นักเขียนดัง เปิดหลักฐาน “เงินถุงแดง” คือ มรดกพระมหากษัตริย์ ไม่ใช่เงินของปชช. ตามที่ ปลดแอก กล่าวอ้างใช้บุก SCB

3803

ไกรฤกษ์ นานา นักเขียนดัง เปิดหลักฐาน “เงินถุงแดง” คือ มรดกพระมหากษัตริย์ ไม่ใช่เงินของปชช. ตามที่ ปลดแอก กล่าวอ้างใช้บุก SCB

จากกรณีที่มีการชุมนุมของกลุ่มปลดแอก เพื่อชูข้อเรียกร้อง 3 ข้อ คือ ให้นายกฯลาออก แก้ไขรัฐธรรมนูญ และปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งในการชุมนุม แกนนำจะมีการพูดปราศรัยเพื่อโจมตีสถาบันมาโดยตลอด ด้วยการนำเอาข้อมูลที่บิดเบือนหรือข้อมูลเท็จขึ้นมาพูด เพื่อโจมตีสถาบัน นอกจากนี้ยังมีการพูดถึงเรื่องของทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ โดยบอกว่า ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ไม่เท่ากับ ทรัพย์สินส่วนพระองค์” แต่ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เท่ากับ ทรัพย์สินส่วนรวมของบัลลังก์ (ประชาชน + สถาบันกษัตริย์) หรือก็คือ กงสีของชาติ ที่มีประชาชนและสถาบันกษัตริย์เป็นเจ้าของร่วมกัน

ล่าสุดทางด้านนายไกรฤกษ์ นานา นกเขียนและนักวิชาการอิสระ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กถึงกรณีเงินถุงแดง ที่กลุ่มผู้ชุมนุมได้กล่าวถึงและบิดเบือนข้อมูลใส่ร้ายโจมตีสถาบันเกี่ยวกับทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ โดยระบุข้อความว่า

*** หลักฐานชัดเจน “เงินถุงแดง”**
* คือเงินพระคลังข้างที่ รัชกาลที่ 3 *
ได้ใช้จริงไทยถ่ายบ้านถ่ายเมือง !
* จ่ายเป็นค่าปรับในกรณี ร.ศ.112*
โดย ไกรฤกษ์ นานา
19 ธันวาคม 2563
ตามที่ได้มีรายการโทรทัศน์ สถานีหนึ่ง แพร่ภาพเรื่อง “ เงินถุงแดง “ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2563
ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ ในโลกโซเชียล โดยมีผู้ตั้งข้อสงสัยเรื่อง “ เงินถุงแดง “ จะไม่ใช่เงินที่รัฐบาล ใช้จ่าย เป็นค่าปรับสินไหม ต่อความเสียหายให้แก่ฝรั่งเศส ในกรณี ร.ศ.112 นั้น
ผมขอชี้แจงจาก “ หลักฐาน “ ในวันเกิดเหตุว่า หนังสือพิมพ์ชื่อ “ ธรรมศาสตร์วินิจฉัย “ ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ ของทางราชการไทย ตีพิมพ์ ในฉบับวันที่ 30 กรกฎาคม ร.ศ.112
โดยระบุชัดเจนว่า ฝรั่งเศสรู้ว่า ทางราชสำนักไทย มีเงิน “ เหรียญนกเม็กซิโก “ จำนวนมากอยู่ในครอบครองวันนั้น
“ เงินเหรียญนก “ เป็นเงินต่างประเทศ ที่สากลยอมรับ ซึ่งทางการไทย ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ก็อนุญาตให้ใช้เป็นเงิน ที่ซื้อขายของจากต่างประเทศได้
 
