ร้ายมาแรงกลับ!!ปูตินแก้เผ็ดหนักสั่งลดส่งออกอาหารปท.ไม่เป็นมิตร ยักไหล่ลาออกหลังถูกแขวนสมาชิกUNHRC

1657

การเมืองโลกเลือกข้างชัด เมื่อ UNแขวนสมาชิกภาพรัสเซียในคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนฯ โดยไม่มีการสืบสวนทั้งๆที่รัสเซียร้องขอเปิดประชุมไต่สวน สุดท้ายตัดสินเอาดื้อๆ แบบนี้เรียกว่าฟังความข้างเดียวหรือไม่?  แต่มอสโกว์ประกาศถอนตัวโดยสิ้นเชิงแล้ว พร้อมตอบโต้ประเทศที่ไม่เป็นมิตรด้วยมาตรการเข้มข้น คือพิจารณาลดการส่งออกอาหารตามลำดับความแข็งกร้าวของประเทศที่คว่ำบาตรรัสเซีย และโหวดแขวนรัสเซียครั้งล่าสุด

ไม่แปลกใจ ที่รัสเซียถูกขับจากคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Human Rights Council: UNHRC) จากการผลักดันของสหรัฐและสหราชอาณาจักร ซึ่งที่ผ่านมาเพิกเฉยต่อกรณีละเมิดสิทธิมนุษยชนในปาเลสไตน์ และในตะวันออกกลางมาโดยตลอด ทำให้รัสเซียไม่ลังเลที่จะเลิกเสวนาด้วยโดยการลาออกอย่างสมบูรณ์ เพราะตระหนักดีว่า องค์กรโลกบาลทั้งหลายล้วนอยู่ภายใต้อิทธิพลของสหรัฐและตะวันตก ไม่สนใจสอบสวนข้อเท็จจริงและทำตามวาระวอชิงตันอย่างโจ่งแจ้ง  ยังคงเหลือ คณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการส่งกองกำลังสหประชาชาติเข้าแทรกแซงในที่ต่างๆที่เกิดความขัดแย้ง  และสหรัฐกำลังดำเนินเรื่องให้ขับรัสเซียออกเช่นกัน หากทำสำเร็จ ประเทศไทยอาจได้เห็นกองกำลังนานาชาติ ยาตราทัพมาแทรกแซงเรื่องเมียนมาอย่างที่พยายามทำมาโดยตลอด แต่ไม่สำเร็จเพราะถูกคัดค้านจากจีนและรัสเซีย

วันที่ 8 เม.ย.2565 สำนักข่าวรัสเซียทูเดย์และรอยเตอร์รายงานว่า ที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา แถลงระงับสมาชิกภาพของรัสเซียจากคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เกี่ยวกับรายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงในยูเครน ความเคลื่อนไหวที่กระตุ้นให้มอสโกว์ประกาศถอนตัวจากองค์กรแห่งนี้อย่างสิ้นเชิง

ในความเคลื่อนไหวที่ผลักดันโดยสหรัฐฯ สมาชิกสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ 93 ประเทศ ลงมติเห็นด้วย ส่วน 24 ประเทศ โหวตไม่เห็นด้วย และ 58 ประเทศงดออกเสียง ในนั้นรวมถึงประเทศไทย ทั้งนี้ คะแนนเสียงข้างมาก 2 ใน 3 ในที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ 193 ชาติในนิวยอร์ก ไม่รวมคะแนนของประเทศที่งดออกเสียง มีความจำเป็นสำหรับระงับรัสเซียจากคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติที่มีสมาชิก 47 ประเทศ และมีสำนักงานใหญ่อยู่ในเจนีวา

เกนนาดี คาซิม รองเอกอัครราชทูตรัสเซียประจำสหประชาชาติ (Gennady Gatilov, Russia’s ambassador to the UN mission in Geneva)ให้สัมภาษณ์หลังการโหวต ให้คำจำกัดความความเคลื่อนไหวดังกล่าวว่า “เป็นก้าวย่างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและมีแรงจูงใจทางการเมืองอย่างชัดเจน นี่คือการเมืองของลัทธิล่าอาณานิคมใหม่ด้านสิทธิมนุษยชน ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ” และจากนั้นก็แถลงว่ารัสเซียตัดสินใจถอนตัวออกจากคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติโดยสิ้นเชิง

