โควิด-19 รอบใหม่ระบาดหนักทั่วโลก?!? ไทย-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์-ไต้หวันฝ่าวิกฤต มีชีวิตปกติได้ ขณะสหรัฐยังอ่วม

1506

ความแตกต่างในการดำเนินชีวิตดั่งโลกสองใบเห็นอย่างชัดแจ้ง เพราะโควิด-19แพร่ระบาดหนักทั่วโลก เสมอกัน แต่การใช้ชีวิตของประชาชนในประเทศเอเชีย-แปซิฟิกหลายแห่ง ที่ไม่มีการแพร่ระบาดหรือมีน้อยมาก เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ไต้หวันและประเทศไทย เกิดจากวัฒนธรรมความคิดของประชาชนในชาติเป็นสำคัญ ประกอบกับภูมิประเทศและความรับผิดชอบของรัฐบาลประเทศนั้นๆ ทำให้สามารถฝ่าวิกฤตสำเร็จ เปรียบเทียบกับสหรัฐอเมริกาที่โควิด กลับมาระบาดรอบ 3 ทำผู้ติดเชื้อและคนเสียชีวิตสูงไม่หยุด ยังคงสูญเสียเป็นอันดับหนึ่งของโลกและไม่มีแนวโน้มลดลง ท่ามกลางฤดูหนาวยาวนาน ด้วยคนอเมริกันไม่น้อยเชื่อว่าไวรัสโควิด เป็นโรคธรรมดา เป็นแค่ประเด็นเอาชนะทางการเมือง และชีวิตอิสระเสรีของตนเองเป็นสิ่งสำคัญที่สุด

การติดชื้อโควิด-19 มีระดับต่ำหรือไม่ปรากฏในสองสามประเทศ ที่การใช้ชีวิตกลับมาเป็นปกติแล้ว บางคนสามารถเฉลิมฉลองเทศกาลวันหยุดโดยลืมไปเลยว่ามีการระบาดโควิด-19 อยู่

สำนักข่าวบัซฟีดนิวส์:สหรัฐฯ ได้เสนอบทความเปรียบเทียบชีวิตของประเทศที่รับมือไวรัสโควิด-19 สำเร็จ กับสหรัฐอเมริกาว่าต่างกันเหมือนอยู่ในโลกคนละใบและคนอเมริกันควรเรียนรู้จากคนในประเทศในเอเซียแปซิฟิกเหล่านั้นรในประเทศนิวซีแลนด์  ประชาชนไปช้อปปิ้งห้างสรรพสินค้าโดยปราศจากการสวมหน้ากากอนามัย และสามารถแบ่งข้าวโพดคั่วกับเพื่อนๆในโรงภาพยนตร์, ในออสเตรเลีย พวกเขาสามารถไปชมภาพยนต์กลางแปลง, ดูกีฬา และวงดนตรีกลางแจ้ง วงคอนเสิร์ต, ประเทศไทย คนไทยในกรุงเทพฯกำลังดื่มกินในร้านอาหาร บาร์และเต้นรำ สำหรับไต้หวัน คนไต้หวันในเมืองหลวง กรุงไทเปกว่า 130,000 คน สามารถเข้าร่วมเดินพาเหรดฉลองปีใหม่ ได้อย่างปลอดภัย

ไต้หวันเหมือนความทรงจำที่ลางเลือน

“ภาคภูมิใจอย่างยิ่ง ที่คนจำนวนมากสามารถออกไปข้างนอกได้” เพอร์รี ตรวง ติวเตอร์วัย 25 ปีซึ่งย้ายมาจากอเมริกา ครั้งที่เกิดระบาดไวรัสโควิด-19 ระลอกแลกที่ไต้หวัน มีผู้ติดเชื้อ 200,000 รายต่อวัน ซึ่งณ ปัจจุบันนี้ไม่พบผู้ติดเชื้อเลยติดกันมา 200 วันแล้ว “มันไม่เคยคิดฝันมาก่อนเลย” ตรวงกล่าว “ผมไม่ค่อยหวั่นวิตกถึงการติดเชื้อไวรัส  ผมไม่รู้สึกหวาดกลัวเมื่อไม่ได้สวมหน้ากากอนามัยไปยังสถานที่สาธารณะ ไม่รู้จะบอกอย่างไร มันปกติจริงๆนะ” “มันรู้สึกแปลกๆ เพราะผมรู้สึกต่อเมื่อมีคนพูดถึง คล้ายมันเกิดเมื่อ 10 ปีก่อนว่า -เคยมีการระบาดใหญ่โควิด-19”

