เจาะลึกสาเหตุ “ไบเดน” ไม่กล้างัดอินเดีย ทั้งที่หนุนรัสเซีย แต่กลับพาลจีน เจอนายกฯอินเดียสอนมวย สะเทือนถึงชาติตะวันตก!

1739

ในช่วงสถานการณ์ดุเดือดของศึกรัสเซีย-ยูเครน แน่นอนว่าหลายประเทศถูกบีบให้เลือกข้าง แต่ก็เป็นที่น่าตั้งข้อสังเกตวส่าทำไมอินเดีย กลับอยู่รอดปลอดภัย ตรงจุดที่ยังซื้อน้ำมันราคาถูกจากรัสเซีย โดยไม่ถูกสหรัฐอเมริกาเล่นงาน หรือพาลหาเรื่องใส่แบบที่จีนกำลังเผชิญอยู่

ในตอนแรกก็มีท่าทีว่า โจไบเดน ไม่พอใจอินเดียอย่างมาก พยายามจะต่อสายคุย ขอให้นายกฯอินเดีย ร่วมกันแซงชั่นรัสเซีย และแสดงท่าทีผิดหวังที่อินเดียยังคบค้าอยู่กับรัสเซีย ไม่ลงมติร่วมประณาม แต่จู่ๆ ทั้งสหรัฐและอังกฤษก็เปลี่ยนเสียงไป ทำเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น เหตุการณ์นี้ เกิดขึ้นเมื่อประธานาธิบดี โจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐ พบปะหารือกับนายกฯ นเรนทรา โมดี ของอินเดีย ในการประชุมผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์วันที่ 11 เม.ย.ที่ผ่านมา มีแต่บรรยากาศพึงพอใจและถ้อยคำจับใจเกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่างประชาชน และมีหลักการร่วมกัน จากนั้น นายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ก็เดินทางมาพบนายโมดี ที่นิวเดลี เพื่อเดินหน้าความสัมพันธ์ทางการค้า พร้อมถ่ายรูปกันอย่างชื่นมื่น แม้ว่าจะเห็นไม่ตรงกันหลายประเด็นในเรื่องรัสเซีย

สำหรับอินเดียนั้น ถือว่าจุดยืนเรื่องยูเครนยังเหมือนเดิม ยังคงซื้อน้ำมันจากรัสเซีย และในช่วงไม่กี่เดือนมานี้ของปี 2022 อินเดียได้ซื้อในปริมาณที่มากเท่ากับทั้งปี 2021 นอกจากนี้อินเดียยังไม่ออกเสียงในที่การประชุมสหประชาชาติที่มีการโหวตให้รัสเซียพ้นจากการเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนด้วย

ทำให้เหล่านักวิเคราะห์การเมืองต่างมองว่า อินเดียกำลังสอนชาติตะวันตกให้รู้จักชั้นเชิงการทูตระดับปรมาจารย์ในการทูตระหว่างประเทศ เพราะอินเดียสำคัญมากต่อสหรัฐเพื่อจะต้านทานการผงาดขึ้นมาของจีน ซึ่งสหรัฐมองว่าอาจเป็นภัยคุกคามใหญ่ที่สุดยิ่งกว่ารัสเซีย ดังนั้นชาติตะวันตกก็ต้องกัดฟันไว้ แม้ลึก ๆ จะไม่พอใจ แต่ทำอะไรอินเดียไม่ได้

และทั้งสหรัฐ-อินเดียต่างก็พิพาทกับจีนเช่นกัน อินเดียเคยมีประเด็นพิพาทของตนเองกับจีน ทหารสองฝ่ายเคยเผชิญหน้าและปะทะกันจนบาดเจ็บล้มตายไปหลายสิบชีวิตที่พรมแดนหิมาลัยมในช่วงสองสามปีมานี้ ดังนั้นสิ่งที่ไม่รอดพ้นสายตารัฐบาลสหรัฐก็คือ อินเดียต้องพึ่งพาอาวุธจากรัสเซียมาเสริมเขี้ยวให้กองทัพ รวมถึงทหารที่ประจำอยู่ในพื้นที่หิมาลัย ทำให้สหรัฐ อยากอาศัยจังหวะนี้กล่อมอินเดียให้ยืนข้างเดียวกัน เพราะเชื่อว่าจีนกำลังเปลี่ยนโฉมภูมิภาคและระบบการเมืองระหว่างประเทศขึ้นมาใหม่ แม้จะไม่ลงรอยกันเรื่องยูเครนก็ตาม

ด้วยเงื่อนไขและเป้าหมายดังกล่าว จึงเป็นคำอธิบายได้ว่าทำไมสหรัฐจึงยังคงวิพากษ์วิจารณ์จีนที่ยังนิ่งเงียบกับการที่รัสเซียบุกยูเครน แต่กับอินเดียแล้ว ก็ไม่ได้ว่าอะไร

อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ถ้ามองอย่างผิวเผิน อินเดียและจีนต่างมีจุดยินคล้ายกันในสงครามยูเครน ทั้งสองประเทศวางตัวเหมือนเป็นผู้เฝ้าดูอย่างเป็นกลาง ไม่ต่อต้าน ไม่แสดงท่าทีอะไรให้เป็นภัยต่อชาติตัวเอง ทั้งสองประเทศเรียกร้องสันติและปฏิเสธที่จะประณามการบุกยูเครนของรัสเซีย นอกจากนี้ ทั้งสองประเทศยังมีความสัมพันธ์ด้านยุทธศาสตร์กับรัสเซีย และรู้จักวางตัวที่ไม่ทำอะไรที่เป็นอันตราย จนทำให้โจไบเดน ไม่กล้าจะงัด หรือบีบอะไรอินเดียไปมากกว่านี้ แม้จะไม่พอใจมากก็ตาม