ 100 เปอร์เซ็นต์ ฉีดวัคซีน 100 เปอร์เซ็นต์ได้รับการควบคุมตามมาตรการสาธารณสุข ซึ่งจะทำให้นักลงทุนต่างประเทศมีความเชื่อมั่นและยังเป็นคู่ค้ากับเราต่อ  รวมถึงเพื่อรักษาสภาพเศรษฐกิจการส่งออกที่เป็นเครื่องยนต์ที่เป็นกำลังสำคัญในตอนนี้ โดยเราใช้ระบบเศรษฐศาสตร์เศรษฐกิจและระบบสาธารณสุขเดินคู่กัน เพื่อให้ทุกอย่างยังเดินไปได้ เรานำประสบการณ์ที่เราเจอทั้งหมดนำมาประยุกต์ใช้ โดยรายงานให้ที่ประชุมศปก.ศบค.และกรมควบคุมโรคทราบ ซึ่งนายกฯ และทุกฝ่ายก็เห็นด้วย