ขณะที่เกิดการระบาดไวรัสโควิด-19 รอบ3 ในสหรัฐอเมริกา ขณะที่ขาดแคลนโรงพยาบาลรับผู้ป่วยนับ 100,000 คนและมีผู้เสียชีวิตไต่ระดับสูงขึ้นตลอด (เสียชีวิตนาทีละ 1 คน) และคนอเมริกันต้องพบกับการล็อคดาวน์เมืองอีกครั้ง ขณะที่บางคนได้รับวัคซีนบ้างแล้ว มันคงเป็นฤดูนาวที่ยาวนานและมืดมน เก้าเดือนของการระบาดใหญ่ของอเมริกา แต่ชีวิตที่เผชิญโรคภัยโควิด-19 ของเรา(ไต้หวัน)เหมือนความทรงจำที่ลางเลือน

ในขณะที่ส่วนหนึ่งของโลก เหมือนกับว่าเชื้อไวรัสโควิด-19 มันอยู่ห่างออกไป ความช่วยเหลือจากสภาพภูมิประเทศ หรือ ความรับผิดชอบจริงจังของรัฐบาล หรือทั้งสองประการ การติดเชื้อน้อยมาก หรือไม่ปรากฏในสองสามประเทศ โดยเฉพาะภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งชีวิตเสมือนปกติธรรมดา บางคนไปงานเฉลิมฉลองกันประหนึ่งว่าไม่เคยมีการระบาดไวรัสโควิด-19 เลยก็ว่าได้“ผมรู้สึกว่าผมลืมไปเลยว่าเคยมีการระบาดไวรัสโควิด-19 โดยเฉพาะเมื่อผมไม่ค่อยได้ออกไปข้างนอกอยู่แต่ในที่พัก” เจด ตั้งวัฒโนทัย วัย 25 ปี ทำงานด้านพัฒนาซอฟแวร์ในกรุงเทพฯ

ออสเตรเลียไร้กังวลดำเนินชีวิตปกติ

“ในชีวิตประจำวันแต่ละวันของฉัน ฉันลืมไปเลยจริงๆนะ มันหายกังวลไปเพราะหลายสาเหตุ” อนาลิส เฮย์แมน คุณแม่ลูกสองวัย 35 ปี ในเพิร์ธเมืองหลวงของออสเตรเลียตะวันตก ซึ่งเป็นสถานที่ภูมิศาสตร์ที่ดียิ่งของโลก รัฐนี้ปราศจากผู้ติดเชื้อถึง 8 เดือนในระหว่างเมืองและชุมชน และตอนนี้เฮย์แมนไม่ต้องคิดทบทวนไปมาที่จะส่งลูกๆออกไปเล่นนอกบ้าน หรือออกไปชมเกมส์แข่งขีนฟุตบอลกับเพื่อนๆ เธอไม่เคยต้องสวมหน้ากากอนามัย “ตอนนี้ฉันเริ่มวิตกกังวลกับประเทศอื่นๆที่ มีคนติดเชื้อเพิ่มขึ่นแล้ว” 

ในโลกปกติ เรื่องเล็กๆน้อยในการดูแลแขกผู้รับเชิญมางานเลี้ยง หรือลูกค้าที่จะมานั่งทานอาหารในภัตตาคารเพื่อฉลองวันคริสต์มาสไม่จำเป็นเท่าไหร่ เพราะทำก็ได้ไม่ทำก็ได้ แต่ปัจจุบันกลายเป็น คำสั่ง-ความจำเป็นต้องทำโดยเฉพาะในประเทศที่มีการระบาดโควิด-19 คำทวิตยอดฮิต “ย้ายไปอยู่นิวซีแลนด์”ซึ่งเป็นคำธรรมดาสามัญ กลายเป็นคำพาดหัวข่าวสำคัญเสียนี่

