สูตรสำเร็จปชต.สหรัฐไม่สยบต้องบี้ให้พัง?!? ไบเดนเตรียมลงนามคว่ำบาตรเมียนมา แบนบริษัทเกี่ยวข้องกองทัพ ทำ 150 บ.ไทยสะดุ้ง

2441

ประเทศเมียนมากลับคืนสู่สามัญที่ไม่ธรรมดา การรัฐประหารโดยกองทัพ ในวันที่1 ก.พ. เป็นวันที่สภาผู้แทนราษฏรณ์กำลังจะเปิดประชุมสภาครั้งแรกในคราวนี้ แสดงว่ากองทัพได้ตัดสินใจแล้วและต้องแน่ใจว่าคุมอยู่  สถานการณ์ล่าสุดปราศจากพลังมวลชนออกมาต่อต้าน แม้พรรคเอ็นแอลดีของซูจีจะเผยแพร่แถลงการณ์ปลุกเร้ามวลชน สื่อโซเชียลทั้งเมียนมาและอังกฤษต่างรายงานเรื่องอองซาน ซูจีพร้อมคณะ ถูกกักตัวอยู่ในบ้านพักประจำตำแหน่งในกรุงเนปิดอว์ ขณะที่ “โจ ไบเดน” ปธน.สหรัฐฯออกโรงเรียกร้องให้คืนอำนาจ จ่อใช้มาตรการคว่ำบาตรบริษัทธุรกิจขนาดใหญ่เชื่อมโยงกองทัพ ทำให้บริษัทไทยที่ลงทุนในพม่าจับตาผลกระทบอย่างใกล้ชิด  ล่าสุดนายกรมต.พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชายืนยัน ไทยยึดมั่นหลักการอาเซียน ไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน

จากกรณี พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย ผบ.สส.เมียนมา ยึดอำนาจ นำกำลังทหาร ควบคุมพื้นที่สำคัญในกรุงเนปิดอว์และกรุงย่างกุ้ง รวมทั้งจับกุมตัวนางอองซาน ซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐเมียนมา นายวิน มินต์ ประธานาธิบดีเมียนมา และแกนนำรัฐบาลคนอื่นๆที่เป็นสมาชิกพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย:NLD ท่ามกลางการเฝ้าจับตาของนานาชาติทั่วโลก แม้มีกระแสข่าวการเผยแพร่เอกสารที่นางอองซาน ซูจี  ปลุกเร้ามวลชนให้ออกมาต่อต้าน ขณะที่กองทัพอ้างเหตุผลความไม่โปร่งใสของการเลือกตั้งเดือน พ.ย.2563 พร้อมแต่งตั้ง พล.อ.มินต์ ส่วย รองประธานาธิบดี เข้าดำรงตำแหน่งรักษาการประธานาธิบดี ประกาศใช้ภาวะฉุกเฉิน จัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ภายใน 1 ปี ทั้งนำคณะรัฐมนตรียุครัฐบาลทหาร พล.อ.เตง เส่ง เมื่อ 5 ปีก่อน เข้ามาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีชุดใหม่ 11 คน

เมื่อวันที่ 2 ก.พ.2564 หนึ่งวันหลังการรัฐประหาร บรรยากาศตามเมืองต่างๆของเมียนมา ทั้งกรุงเนปิดอว์ และกรุงย่างกุ้ง ยังคงเงียบสงัด ไม่มีทีท่าว่าประชาชนจะเคลื่อนไหวต่อต้านการรัฐประหารของกองทัพเมียนมาแต่อย่างใด  มีแต่สำนักข่าวต่างประเทศพยายามรายงานความเคลื่อนไหวคัดค้าน จากกลุ่มที่สนับสนุนอองซาน ซูจีและพรรคเอ็นแอลดี เช่นมีการรณรงค์แสดงสัญญลักษณ์ผูกริบบิ้นคัดค้านการรัฐประหาร เป็นภาพคุ้นๆที่เห็นในประเทศไทยโดยม็อบสามกีบ

