ผู้เชี่ยวชาญของ Wall Street จำนวนมากต่างคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะตกต่ำในอนาคตอันใกล้ โดยสัญญาณเตือนดังขึ้นหลังจากเส้นอัตราผลตอบแทนทั่วไปกลับด้านเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจถดถอยกำลังจะมา ยิ่งเมื่ออดีตเจ้าหน้าที่เฟดเตือนแรงซ้ำ ยิ่งทำให้เกิดความวิตกในตลาดหุ้นกระจายเพิ่ม ประกอบกับเฟดกลางแบะท่าว่าจะลดการซื้อพันธบัตรสหรัฐไปเรื่อยๆ แม้จะค่อยเป็นค่อยไปก็ตาม มิหนำซ้ำยังเตือนล่วงหน้าว่าจะต้องเพิ่มดอกเบี้ยในปีนี้ถึง 6 ครั้ง ฝั่งนักลงทุนบ่นอุบว่าเฟดประมาทหรือมองโลกแง่ดีเกินไปจึงปล่อยให้สถานการณ์ยากจะรับมือ
วันที่ 5 เม.ย.2565 สำนักข่าวฟอร์บและมาร์เก็ตวอทช์รายงานว่า ลอร์เรนซ์ ลินด์เซย์ (Lawrence Lindsey) อดีตผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ เตือนแรง ทำนายถึงเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างรวดเร็วในฤดูร้อนนี้ เนื่องจากเงินเฟ้อพุ่ง ธนาคารกลางไม่สามารถควบคุมเงินเฟ้อได้แน่ ส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภคอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นจะบังคับให้ผู้บริโภคจำกัดการใช้จ่ายของตนมาก จนเกิดเศรษฐกิจจะตกต่ำภายในไตรมาสสาม เดือนกรกฎาคม-กันยายนปีนี้
อดีตเฟดกล่าวว่าในการให้สัมภาษณ์กับ CNBCว่า“ฉันคิดว่าเรากำลังจะเข้าสู่ภาวะถดถอย อาจจะเป็นในไตรมาสหน้า” “เงินเฟ้อกำลังกลืนกินอำนาจการใช้จ่ายของผู้บริโภค พวกเขาจะต้องลดจำนวนการใช้จ่ายลงอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง”
ลินด์ซีย์กล่าวว่าเขากลัวว่าอัตราเงินเฟ้อจะทรงตัวและปรับเพิ่มขึ้น และอาจมีการเพิ่มค่า CPI หรือCondumer Price Index รายเดือนที่สูงกว่า 1% อย่างรวดเร็ว อัตราเงินเฟ้อของผู้บริโภคไม่ได้เพิ่มขึ้น 1% หรือมากกว่านี้มาเป็นเวลา 2 เดือนติดต่อกัน เขากล่าวว่า “นั่นจะเป็นการผลักกำลังซื้อของผู้บริโภคให้ลดลงประมาณ 2 จุด จาก 2.5 จุด ซึ่งได้ลดลงไปแล้วตั้งแต่ต้นปี 2564 คุณจะไม่ต้องตกใจมากขนาดนั้นหากไม่มีภาวะถดถอยมาซ้ำเติม”
ลินด์ซีย์ ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้ว่าการตั้งแต่ปี 2534 ถึง 2540 เป็นผู้บริหารของ The Lindsey Group ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ปรึกษาทางการเงินที่ตั้งอยู่ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เขาเป็นที่รู้จักกันดีว่าถูกปฏิเสธไม่ให้มีบัตรเครดิตธนาคารในขณะที่เขาดำรงตำแหน่งเป็นคณะกรรมการของเฟด
กระทรวงแรงงานสหรัฐฯคาดการณ์ว่ารายได้ที่ปรับแล้วสำหรับอัตราเงินเฟ้อลดลง 2.6% ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาสิ้นสุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2565
นอกจากนี้ในวันอังคารที่ผ่านมาธนาคารดอยซ์แบงก์กลายเป็นธนาคารรายใหญ่แห่งแรกในวอลล์สตรีทที่คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะถดถอย แม้ว่าจะอยู่ในระดับ “ปานกลาง” เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นและอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น
นักเศรษฐศาสตร์ของบริษัทคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะได้รับผลกระทบจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐเข้มงวดขึ้น ในขณะเดียวกันก็คาดการณ์ว่า “การเติบโตติดลบสองไตรมาสและอัตราการว่างงานของสหรัฐฯจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 1.5% ”
มาร์ค แซนดี(Mark Zandi) หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของมูดีส์อนาไลติกส์ (Moody’s Analytics) กล่าวว่า ตราบใดที่รัสเซียยังคงบุกโจมตียูเครน ยังคงทำให้ตลาดผันผวนอย่างรุนแรงมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ “ภาวะถดถอยและภาวะเศรษฐกิจถดถอยจะเป็นภัยคุกคามร้ายแรง”ที่จะเกิดขึ้นในสหรัฐ และยุโรป
นักวิเคราะห์ของโกลแมนแซคส์ (Goldman Sachs) ได้เตือนในทำนองเดียวกันในหมายเหตุเมื่อไม่นานนี้ว่าช่วงเวลาของภาวะซบเซาที่เกิดขึ้นในปี 1970 เป็น “ตัวอย่างที่ชัดเจน” ที่สุดของสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่นักลงทุนกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน
ผู้เชี่ยวชาญบางคนพาดพิงถึงเรื่องนี้มากขึ้นไปอีกเช่น นักเศรษฐศาสตร์ วิลเลียม ดัดลีย์ อดีตประธานธนาคารกลางสหรัฐแห่งนิวยอร์ก ให้สัมภาษณ์เมื่อสัปดาห์ ที่แล้ว กล่าวถึงภาวะถดถอยว่า “หลีกเลี่ยงไม่ได้จริงๆ” เนื่องจากธนาคารกลางปล่อยมาไกลเกินไป “อยู่เบื้องหลังการควบคุมเงินเฟ้อ” และประธานเฟด เจอโรม พาวเวลล์ ยังคงมองโลกในแง่ดีเกินไปเกี่ยวกับการเชื่อว่าจะเอาอยู่ แต่ข้อเท็จจริงนั้นตรงกันข้าม อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นต่อเนื่องทำให้ครัวเรือนในสหรัฐฯ โดยเฉลี่ยต้องเสียเงินเพิ่มอีก 296 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน ตามรายงานของ Moody’s Analytics เมื่อเดือนที่แล้ว