75ปีUN!?! ผู้นำโลกชี้โควิด-19 ระบาด โลกต่างคนต่างสู้ ทำสูญเสียเศรษฐกิจชีวิตมนุษย์นับล้าน เห็นพ้องต้องแบ่งปันวัคซีนอย่างทั่วถึง

1924

ผู้นำจากทั่วโลกได้มารวมตัวกันในงานประชุมใหญ่ระดับสูง ในโอกาสครบรอบ 75 ปีสหประชาชาติ ที่ได้จัดขึ้นที่นิวยอร์ก ระหว่างวันที่ 22-26 กันยายน 2563 โดยเป็นการประชุมทางไกลออนไลน์ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของสหประชาชาติ  ในงานนี้ผู้นำจากทุกมุมโลกจำนวนทั้งสิน 193 ประเทศได้แถลงผ่าน วีดิโอที่บันทึกไว้ล่วงหน้า เกี่ยวกับประเด็นการรับมือการระบาดใหญ่ไวรัสสายพันธ์ใหม่โควิด-19 ทุกคนเห็นพ้องร่วมกันว่า การระบาดครั้งนี้สะท้อนความไม่เป็นเอกภาพของประเทศต่างๆทั่วโลก การรับมือกับการระบาดเป็นไปตามยถากรรมต่างคนต่างทำ และเห็นชัดถึงความเหลื่อมล้ำไม่เท่าเทียมของประเทศร่ำรวยกับประเทศยากจน ทุกฝ่ายเห็นสอดคล้องกันว่า นานาชาติทั่วโลกควรร่วมมือกันแก้ปัญหาการระบาดโควิด-19 และควรแบ่งปันวัคซีนต้านเชื้อโรคให้ทั่วถึง

เมื่อวันพุธที่ผ่านมา (23 ก.ย.2563) ผู้นำโลกได้ร่วมกันวิเคราะห์วิจารณ์การตอบสนองของโลกเมื่อเกิดการระบาดไวรัสโควิด-19 ซึ่งทำลายเศรษฐกิจพังพินาศและทำให้สูญเสียชีวิตเพื่อนมนุษย์เกือบ 1 ล้านคนตลอดเวลาที่มันแพร่ระบาดไปทั่วโลกและแถลงวิสัยทัศน์ต่อเรื่องนี้ดังต่อไปนี้:

ประธานาธิบดีคาซัคสถานกล่าวว่า มันคือ “ความล้มเหลวในการร่วมมือของโลก”

ประธานาธิบดีนางนานา อะคูโฟ-แอดโด,กานากล่าวว่า “โลกของเราได้กลับหัวกลับหาง”,”เรารู้สึกร่วมกันและได้รู้เห็นในชะตากรรมร่วมกัน”

การระบาดเป็นการให้คำจำกัดความที่ระบุถึงการเกิดขึ้นทั่วโลก และเรียกร้องการตอบสนองของโลก แต่โชคร้ายโควิด-19 ได้เปิดเผยการตอบสนองของประเทศต่างๆ ต่อแรงบีบคั้นอย่างกระทันหันในระดับชาติ ไม่ใช่ในระดับนานาชาติ, ประธานาธิบดี เซาลี นิอินนิสโต แห่งฟินแลนด์  กล่าวถึงการจัดตั้งหน่วยงานเบื้องหลังการรับมือการระบาดของเชื้อโรคไวรัสโควิด-19 ” เป็นสักขีพยายานเกี่ยวกับเรื่องต่อเนื่อง ของการตอบสนองของโลกต่อการระบาดโควิด” ซึ่ง “ทำให้เราได้ตระหนักรู้เพิ่มขึ้นว่า เราควรจะต่อสู้แก้ปัญหาอื่นๆของโลกอย่างไร”