นิวซีแลนด์ทุกอย่างปกติ-ร่วมมือกันทำอย่างจริงจัง

ลูซี่ วิทเธอร์ส พนักงานโกลเซอรี่ เมืองไครต์เชิร์ช ทางตอนใต้ของประเทศนิวซีแลนด์กล่าวว่า “ทุกอย่างเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว” เธอไม่เคยถูกเรียกร้องให้ต้องสวมหน้ากากอนามัย และตอนนี้สามารถออกไปทานอาหารนอกบ้านโดยไม่ต้องรักษาระยะห่าง 6 ฟุตแต่อย่างใด “ฉันไปพบปะครอบครัว เราไปทานอาหารนอกบาน มันเป็นชีวิตปกติอย่างสมบูรณ์”

การกลับไปสู่ชีวิตปกติของประเทศข้างต้นท่ามกลางการระบาดไวรัสโควิด-19 ไม่ได้เกิดจากสิ่งมหัศจรรย์ใด และเป็นการทำงานหนัก  ในประเทศนิวซีแลนด์ ในเดือนมีนาคม มีการล็อคดาวน์ประเทศอย่างเข้มงวดในทันที ในเดือนสิงหาคม ประชาชน 1.7 ล้านคนของออคแลนด์ กลับสู่การลอคดาวน์กว่า 1 เดือนหลังเกิดระบาด ตัวเลขติดเชื้อช่วงลอคดาวน์คือ 17 ราย “ความยากลำบากแต่เริ่มแรกคือค่าใช้จ่ายที่ดีที่สุดในการปฏิบัติการ” นายกรัฐมนตรี จาซินดา อาร์เดน ซึ่งได้รับเลือกตั้งอีกครั้ง ในการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีที่ผ่านมา เพื่อขอบคุณเธอที่ตัดสินใจถูกต้องในการจัดการปัญหาวิกฤตการระบาดโควิด-19

ออสเตรเลียเช่นกัน  การตัดสินใจลอคดาวน์ในแคว้นวิตอเรีย เมื่อเดือนมิถุนายน หลังจากพบผู้ติดเชื้อนับร้อยรายต่อวัน  ทำให้ผู้ติดเชื้อเป็นศูนย์ในรอบ 100 วัน ณ สิ้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา“การลอคดาวน์มันเครียด แต่คุณต้องเข้าใจถึงความจำเป็นและต้องใช้เวลา” เชส แมดเซน วัย 26 ปี อาชีพครีเอทีฟ โพรดิวเซอร์ในเมืองออคแลนด์ ซึ่งเพิ่งเดินทางไปงานแต่งงานของญาติ “ใครที่บอกว่าลอคดาวน์แล้วไม่คุ้มนั่นหมายถึง พวกนั้นค่อนข้างคิดแบบนักการเมืองหรือไม่ก็ไร้เดียงสา”

สำหรับไต้หวัน, สิงคโปร์และเกาหลีใต้ ไม่เคยต้องลอคดาวน์เพื่อจำกัดการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 มีการปรับใช้เทคโนโลยีเพื่อตรวจเชื้อ ไปพร้อมๆกับการป้องกันแบบธรรมดา เช่นสวมหน้ากากอนามัย

“ก่อนติดโควิด-19 ประชาชนต้องสวมหน้ากากขึ้นรถสาธารณะ ทั้งรถประจำทางและรถไฟ” คาร์เมน ตรวง วัย 26 ปี อาชีพนักการตลาดดิจิทัลในกรุงไทเปกล่าว “พอโควิดระบาดทั่ว มันก็ไม่แพร่หนัก”

ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ช่วยไว้ได้มาก

ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของ ประเทศที่เป็นเกาะ เช่นนิวซีแลนด์, ออสเตรเลีย, ไต้หวันและสิงคโปร์ เอื้ออำนวยให้ง่ายแก่การควบคุมมากกว่าผู้เดินทางจากต่างประเทศ มีเพียงเกาหลีใต้ที่มีพื้นที่ติดเกาหลีเหนือ และที่ อเมริกันซามัว หนึ่งในไม่กี่เมืองในโลก ที่ไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อโควิดแม้แต่รายเดียว เพราะผู้บริหารเมืองตัดสินใจลอคดาวน์ทันทีเมื่อมีการระบาดโควิด-19 ชาวต่างชาติที่อยู่ในเมืองไม่สามารถเดินทางกลับประเทศตนเองได้