เนื่องจากเงินบาท , เฟื้อง และ โสฬส ของไทย ยังผลิตขึ้นมาใช้ไม่เพียงพอ ในเวลานั้น อีกทั้งยังเป็นเงินตรา ที่ทางต่างประเทศไม่ยอมรับมากนัก โดยเฉพาะทางยุโรป ซึ่งฝรั่งเศสก็เป็นชาติหนึ่ง ที่ปฏิเสธการรับรอง เงินไทยอย่างเด็ดขาด ในกรณี ร.ศ.112
นสพ.ของทางการไทย ฉบับนั้น ได้ระบุชัดเจนว่า ฝรั่งเศสต้องการให้ไทยจ่ายเป็นเงิน “ เหรียญนก “ เท่านั้น เงินไทยใช้ไม่ได้ ธนบัตรไทยก็ไม่รับ ! โดยได้อ้างหลักฐาน ใน” คำขาด” ของฝรั่งเศส ข้อที่ ( 6 ) ความว่า……
“ ให้ไทยเอาเงิน 3,000,000 แฟรงค์ คิดเป็นราคาเงินเหรียญนก มาวางประจำไว้โดยทันที เพื่อเป็นประกันเงิน ที่จะต้องจ่ายค่าทำขวัญนั้น ถ้าไม่เอาเงินรายนี้ มาวางประจำไว้แล้ว ก็ต้องให้ฝรั่งเศสมีอำนาจเก็บเงินภาษีอากร และเงินส่วยต่างๆ ในเมืองพัตตะบอง และเมืองเสียมราบ เป็นจำนำยึดไว้ก่อน “
ข้อมูลดังกล่าว เป็นข้อมูลที่ผู้เขียนค้นพบใน นสพ.ต้นฉบับ ของธรรมศาสตร์วินิจฉัย สมัย ร.ศ.112 ซึ่งตรงกับข้อมูลของหนังสือ “ สารานุกรม ประวัติศาสตร์ไทย “ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เขียนว่า…….
“ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์มีพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เป็นจำนวนมากก่อนเสด็จขึ้นครองราชย์ เพราะนอกจากจะจัดการค้าสำเภาหลวงแล้ว ก็ยังทรงค้าสำเภาเป็นการส่วนพระองค์ด้วย พระราชทรัพย์เหล่านั้น บรรจุไว้ใน “ ถุงสีแดง” เก็บไว้ในพระคลังข้างที่ จึงเป็นที่มาของชื่อเรียกว่า “ เงินถุงแดง “
เมื่อสิ้นรัชกาล ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเงินพระคลังข้างที่ทั้งหมด ถวายพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใหม่ ตามแต่จะใช้สอยทำนุบำรุงราชการแผ่นดิน ต่อไป ต่อมาได้ใช้จ่ายค่าเสียหาย ให้แก่ฝรั่งเศส ในเหตุการณ์ ร.ศ.112 ตามที่หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศสมัย ดิศกุล นิพนธ์ไว้ว่า……
ฝรั่งเศส ไม่ต้องการให้ไทยจ่ายค่าเสียหายเป็นธนบัตรไทย หากต้องการเป็นเงินกริ๊งๆ คราวนี้ก็ต้องเทถุงกันหมด เงินถุงแดง ข้างพระคลังของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 ทรงเก็บไว้ด้วยมีพระราชดำรัสว่า เอาไว้ถ่ายบ้านไทยเมือง
ก็ได้ใช้จริงในคราวนี้ “
การให้สัมภาษณ์ ของผู้ไม่รู้จริงแบบ “ นั่งเทียนพูด “ ของผู้บรรยายในรายการนั้น ว่าเงินที่จ่ายให้ฝรั่งเศสน่าจะมาจาก “ งบกลาง” ในกรณีฉุกเฉินของไทย จึงเป็นเรื่องโคมลอย ที่มโนไปเองไม่มีหลักฐานของทางการไทย ในยุคนั้นกล่าวถึงทั้งสิ้น !!! ขอโปรดได้เข้าใจ ตามหลักฐานนี้ด้วยครับ
สำหรับเงินถุงแดง เป็นเงินที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งที่ยังเป็นพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าทับ ซึ่งเป็นพระเจ้าลูกยาเธอในรัชกาลที่ 2 ทรงทำหน้าที่กำกับราชการกรมท่า กรมท่านี้เป็นกรมที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานการต่างประเทศ การพาณิชย์ แล้วก็การพระคลัง ทรงบริหารงานราชการกรมท่าเข้มแข็งมากแล้วก็นำรายได้เข้าสู่แผ่นดินได้จำนวนมากอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย เงินแผ่นดินสมัยก่อนเค้าเรียกว่าเงินในท้องพระคลังหลวง
