แฉมินตรา ต้นตอโพสต์เฟคนิวส์ผู้เสียชีวิตโควิด ที่แท้ผู้สมัครอบจ.คณะก้าวหน้า พบผิดพรก.ฉุกเฉินคุก2ปี

3718

จากกรณีมีผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อว่า มินตรา พรหมกรุง ได้โพสต์ข้อความพร้อมภาพผู้เสียชีวิตไว้วันที่ 16 กรกฎาคม 2564 ระบุเวลา 08:34 น.  โดยเนื้อหาอ้างว่า อนุทิน ไหนมึ…บอกว่า แค่เป็นโรคไข้หวัดธรรมดา นี่หรือไข้หวัดธรรมดา ของมึ…จากนั้นก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ และโจมตีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นจำนวนมาก

ต่อมาเฟซบุ๊กซึ่งต้องพิสูจน์ ได้ออกมาเปิดเผยถึงข้อเท็จจริงถึงภาพดังกล่าว และบุคคลที่โพสต์ทำให้ประชาชนเข้าใจผิด โจมตีนายอนุทินอย่างรุนแรงว่า

“FB ที่ใช้ชื่อ มินตรา พรหมกรุง

เคยเปลี่ยนรูป โปรไฟล์ ระบุว่า เป็นผู้สมัคร ส.อบจ.คณะก้าวหน้า มหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

https://www.facebook.com/photo?fbid=1028071114334736&set=ecnf.100013955707147

โพสต์รูปผู้เสียชีวิตจากเมียนมาร์ โยงด่า อนุทิน

https://www.facebook.com/mintar.mam/posts/1200147843793728

ตรวจสอบ รูปต้นฉบับ​จากเมียนมาร์

https://www.facebook.com/khitthitnews/posts/1247863965650947”

ขณะที่ เฟซบุ๊ก ข่าวโฉดNewS V.2 ก็ได้เปิดเผยถึงต้นตอบุคคลสร้างข่าวเท็จด้วยว่า

“#ต้นตอมือโพสต์ภาพคนตายโควิด

ผู้สมัครสมาชิกสภา อบจ.มหาราช จ.พระนครศรีอยุธยา คณะก้าวหน้า

ชื่อ “มินตรา พรหมกรุง”

นำภาพผู้เสียชีวิตในพม่า มาโพสต์โดยไม่ระบุแหล่งที่มาของภาพ จนแนวร่วมพรรคในเฟซบุ๊กเข้าใจว่าเหตุเกิดที่ไทย เพราะไม่ไตร่ตรองข้อมูล รุมเม้นต์ด่าอนุทินยับ…”

อย่างไรก็ตามทีมข่าวเดอะทรูธ ได้เข้าร่วมตรวจสอบถึงบุคคล และแหล่งที่มาของภาพดังกล่าวด้วย โดยพบว่า บุคคลที่ชื่อ มินตรา ได้โพสต์ข้อความพร้อมภาพตั้งแต่ช่วงเช้าของวันที่ 16 กรกฎาคม 2564 จนกระทั่งบัดนี้ เวลา 9.47 น. ของวันที่ 17 กรกฏาคม 2564 ก็ยังมีการโพสต์เนื้อหาและภาพบิดเบือน แม้จะปรากฏถึงข้อเท็จจริงออกมาจากหลายแหล่งยืนยันตรงกันว่าเป็นภาพเหตุการณ์ที่ประเทศเมียนมาแล้วก็ตาม ซึ่งหลายคนเข้ามาแสดงความคิดเห็นด่าทอ โจมตีนายอนุทิน อย่างหยาบคายและรุนแรง ที่สำคัญมีการแชร์โพสต์ซึ่งเป็นข้อมูลเท็จไปแล้วจำนวน สองพันกว่าครั้งด้วย

นอกจากนี้ทีมข่าวเดอะทรูธ ได้พบว่า ในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ฉบับที่ 27 ได้มีกำหนดโทษในประกาศ “ข้อ 11” ที่ระบุว่า “มาตรการเพื่อมิให้มีการบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร อันทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉิน การเสนอข่าวหรือการทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใด ที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารทำให้เกิดความเข้าใจผิด ในสถานการณ์ฉุกเฉินจนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ทั่วราชอาณาจักรนั้น เป็นความผิดตามมาตรา 9 (3) แห่งพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548”

โดยการฝ่าฝืนข้อ 11 มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท ซึ่งเป็นโทษที่กำหนดไว้ในมาตรา 18 ของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ การฝ่าฝืนข้อกำหนดไม่ว่าเรื่องใดๆ เช่น การออกนอกเคหสถานเกินเวลาที่กำหนด การรวมกลุ่มเกินห้าคนโดยไม่ได้รับอนุญาต ก็มีอัตราโทษเช่นเดียวกันหมด