เคลลี แอนเดอร์สัน นักวิทยาศาสตร์ทางทะเลแห่งมหาวิทยาลัยฮาวาย ซึ่งอาศัยในอเมริกันซามัวมา 12 ปีเพิ่งยกเลิกงานวันเกิดครั้งแรกของลูกสาวบอกว่า “เด็กๆของเราสามารถออกไปเที่ยวเล่นนอกบ้าน ว่ายน้ำในสระ แข่งขันกัน และหนุ่มสาวสามารถออกไปเที่ยวเล่นพูดคุย ว่ายน้ำ ดื่มเบียร์เหมือนปกติได้ เรากอดกันได้ทำอะไรก็ได้เหมือนปกติ”

เพื่อร่วมงานของเธอที่ติดอยู่ที่แคลิฟอร์เนียไม่สามารถกลับบ้านในช่วงวันหยุดเทศกาล เหมือนทุกปีได้ เพราะที่นั้น มีการเรียกร้องสวมหน้ากากอนามัย มีการป้องการการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 อย่างเคร่งครัด “มันคือประสบการณ์เหนือจริงที่เห็นความเดือดร้อนและผลกระทบจากการระบาดไวรัสโควิด-19 ทั่วโลก และความเหลือมล้ำไม่เท่าเทียมก็รุนแรงและเลวร้ายอย่างที่สุดมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้พวกเราที่นี่รู้สึกโชคดีเหลือเกินที่ห่างไกลเจ้าไวรัสโควิด-19 ได้”

เปรียบเทียบเอเซียแปซิฟิกและสหรัฐ

ประเทศต่างๆที่กล่าวมาแล้ว ยังคงมีมาตรการควบคุมการระบาด โดยให้ประชาชนที่เดินทางอยู่ในสถานที่กักตัว เช่น ในไต้หวัน แรงงานอพยพจากฟิลิปปินส์ซึ่งต้องจ่ายเงินคนละอย่างต่ำ 3,500 ดอลลาร์สหรัฐเพียงหนีออกจากห้องที่กักตัวเพียง 8 วินาทีเท่านั้น เป็นกฎที่เข้มงวดมาก

ในออสเตรเลีย ประชาชนออสเตรเลียเท่านั้นที่เดินทางกลับประเทศได้โดยต้องถูกกักตัว 14 วันในห้องซึ่งไม่เปิดหน้าต่าง ภายในโรงแรมที่รัฐกำหนด สำหรับนักเดินทางในประเทศต้องจ่ายกว่า 2,200 ดอลลาร์สหรัฐในการกักตัว การเดินทางระหว่างรัฐภายในประเทศออสเตรเลียถูกปิดกั้นมาหลายเดือนแล้ว โดยเฉพาะรัฐวิคตอเรียที่ระบาดมาก  ทางตะวันตกของออสเตรเลียเพิ่งเปิดพรมแดนในสัปดาห์นี้ หลังจากปิดมา 9 เดือน โดยเปิดสนามบินเป็นครั้งแรก  มาร์ค แมคโกแวน ผู้ว่าการรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียกล่าวว่า “เรากำจัดโควิดได้ เราปกป้องชีวิตของประชาชนของเราได้” “และเศรษฐกิจของออสเตรเลียตะวันตกก็สามารถฟื้นได้อย่างรวดเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้”

ในสหรัฐอเมริกา ไม่มีการเข้มงวดกวดขัน  หลายมลรัฐมีการเดินทางข้ามไปมาในพื้นที่เสี่ยงที่มีการระบาดไวรัสโควิด-19 แม้มีการกักตัว 14 วัน ก็ไม่ได้มีการบังคับใช้อย่างเข้มงวดจริงจัง (ไม่เหมือนที่ฮาวาย นักท่องเที่ยวหนีกักตัว 14 วันถูกจำคุก)  และในคณะบริหารของปธน.โดนัลด์ ทรัมป์ ได้ปิดการเดินทางจากประเทศจีนเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ และปิดกั้นสายยุโรป เดือนมีนาคม และเกิดช่องโหว่ เพราะคนอเมริกันเดินทางกลับบ้านทางเครื่องบินกันมหาศาล