สื่อโซเชียลต่างๆของเมียนมา ต่างกระจายข่าวนางซูจีถูกกักบริเวณอยู่ในบ้านพักประจำตำแหน่ง และเล่าสู่กันฟังสะท้อนความเห็นอีกด้านที่สื่อตะวันตกไม่เคยเข้าใจ เช่นประชาชนพม่าและกลุ่มชาติพันธุ์จำนวนมาก เป็นส่วนใหญ่ก็ว่าได้ เห็นด้วยกับทหาร  ประชาชนไม่เอาด้วยกับซูจีและนักการเมืองพรรคเอ็นแอลดี และนักการเมืองรุ่นใหม่ทั้งของเมียนมาและชนกลุ่มน้อย  ไม่เห็นด้วยกับพรรคเอ็นแอลดี และเข้ารวมตัวกับทหารรุ่นใหม่ เข้าสู่สนามเลือกตั้งในช่วงการเลือกตั้งปลายปีที่ผ่านมา แต่มีความไม่ชอบมาพากลในการเลือกตั้งที่ทำให้เกิดความไม่พอใจอย่างสูง และพรรครัฐบาลไม่สนใจชี้แจง

ส่วนนายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ แถลงการณ์เรียกร้องให้กองทัพเมียนมาคืนอำนาจแก่รัฐบาลพลเรือน และขอให้นานาชาติมาช่วยกันรุมกดดันในเรื่องนี้ สั่งการให้ใช้มาตรการคว่ำบาตรรอบใหม่กับเมียนมา หลังจากถอนมาตรการคว่ำบาตรไปเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา โดยเริ่มที่บริษัทขนาดใหญ่ของเมียนมา ที่มีส่วนร่วมกับกองทัพ  เช่นเกี่ยวข้องกับการค้าอัญมณี เสื้อผ้า หรือการเงิน  ถือเป็นการคว่ำบาตรบรรดานายพลของเมียนมา รวมทั้งตัดความช่วยเหลือทางการเงินแก่รัฐบาลเมียนมา ซึ่งเป็นสูตรสำเร็จเดียวกับอดีตปธน.โดนัลด์ ทรัมป์ปฏิบัติต่อจีน อิหร่าน

นักวิเคราะห์ต่างชาติให้ความเห็นว่า กองทัพเมียนมาไม่สนใจเรื่องการถูกชาติตะวันตกคว่ำบาตร แต่สนใจท่าทีของรัฐบาลจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ที่เข้ามาลงทุนในเมียนมา ส่วนชาติอาเซียนก็เป็นที่รู้กันว่า ยึดหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในของกันและกัน 

วันเดียวกัน ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม กล่าวถึงจุดยืนรัฐบาลไทยในเหตุการณ์ครั้งนี้ว่า ทุกฝ่ายต้องช่วยเสนอข่าวอย่างระมัดระวัง ไม่อยากให้เกิดผลกระทบเสียประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ รวมทั้งไม่อยากให้ขยายความขัดแย้งโดยเฉพาะในประเทศของเรา ทุกอย่างต้องยึดหลักการอาเซียน

บริษัทไทยกว่า 150 แห่งที่ลงทุนในพม่า ยังไม่ได้รับผลกระทบนอกจากการขนส่งชายแดนที่กระทบระยะสั้น เพราะด่านเปิดเป็นปกติ ที่ต้องจับตาคือมาตรการที่โจ ไบเดนจะคว่ำบาตรบริษัทที่เกี่ยวโยงกับผู้นำกองทัพและคณะยึดอำนาจ

การคว่ำบาตรของนานาชาติ จะส่งผลกระทบต่อเมียนมาและกระทบบริษัทไทยแค่ไหน ต้องติดตาม สำหรับเมียนมาเคยชินกับการ ถูกคว่ำบาตรจากนานาชาติมาหลายสิบปีต่อเนื่อง เดี๋ยวนี้ทั่วโลกเขารู้กันหมดแล้วว่า มาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐเป็นการลงโทษเพื่อผลประโยชน์ล้วนๆ ไม่ใช่เพื่อประชาธิปไตยสวยหรูแต่อย่างใด ที่สำคัญวันนี้ จีนและรัสเซีย ต่างก้าวเข้ามามีความสัมพันธ์ุใกล้ชิดกับเมียนมาทั้งทางเศรษฐกิจและการทหารด้วย