ยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานของรัสเซียเปิดเผยว่า จะเพิกถอนจากตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายใหม่ ข่าวนี้สั่นสะเทือนนักลงทุนไม่น้อยว่า
วันที่ 30 เม.ย.2565 ก๊าซพรอม (Gazprom) บริษัทก๊าซของรัฐของรัสเซียกล่าวเมื่อวันศุกร์ว่า บริษัทกำลังเพิกถอนใบรับเงินฝากออกจากตลาดหลักทรัพย์ระหว่างประเทศ ตามคำแถลงบนเว็บไซต์ของบริษัท ผู้ถือหุ้นจะมีสิทธิ “แปลงเป็นหุ้นสามัญ”
ก๊าซพรอมยังกล่าวอีกว่า ได้แจ้งให้หน่วยงานกำกับดูแลทางการเงินของสหราชอาณาจักร ทราบถึงความตั้งใจที่จะยกเลิกการจดทะเบียนมาตรฐานในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน (LSE) บริษัทยังได้ขอให้ LSE และตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์เพิกถอนใบรับเงินฝากภายใน 20 วันทำการาด้วย
ภายใต้กฎหมายใหม่ หลักทรัพย์ของบริษัทรัสเซียสามารถซื้อขายได้บนชั้นการค้าต่างประเทศโดยได้รับอนุญาตเป็นพิเศษจากทางการรัสเซียเท่านั้น
เมื่อเดือนที่แล้ว ตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน (LSE) ได้บล็อกการซื้อขายในบริษัทรัสเซีย 27 แห่ง รวมถึงอีเอ็นพลัส (EN+), ก๊าซพรอม (Gazprom), ลูคอยส์(Lukoil), โรสเนฟต์(Rosneft) และ ซเบอร์แบงก์(Sberbank) บัญชีดำเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของตะวันตกในการตัดรัสเซียออกจากตลาดการเงินระหว่างประเทศเพื่อตอบสนองต่อการปฏิบัติการทางทหารของมอสโกในยูเครน
บริษัทก๊าซพรอม(Gazprom) คือผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติในรัสเซียที่ใหญ่ที่สุดในโลก จากการจัดหาก๊าซให้กับอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ โดยส่วนใหญ่ Gazprom จะส่งออกก๊าซไปยังยุโรปและเอเซีย ก่อนหน้านี้บริษัทเองยังมีประเด็นที่จีนจะเข้ามาลงทุนอีกด้วย หลังจากนักลงทุนยุโรปทยอยถอนตัวออกจากการถือหุ้น
เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา Gazprom เพิ่มปริมาณส่งออกก๊าซธรรมชาติอย่างเห็นชัด ซึ่งการเพิ่มปริมาณการส่งออกรายวันในเดือนนี้ ถือว่าเป็นการส่งออกสูงสุดในรอบ7เดือนที่ผ่านมา
จากกระแสของการคว่ำบาตร ทำให้ผู้ซื้อสต็อกสินค้าท่ามกลางความกังวลอย่างต่อเนื่อง จากการบุกยูเครนของรัสเซียที่อาจจะส่งผลกระทบต่อปริมาณคงเหลือของสินค้า และมีความเสี่ยงที่รัสเซียอาจจะหยุดการส่งออกให้ด้วย
โดยผู้ซื้อก๊าซธรรมชาติกำลังเรียกร้องและพยายามที่จะนำเข้าเชื้อเพลิงเท่าที่จะทำได้ ในกรณีที่มอสโกว์ตอบโต้การคว่ำบาตรอย่างรุนแรง ซึ่งจะส่งผลกระทบไปถึงความเสียหายต่อโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญตามเส้นทางขนส่งของยูเครน และก่อให้เกิดความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
จากการรายงานของสำนักข่าว Bloomberg บริษัท Gazprom ส่งออกก๊าซเฉลี่ยวันละ 500 ล้านลูกบาศก์เมตรไปยังประเทศคู่ค้า ในครึ่งเดือนแรกของมีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งปริมาณส่งออกมากกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งเดือนกุมภาพันธ์ที่ 19% แต่ก็ยังถือว่าน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของเดือนมีนาคมในปี 2021 ถึงแม้การส่งออกจะเพิ่มขึ้น แต่ผลผลิตก๊าซของ Gazprom เฉลี่ยอยู่ที่ 1.47 พันล้านลูกบาศก์เมตรต่อวันในเดือนมีนาคม ซึ่งน้อยกว่าในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
ที่ผ่านมา รัสเซียเป็นผู้จัดหาก๊าซธรรมชาติของยุโรปมากถึง 40% ซึ่งในบรรดาประเทศของสภาพยุโรปนั้น เยอรมนี นำเข้าก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียมากที่สุด สำหรับการใช้เชื้อเพลิงเพื่อช่วยให้บ้านอบอุ่นในฤดูหนาว และใช้ในการผลิตต่างๆ ในโรงงานอุตสาหกรรม
นอกจากนี้ เยอรมนียังมีเศรษฐกิจที่ใหญ่ และเป็นพันธมิตรหลักของสหรัฐอเมริกา ทั้งยังเป็นผู้เข้าร่วมที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ในการเจรจาเกี่ยวกับยูเครนอีกด้วย
แต่จากสงครามในครั้งนี้ ทำให้หลายๆ ประเทศในสหภาพยุโรปกำลังพยายามที่จะเลิกนำเข้าก๊าซจากรัสเซียในระยะยาวตามคำเรียกร้องของสหรัฐฯ ซึ่งจะต้องใช้เวลานานพอสมควร ถึงแม้ในอนาคตในความเป็นจริงประเทศเหล่านี้ยังจะต้องกลับมาใช้ก๊าซของรัสเซียอยู่ก็ตาม
ซึ่งเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เจ้าหน้าที่ระดับสูงในรัสเซีย ได้ออกคำเตือนหลายครั้งเกี่ยวกับการตัดจ่ายก๊าซที่อาจจะเกิดขึ้น
โดย อเล็กซานเดอร์ โนวัก รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่ารัสเซียอาจจะพิจารณาหยุดส่งก๊าซธรรมชาติ ผ่านท่อ Nord Stream 1 ซึ่งเป็นจุดเชื่อมโยงที่ใหญ่ที่สุดไปยังยุโรป เพื่อตอบโต้การคว่ำบาตรในครั้งนี้
ทางด้านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพลังงาน เผยว่าการส่งก๊าซผ่านยูเครนมีความเสี่ยงที่จะหยุดชะงัก เนื่องจากไม่สามารถรับประกันถึงความปลอดภัยที่สถานีคอมเพรสเซอร์ตลอดเส้นทางได้ อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดี วลาดิมีร์ ปูติน ยังคงย้ำว่าประเทศจะยังปฏิบัติตามข้อผูกพันด้านอุปทานอย่างเต็มที่
ล่าสุดบริษัทพลังงานของชาติยุโรปอีกหลายเจ้าที่กำลังเตรียมจ่ายค่าก๊าซธรรมชาติด้วยเงินรูเบิลตามหลักเกณฑ์ที่รัสเซียกำหนด ท่ามกลางความกังวลว่ารัสเซียจะระงับการส่งก๊าซ หลัง ตัดส่งก๊าซให้โปแลนด์และบัลแกเรียเนื่องจากปฏิเสธไม่ยอมจ่ายค่าก๊าซเป็นรูเบิล