เปรียบเทียบระหว่างสหรัฐและออสเตรเลีย  นสพ.วอชิงตันโพสต์ฉบับสัปดาห์นี้ สรุปสถานการณ์ด้านบวกของออสเตรเลียว่าปราศจาก กรณีการเมือง แต่เป็นความไว้วางใจของประชาชนออสเตรเลียต่อรัฐบาลและร่วมมือกันพันฝ่าวิกฤติไวรัสโควิด-19ระบาดได้สำเร็จ และใช้ระบบให้ตัวแทนโหวตเสียงเพื่อยอมรับมติต่างๆ  แต่นาตาชา แมทธิวส์ นักวิชาการด้านจิตวิทยาจาก มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ ที่เตรียมไปฉลองคริสต์มาสกับครอบครัวไม่เห็นด้วยกับข้อสรุปนี้ “ฉันคิดว่าคนออสเตรเลียนไม่ค่อยเชื่อรัฐบาลหรอกนะ นักการเมืองไม่ใช่่ผู้วิเศษ ทุกคนทำทุกอย่างภายใต้วิจารณญาณของตนเอง” “มันไม่ใช่แค่เราช่วยเหลือประเทศออสเตรเลียอย่างเดียว เราทำเพราะเพื่อคนอื่นๆด้วย  เราไม่ได้ทำอะไรเพราะเราคิดว่าจะเอาใจ หรือเชื่อฟังรัฐบาล แต่เราทำสิ่งที่ถูกต้องเพราะเป็นการช่วยเหลือซึ่งกันและกันต่างหาก”

คนอเมริกันควรเรียนรู้จากประเทศเหล่านี้

ขณะที่คนอเมริกันควรศึกษาแบบอย่างจากประเทศเหล่านี้ และหันกลับไปดูตัวเองว่าอยู่ในภาวะน่ากลัวแค่ไหน

ตั้งวัฒโนทัย นักพัฒนาซอฟแวร์ในกรุงเทพฯกล่าวว่า “ผมรู้สึกว่าไม่สามารถวิจารณ์สถานการณ์โดยรวมของสหรัฐอเมริกา เพราะผมรู้ว่าที่นั่นมีความแตกต่างทางวัฒนธรรมสูง และประชาชนถืออิสรภาพในการดำเนินชีวิต” “แต่ผมฟังจากเพื่อนผมในประเทศสหรัฐอเมริกา เขาว่าบางคนไม่เชื่อมันมีจริง หรือไม่ก็มันไม่ได้อันตรายมากมายและ พวกเขาเป็นแล้วรักษาได้มันธรรมดา ซึ่งผมคิดว่านั่นมันเพี้ยนนะ”

เฮย์แมน คุณแม่จากเพิร์ธ “บางที เพราะเราไม่ได้ฉลองวันขอบคุณพระเจ้า แต่แค่มีความคิดที่จะเดินทางข้ามประเทศ หรือพบปะในกลุ่มคนขนาดใหญ่ในช่วงระบาดอย่างหนัก  ความคิดนั้นมันขึ้นกับตัวคุณ สำหรับฉันคงอยากไปเพราะต้องการไปพบครอบครัว ฉันไม่ได้ไปหาครอบครัวหรือเพื่อนมานานนับปี แต่มันสำคัญที่คุณกำลังทำอะไร ทำไมคุณต้องทำให้คนอื่นสุ่มเสี่ยงแบบนั้น แล้วความคิดที่อยากจะไปก็จะหลุดลอยไปได้เอง”

เพอร์รี ตรวง ติวเตอร์ภาษาอังกฤษในไต้หวัน เพื่อนๆถามถึงครอบครัวของเขาในสหรัฐฯ เขาไม่สามารถคาดเดาว่าชีวิตของเขาจะเป็นเช่นไรในสหรัฐ “ที่อเมริกาติดเชื้อเป็นล้าน แต่ที่ไต้หวันนี้เป็นศูนย์ วันหนึ่งผมก็ต้องกลับไป แต่ผมจินตนาการไม่ออกว่าจะรู้สึกอย่างไรกับอเมริกาตอนนี้” “ผมรู้สึกเหมือนตัวเองอยู่ในช่วงเวลาอนาคต และกำลังมองกลับไปในอดีตเห็นคนอเมริกันกำลังทุกข์ทนกับการระบาดโควิด-19 อยู่”