ประธานาธิบดีคัสซิม-โจมาร์ท โทคาเยฟ แห่งคาซัคสถานกล่าวเตือนว่า”โลกใกล้จะเป็นแบบที่เรียกว่าเป็นโลกที่ผิดปกติ” เพื่อตอบสนองต่อการระบาด และระบบของโลกขณะนี้หมิ่นเหม่ต่อสภาพกลียุค ซึ่งจะก่อผลกระทบที่ไม่อาจย้อนคืนแก่นานาชาติโลก “ครั้งนี้มันทั้งสร้างและขัดขวางโอกาสของมนุษยชาติ” เขากล่าวเตือน โทคาเยฟ เรียกร้องให้ยกระดับสถาบันด้านสุขภาพนานาชาติ ทิ้งประเด็นการเมืองไปจากการพัฒนาวัคซีนต้านโคโรนาไวรัส และปรับปรุงมาตรฐานที่แท้จริงขององค์การอนามัยโลก เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกประเทศทั่วโลกได้รับการเยียวยารักษาและตอบสนองกับการระบาดเชื้อโรคได้

ผู้นำคาซักสถานได้เสนอจัดตั้งองค์กรนานาชาติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพ ภายใต้อนุสัญญาอาวุธชีวภาพ ปี 1972 ซึ่งอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของ คณะกรรมการความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และเขาเสนอสร้างศูนย์เครือข่าย เพื่อควบคุมเชื้อโรคและความปลอดภัยทางชีวภาพภายใต้การดูแลของสหประชาชาติ 

ผู้นำทั้งหลายต่างเรียกร้องวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 ซึ่งได้รับการพัฒนาควรแบ่งปันกันอย่างเท่าเทียม ซึ่ง เซฟิค ซาเฟอร์โรวิค ประธานองค์กร 3 ประธานาธิบดีบอสเนีย กล่าวว่ามันต้องทำได้เพื่อมวลมนุษยชาติ

ซาเฟอร์โรวิคกล่าวว่า ในรอบหลายปีที่ผ่านมาเขาได้เห็น “วิกฤติหนักของการร่วมมือกันในระดับนานาชาติ” ในหมู่องค์กรนานาชาติ รวมทั้งสหประชาชาติเอง ซึ่งได้กลายเป็น”เป้าหมายแห่งความท้าทายและมักทำให้เกิดโอกาสแห่งความขัดแย้ง”อย่างชัดเจน แต่การระบาดของไวรัสได้แสดงให้เห็น “ความสำคัญพิเศษในโลกาภิวัฒน์ทุกวันนี้” เขากล่าวว่า “ปัญหาใหญ่ที่สุดของปัจจุบันนี้คือไม่มีใครสามารถรับมือกับปัญหาโดยลำพัง หรือประเทศ3-4 แห่งร่วมกันแก้ปัญหาตามลำพังได้”

ทั้งโลกสูญเสียชีวิตของเพื่อนมนุษย์ไปเพราะไวรัสสายพันธ์ใหม่โควิด-19 ถึง 1 ล้านคน ผู้นำโลกต่างพูดถึงการเปลี่ยนแปลงของชีวิตและสังคมในประเทศของตน

อะกูโพ-แอดโดแห่งกานากล่าวว่า ประชาชนทุกหนแห่งได้รับบทเรียนว่าต้องไม่กอดกัน ไม่เขย่ามือกัน ไม่ไปร้องเพลงกันเป็นกลุ่ม เพราะว่ามันกลายเป็น “กิจกรรมอันตราย” และทำให้เกิดความวิตกกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยที่จะส่งบุตรหลานไปเรียนในโรงเรียน และ”สำหรับประชาชนจำนวนมาก ที่ยากที่สุดคือต้องจัดการกับความไม่แน่นอนและเวลาที่ไม่ชัดเจน ทั้งต้องประสบกับการต่อต้านอย่างเงียบๆจากโบสถ์, มัสยิด, วัดและสถานที่สวดมนต์ทั้งหลาย” เขากล่าว

ผลกระทบทางเศรษกิจ จากการระบาดของโควิด-19 นั้นทั่วโลกได้รับรู้ทั่วหน้ากัน แม้แต่ประเทศเล็กๆบนเกาะเล็กๆในแปซิฟิคเช่น ปาลัว ซึ่งปัจจุบันปลอดเชื้อโควิดแล้ว 