วิธีการหารายได้ของพระองค์ท่าน คือ จัดแต่งเรือสำเภานำสินค้าไปค้าขายกับต่างประเทศ อย่างเช่นจีน อินเดียและประเทศทางก็จะมีเปอร์เซียเป็นนักค้าตัวยง มีทั้งสำเภาหลวงแล้วก็สำเภาของส่วนพระองค์ด้วย ทรงนำสินค้าของส่วนพระองค์ใส่เรือสำเภาของส่วนพระองค์ค้าขายกับต่างประเทศด้วย เงินที่ได้มา ในส่วนของสำเภาหลวงก็เข้าคลังหลวง ในส่วนของสำเภาส่วนพระองค์ ได้ทรงแบ่ง ส่วนหนึ่งก็คือถวายรัชกาลที่ 2 เพื่อนำเข้าพระคลังหลวงด้วย อีกส่วนหนึ่งทรงเก็บไว้เงินส่วนพระองค์ที่ทรงเก็บไว้ในถุงแดง ข้างที่พระบรรทม พอเงินเต็มถุง พอเต็มถุงก็จะทรงนำเข้าพระคลังหลวงไว้เป็นสมบัติแผ่นดินทั้งหมด และทรงสะสมใหม่ เพื่อพระราชทานเก็บเข้าพระคลังหลวงเป็นสมบัติแผ่นดินอีก ทั้งๆที่เป็นพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์
แต่เนื่องจากทรงมีพระราชดำริว่า เมื่อพระองค์มีพระราชทรัพย์ในขณะที่เป็นพระเจ้าแผ่นดิน คือที่ที่ทรงค้าขาย ทั้งเมื่อยังเป็นพระเจ้าลูกยาเธอ และเมื่อครองราชย์แล้วด้วยเหมือนกัน คือจากสำเภาส่วนพระองค์ด้วยเหมือนกัน แต่เมื่อทรงมีพระราชดำริว่า เมื่อมีพระราชทรัพย์ในขณะที่เป็นพระเจ้าแผ่นดิน พระราชทรัพย์ทั้งหมดจึงควรจะเป็นของแผ่นดินหาใช่พระราชทรัพย์ที่จะตกทอดถึงพระราชโอรส ธิดาของพระองค์ เพราะเงินถุงแดงเก็บข้างที่พระบรรทม ซึ่งต่อมาก็เป็นที่มาของคำว่าพระคลังข้างที่ ใส่ในถุงแดง ถุงผ้า ถุงผ้าสีแดง แล้วก็สมัยโบราณเวลาเขาเก็บเงินเขาจะห่อมิดชิดแล้วตีตรา คือ เก็บในถุงแดงแล้วก็จะมีกำปั่น คือเป็นวิธีการเก็บเงินในสมัยโบราณเขาจะใส่กำปั่น จะวางไว้ข้างพระที่ หรือว่า ตอบไม่ได้แน่นอนว่าวางไว้ข้างพระแท่นบรรทมหรือว่ามีห้องเก็บ แต่เขาก็เรียกว่าเงินข้างที่บรรทมหรือพระคลังข้างที่
วัตถุประสงค์ของการใช้เงินถุงแดงสำรองไว้ใช้ยามประเทศชาติวิกฤต เพราะว่าก่อนที่จะสวรรคตนั้นพระองค์ท่านมีรับสั่งว่า คือห่วงประเทศท่านบอกว่าการศึกสงครามพม่า ญวนเขมรคงไม่มีแล้ว จะมีแต่เรื่องของฝรั่ง ซึ่งตอนนั้นมีอังกฤษ มีฮอลันดาเข้ามาเยอะ แล้วก็ท่านก็รับสั่งบอกว่า ถ้าอะไรส่วนที่ดีก็จงนำมาใช้จำไว้ ส่วนที่ไม่ดีก็อย่า ก็คือให้ระวังไว้ แสดงว่าทรงมีความละเอียดรอบคอบแล้วก็คิดไปถึงอนาคต คิดไกล และท่านก็สั่งไว้เงินของท่านที่เหลือ ก็คือให้ไว้ใช้ในยามแผ่นดินวิกฤต ยามยาก ยามจำเป็น สถานการณ์ที่นำเงินถุงแดงออก มาใช้เคยก็มี คือ เมื่อรัชกาลที่ 3 สวรรคตไปรัชกาลที่ 4 ขึ้นครองราชย์ท่านไม่ได้ใช้ท่านเก็บไว้ พอถึงรัชกาลที่ 5 บังเอิญช่วงนั้นมันเกิดวิกฤตการณ์ที่ที่คนไทยเรารู้จักกันต่อมาในประวัติศาสตร์ก็คือวิกฤตการณ์ รศ. 112 รศ. 112 นี่ก็ตรงกับ พ.ศ. 2436 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ฝรั่งเศสอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ซึ่งมันเป็นดินแดนในอาณัติของสยาม