การชุมนุมประท้วงของม็อบปลดแอกถูกวาดภาพให้เป็นกลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่เรียกร้องประชาธิปไตยมาโดยตลอด แต่ไม่สามารถปิดบังจุดประสงค์ที่แท้จริงว่า ต้องการพุ่งเป้าไปที่สถาบันหลักของชาติ พร้อมกันนี้การเคลื่อนไหวรายงานข่าวของสื่อมวลชนต่างประเทศบางฉบับ และสื่อเลือกข้างในไทย ก็พยายามอย่างยิ่งที่จะสร้างความชอบธรรมว่า ม็อบบริสุทธ์ เป็นธรรมชาติของประชาธิปไตย แต่ตั้งเป้าขยายผลให้ลุกลามตามวาระซ่อนเร้นที่อันตราย ไม่ใยดีว่าประเทศไทยกำลังอยู่ท่ามกลางความสุ่มเสี่ยงการระบาดโควิด-19 ระลอกใหม่ และความท้าทายในการค่อยๆฟื้นฟูเศรษฐกิจการทำมาหากิน การดำรงชีวิตปกติสุขของประชาชน ขอเพียงได้ประโยชน์ทำตามที่ตนและพวกพ้องต้องการเท่านั้น แต่คนไทยจะตื่นรู้มากขึ้น ว่าใครกันแน่อยู่เบื้องหลังใครเป็นเงาคอยชักใย ถึงแม้จะแถกันจนถลอกแต่การกระทำเชื่อมโยงสอดคล้องอย่างมีการวางแผน พฤติกรรมชัดส่อเจตนาชัด!
BBC โดยนายโจนาธาน ฮีดวิเคราะห์การชุมนุมม็อบปลดแอก-อ้าปากก็เห็นลิ้นไก่
“ประชาชนหลายพันคนได้เข้าร่วมชุมนุมกลางกรุงเทพฯเมืองหลวงของประเทศไทยเรียกร้องขอให้ปฏิรูประบบการเมืองและปฏิรูปสถาบัน นับเป็นการชุมนุมครั้งใหญ่ในรอบปีด้วยประชาชนอย่างน้อย 15,000 คน, ตำรวจเป็นผู้รายงาน ผู้ชุมนุมจำนวนหนึ่งตะโกน “โค่นล้มระบอบศักดินา ประชาชนจงเจริญ”
ไม่มีรายงานความรุนแรง
นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม การประท้วงเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชาลาออก เขาเข้าสู่อำนาจทำการรัฐประหารในปี 2014 และได้ชัยชนะในการเลือกตั้งเมื่อปีที่ผ่านมา”
คำสารภาพของแกนนำม็อบ-ไมค์, รุ้ง ผ่านปากกาBBCว่ามุ่งเป้าไปที่สถาบัน
BBC รายงานว่า”ม็อบนักเรียนนักศึกษาในวันเสาร์ (19 ก.ย.2563) เคลื่อนจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไปยังสนามหลวงซึ่งอยู่ถัดไปจากพระราชวังซึ่งใช้เป็นที่เฉลิมฉลองของราชวงศ์
ผู้ชุมนุมกล่าวว่าพวกเขาวางแผนจะปักหลักอยู่ข้ามคืนและเดินขบวนไปยังทำเนียบรัฐบาลในเช้าวันอาทิตย์ (20 ก.ย.)“ผมหวังว่าประชาชนที่มีอำนาจจะเห็นถึงความสำคัญของประชาชน” แกนนำนักศึกษา นายภานุพงษ์ หรือ ไมค์ จาดนอก กล่าวกับผู้ชุมนุม จากรายงานของสำนักข่าวรอยเตอร์
“พวกเราต่อสู้เพื่อทำให้สถาบันอยู่ในที่ที่ถูกต้อง ไม่ได้โค่นล้มมัน”
“We’re fighting to put the monarchy in the right place, not to abolish it.”