ประธานาธิบดี ทอมมี รีเมงกีเซา จูเนียร์แห่งปาลัว กล่าวถึงผลกระทบ กับเศรษฐกิจ และการต้องรับมือกับผู้ป่วย 18,000 คน ในระดับการแก้ไขที่เป็นไปอย่างไม่มีความรู้มาก่อน”

ปาเลาต่อสู้กับการชะงักของห่วงโซ่อุปทานอาหารและยาที่เกิดขึ้นอย่างกระทันหันเมื่อเกิดการระบาด  ได้ทำการรักษาผู้ป่วยและต้องนำส่งไปยังประเทศที่ใหญ่กว่าและมีขีดความสามารถมากกว่า ขณะที่บรรดาครอบครัวต้องยืนหยัดร่วมกันฟันฝ่าปัญหาอย่างเข้มแข็ง และยังต้องทำให้นักเรียนได้ไปโรงเรียน ทำให้ประชาชนมีงานทำเพื่อมีรายได้จับจ่ายใช้สอย

“ภาคเอกชนมีคนต้องตกงานกว่า 50% และกว่าจะสามารถฟื้นดีเหมือนเดิมได้อีกหลายปี เราต้องสูญเสียทางเศรษฐกิจมากเท่าไหร่ในหลายเดือนที่ผ่านมา” รีเมงกีเซากล่าว

ฮวน ออร์ลันโด เฮอร์นานเดช,ประธานาธิบดีฮอนโดรัน กล่าวถึงการระบาดไวรัสโควิด-19 ทำให้ “ได้เห็นความเหลื่อมล้ำไม่เท่าเทียมกันในโลกใบนี้”

ประธานาธิบดีสวิสเซอร์แลนด์, ซิโมเน็ตตา ซอมมารุกา  หนึ่งในผู้นำหญิงที่กล่าวในงานประชุมกล่าวถึงการระบาดโควิด-19 ว่า “เป็นสาเหตุแห่งความเจ็บปวดที่ไม่อาจกล่าวอธิบายได้ของชาวโลก” ด้วยความรู้สึกที่ลึกซึ้งที่สุด “ถ้าวิกฤติทุกครั้งสร้างความเจ็บปวดแต่มักจะเป็นจุดเปลี่ยนซึ่งทำให้เราทุกคนได้ปรับตัว ดังนั้นจงปรับตัวพวกเราซะ”

ตัวแทนจากอิรัก ร้องขอให้ประเทศต่างๆช่วยเหลือประเทศที่ขาดแคลนกว่า

กษัตริย์ซัลมานแห่งซาอุดิอาระเบีย เป็นครั้งแรกที่ราชวงศ์ทรงเข้าร่วมประชุม ครั้งล่าสุดที่พระราชบิดาเข้าร่วมปี 1957 ได้กล่าวในนามของประธานของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรม G20 ราชอาณาจักรได้จัดการประชุมในเดือนมีนาคมและจ่ายเงินไป 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อต่อสู้กับการระบาดใหญ่ไวรัสโควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบกับประชาชนและเศรษฐกิจของประเทศ

ประธานาธิบดีบาร์ฮัม ซาเล่ห์ได้ฉายภาพสะท้อนของความมุ่งหวังของเหล่าผู้นำในตะวันออกกลาง กล่าวว่า “ขอสวดมนต์แด่พระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ ซึ่งการประชุมครั้งหน้าจะได้จัดขึ้นในโลกแห่งอิสรภาพที่ปราศจากโรคระบาด”

อดีตประธานาธิบดียูเครน,โวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ผู้เป็นอดีตประธานาธิบดีปี 2019 กล่าวถึงการเลื่อนแข่งขันโอลิมปิกและการการประชุมทางไกลผ่านออนไลน์ ได้กล่าวว่า “1 ปีที่ผ่านมาเราควรจะกล่าวได้ว่าพวกเราเหมือนอยู่ในวาระแห่งวันสิ้นโลก และมันไม่ใช่เรื่องจริงของปี 2020”