ในประวัติศาสตร์แห่งการรุกราน มีอีกประเทศเดียวที่เคยถูกไล่ออกจากคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติคือลิเบีย ในปี 2554 เนื่องจากองค์การนาโตได้ทิ้งระเบิดประเทศในแอฟริกาเหนือเพื่อช่วยกลุ่มติดอาวุธโค่นล้มรัฐบาลของมูอัมมาร์ กัดดาฟี และคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนฯกลับลงโทษประเทศที่ถูกคุกคาม

ด้านรัสเซีย เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา วลาดิเมียร์ ปูติน ปธน.แห่งรัสเซีย เปิดเผยว่ารัสเซียจะส่งออกอาหารอย่างระมัดระวังมากขึ้นในปีนี้ โดยเฉพาะการส่งออกไปยังประเทศที่ดำเนินนโยบายไม่เป็นมิตรต่อรัสเซีย

ปูตินกล่าวระหว่างการประชุมที่จัดขึ้นเพื่อสนับสนุนภาคการเกษตรของประเทศว่าขณะทั่วโลกเผชิญปัญหาขาดแคลนอาหารในปี 2022  รัสเซียเอง จำเป็นต้องระมัดระวังมากขึ้นในการส่งออกอาหาร ตัวอย่างเช่น ต้องมีการตรวจสอบตัวชี้วัดการส่งออกสู่ประเทศที่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัสเซียอย่างชัดเจน

ขณะเดียวกันผู้นำรัสเซียยืนยันว่า ปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นช่วยรับประกันว่าราคาอาหารในรัสเซียจะต่ำกว่าตลาดโลก การพึ่งพาตนเองด้านอาหารเป็นข้อได้เปรียบทางการแข่งขันของรัสเซีย และรัสเซียต้องปกป้องประชาชนของตนจากความผันผวนของราคาในตลาดอาหารโลก

ผู้นำหมีขาวยังอ้างถึงศักยภาพของรัสเซียทั้งในด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และวิทยาศาสตร์ และย้ำว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหามาตรการ “ลดผลกระทบเชิงลบจากภายนอกสำหรับประชาชนชาวรัสเซีย ซึ่งจะต้องสามารถเข้าถึง “ผลิตภัณฑ์อาหารคุณภาพสูงในราคาที่จับต้องได้ โดยเฉพาะอาหารจำพวกปลาต่างๆนี่คือภารกิจสำคัญสำหรับปีนี้”

ทั้งนี้รัสเซียเป็นผู้ส่งออกข้าวสาลีรายใหญ่ที่สุดของโลก โดยส่งออกธัญพืช 49 ล้านตัน ในปีเกษตรกรรมที่สิ้นสุดวันที่ 30 มิ.ย. 2021 ซึ่งในจำนวนนี้เป็นข้าวสาลี 38.4 ล้านตัน

กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาและชาติที่ต้องพึ่งพาสินค้านำเข้าต่างได้รับผลกระทบหนักจากสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน เนื่องจากทั้ง 2 ประเทศเป็นแหล่งผลิตข้าวสาลีรวมกันมากกว่า 1 ใน 4 ของโลก

รัสเซียยังเป็นชาติผู้ผลิตปุ๋ยรายใหญ่ ดังนั้นมาตรการคว่ำบาตรทางการเงินและการคมนาคมขนส่งที่นานาชาติใช้กับมอสโกว์จึงส่งผลกระทบกระเทือนถึงการผลิตสินค้าเกษตรในภูมิภาคอื่นๆ และยังกระตุ้นให้ราคาเชื้อเพลิงพุ่งสูงขึ้น

แม้มาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐและตะวันตกทำให้รัสเซียต้องเผชิญวิกฤตเศรษฐกิจครั้งเลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่สหภาพโซเวียตล่มสลายลงในปี 1991 แต่รัฐบาลมอสโกว์ย้ำว่า ผลกระทบต่อสหรัฐ-ยุโรปและทั่วโลกนั้นรุนแรงยิ่งกว่า