ผู้จัดการชุมนุมประเมินว่าในวันเสาร์จะมีประชาชนเข้าร่วมประมาณ 50,000 คน เนื่องจากตอนจัดชุมนุมเดือนสิงหาคมมีเข้าร่วมประมาณ 10,000 คน”
สื่อเข้าใจผิดหรือจงใจบิดเบือนข้อเท็จจริง
-BBC ตั้งคำถามว่า “ทำไมถึงมีการประท้วง?” และตอบว่าเพราะพรรคขวัญใจวัยรุ่นถูกยุบ-แอ็คติวิสต์ถูกอุ้มหายแต่ไม่แจงข้อเท็จจริงว่า การถูกยุบของพรรคอนาคตใหม่เพราะทำผิดกฎหมาย และนักเคลื่อนไหวที่ว่าหายไปเพราะเหตุใดไม่มีใครรู้มีมูลว่าเกี่ยวข้องยาเสพติด พร้อมยกกลุ่มสิทธิมนุษยชนไทยมาให้เครดิตการวิเคราะห์ของตน
ผู้เขียนกล่าวว่า “ประเทศไทยมีประวัติศาสตร์อันยาวนานของการชุมนุมประท้วงทางการเมือง แต่กระแสคลื่นยุคใหม่เริ่มต้นในเดือนกุมภาพันธ์ หลังจากที่ศาลได้มีมติสั่งยุบพรรคการเมืองฝ่ายประชาธิปไตยซึ่งเป็นฝ่ายค้านตรงข้ามพรรครัฐบาล
พรรคอนาคตใหม่ (FFP) ได้รับความนิยมจากเยาวชนคนหนุ่มสาว ผู้มีสิทธิลงคะแนนครั้งแรกรวมรวมกันเป็นเสียงอันดับสามในที่นั่งสภาผู้แทนราษฎร ในการเลือกตั้งมีนาคม 2019 ซึ่งชนะเลือกตั้งโดยผู้นำทางทหาร
-ผู้ชุมนุมเริ่มก่อตัวในเดือนกรกฎาคมเมื่่ออดีตนักเคลื่อนไหวประชาธิปไตย วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์หายตัวไปในกัมพูชา สถานที่ที่เขาหนีไปหลบภัยตั้งแต่ปี 2014 ตอนรัฐประหาร
-ไม่มีใครรู้เบาะแสการหายตัวไปของเขาและผู้ชุมนุมกล่าวโทษรัฐบาลมีส่วนรู้เห็นการลักพาตัว ขณะที่ตำรวจและรัฐบาลปฏิเสธเกี่ยวกับกรณีนี้ ตั้งแก่กรกฏาคมจึงมีการชุมนุมของนักศักษาลงถนนมาจนถึงปัจจุบัน
-ผู้ชุมนุมได้เรียกร้องให้รัฐบาลที่นำโดยนายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และอดีตผู้บัญชาการทหารบกผู้ซึ่งกุมอำนาจในคณะรัฐประหารต้องได้รับการสอบสวนและถูกลงโทษ และว่าต้องแก้กฎหมายใหม่ให้ผู้มีอำนาจหยุดคุกคามคนเห็นต่าง”
BBC วิเคราะห์ว่าครั้งนี้มีอะไรที่แตกต่าง?-การชุมนุมชูประเด็นปฎิรูปสถาบันและวิจารณ์มาตรา112 พร้อมแก้ตัวให้แกนนำม็อบเสร็จสรรพ
“ข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุมครั้งนี้นับเป็นประวัติการณ์ เมื่อ 10 ข้อเรียกร้องนั้นเรียกร้องให้ปฏิรูปสถาบันและได้รับการตอบรับจนเกิดการชุมนุมประท้วง การเคลื่อนไหวครั้งนี้ก่อความสั่นสะเทือนในสังคมไทยซึ่งเกิดมาพร้อมกับการยอมรับและรักสถาบัน และหวาดกลัวผลที่ตามมาหากจะพูดคุยถึงเรื่องของสถาบัน
เยาวชนหญิง ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุลผู้เผยแพร่คำประกาศ ได้กล่าวไว้ในเนื้อหาว่า
“ไม่ได้โค่นล้มทำลายสถาบัน แต่ทำให้มันทันสมัย และพัฒนามันไปสู่สังคมของพวกเรา”
“is not to destroy the monarchy but to modernise it, to adapt it to our society”.
เธอและเพื่อนๆผู้ติดตามถูกตราหน้าว่า “ชังชาติ” ซึ่งในภาษาไทยหมายถึง เกลียดชังประเทศชาติ และพวกเขากล่าวว่าพวกเขากลัวอย่างยิ่งในผลที่จะตามมากับการทำ “ในสิ่งที่ถูกต้อง”และพูดออกมา
ส่วนที่เหลือเป็นการพูดถึงกฎหมายปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ซึ่งเน้นไปที่บทลงโทษเพียงเพราะพูดถึง ทำให้ถูกเยาะเย้ย และกล่าวว่า รัฐบาลอาศัยกฎหมายฉบับนี้และกฎหมายอื่นเกี่ยวกับการยุยงปลุกปั่นขัดขวางผู้เห็นต่าง