แกะรอย! ซาอุฯเทดอลล่าร์ใช้หยวน พิษปาก “ไบเดน” บูลลี่ “เจ้าชายฯ” บุคคลที่น่ารังเกียจ?

1881

แกะรอย! ซาอุฯเทดอลล่าร์ใช้หยวน พิษปาก “ไบเดน” บูลลี่ “เจ้าชายฯ” บุคคลที่น่ารังเกียจ?

จากกรณีที่ดร.ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์ นักวิชาการทางบูรพคดีศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานการณ์เงินดอลลาร์ของสหรัฐฯ โดยบอกว่า ประชาชนอเมริกันไม่เห็นด้วยกับการจัดการแก้ปัญหาเงินเฟ้อในอเมริกาสูงถึง ๗๐% มีคนเห็นด้วยแค่ ๒๘ % เท่านั้น ไบเดนโจมตีรัสเซียว่าเป็นที่มาของเงินเฟ้อ ทั้งๆ ที่เป็นความผิดพลาดของเฟดเอง ตอนนี้ สถานะการเงินดอลล่าร์ของอเมริกาน่าจะอยู่ในช่วงเป็น superinflation ซึ่งกำลังด่ำดิ่งไปสู่ภาวะ recession ก่อนที่จะเป็น hyperinflation ครับ

พร้อมกับบอกว่า เมื่อรัสเซียใกล้จะชนะในสงครามที่ยูเครน จีนก็เข้าไปตาม: หน่วยงานพัฒนาระหว่างประเทศของจีน (China International Development Cooperation Agency=CIDCA) กำลังเตรียมความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมไปให้ประชาชนยูเครนไล่หลังกองทัพรัสเซียที่เข้าไปปฏิบัติภารกิจในยูเครน

มองเห็นภาพรวมรัฐบาลยูเครนในอนาคตชัดมั้ยครับ? ๑.ความเป็นกลางของรัฐบาลยูเครนคือไม่เป็นเครื่องมือของอเมริกาทำลายรัสเซีย หรือไม่พิษเป็นภัยต่อรัสเซียและจีน ๒.จีนจะเข้าไปพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้ยูเครนเพิ่มเติม เพื่อปูทางพัฒนาเศรษฐกิจตามโครงการเส้นทางสายใหมของจีนร่วมกันต่อ
รัสเซียชนะ+จีนชนะ+ประชาชนยูเครนชนะ ส่วนรัฐบาลอเมริกากำลังพ่ายแพ้ในยูเครนเหมือนๆ ที่เคยพ่ายแพ้ในคาซัคสถานมาก่อนหน้านี้นั่นแหละครับ
ในขณะที่ ซาอุดีอาระเบีย ผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลก กำลังจะดึงสกุลเงินหยวนของจีนเข้าสู่ตลาดน้ำมันโลก ด้วยการกำหนดราคาน้ำมันบางส่วนที่ขายให้จีน ที่ได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่ใช้น้ำมันมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก เป็น “สกุลเงินหยวน”
นักวิเคราะห์ชี้ว่า ซาอุดีอาระเบียกำลังเร่งเครื่องเจรจากับจีน และถ้าซาอุดีอาระเบียขายน้ำมันให้จีนเป็นเงินหยวน ก็จะถือเป็นการ “ลดทอน” อิทธิพลของสกุลเงินดอลลาร์ของสหรัฐฯ ที่มีต่อตลาดน้ำมันโลก และแสดงถึงการ “หันหน้าเข้าหาเอเชีย” ของซาอุดีอาระเบียด้วย
การเจรจาเพื่อกำหนดราคาน้ำมันเป็นเงินสกุลหยวนในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา ไม่ค่อยจะราบรื่นนัก แต่กลับมีความคืบหน้าที่รวดเร็วในปีนี้ จากการที่ซาอุดีอาระเบียไม่พอใจสหรัฐฯ มากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งเรื่องไม่สนับสนุนที่ซาอุดีอาระเบียเข้าไปแทรกแซงสงครามในเยเมน และสหรัฐฯ ยังจะไปพยายามรื้อฟื้นข้อตกลงนิวเคลียร์กับอิหร่าน โดยเมินเสียงเรียกร้องของซาอุดีอาระเบียที่ต้องการมีนิวเคลียร์ของตัวเอง รวมไปถึงการถอนทหารแบบสายฟ้าแลบออกออกจากอัฟกานิสถาน
จีน ซื้อน้ำมันมากกว่า 25% ของจำนวนที่ซาอุดีอาระเบียส่งออกทั้งหมด ซึ่งถ้ากำหนดราคาเป็นหยวนก็จะช่วยเพิ่มสถานะสกุลเงินของจีน และเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกโฉมของซาอุดีอาระเบีย ที่จะกำหนดราคาการส่งออกน้ำมันดิบบางส่วน ประมาณ 6.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในรูปแบบอื่นที่ไม่ใช่สกุลเงินดอลลาร์ ขณะที่การขายน้ำมันส่วนใหญ่ราว 80% ดำเนินการในรูปของสกุลเงินดอลลาร์ ซึ่งซาอุดีอาระเบียดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2517 ภายใต้ข้อตกลงสมัยอดีตประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน ที่สหรัฐฯ ให้การรับประกันว่าจะปกป้องราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย

 

 

จีน ต้องการให้เงินหยวนเป็นสกุลเงินที่สามารถทำการซื้อขายได้ทั่วโลก ไม่ต้องได้รับผลกระทบจากการครอบงำตลาดน้ำมันของดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนความสัมพันธ์จีนกับซาอุดีอาระเบียเริ่มกระชับมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีมานี้ จากการที่จีนช่วยซาอุดีอาระเบียสร้างขีปนาวุธของตัวเอง ให้คำปรึกษาเรื่องโครงการนิวเคลียร์ และเริ่มเข้าไปในลงทุนในอภิมหาโครงการของมกุฎราชกุมารโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน เช่น เมืองอัจริยะ “Neom” และการเยือนซาอุดีอาระเบียของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง เมื่อปี 2559

ต่อมาทางด้าน ผู้จัดการออนไลน์ ได้เผยแพร่บทความ ในหัวข้อ อวสาน…เงินดอลลาร์!!! โดยมีเนื้อหาบางส่วนที่น่าสนใจว่า  อดีตเอกอัครราชทูตอเมริกันประจำซาอุฯ “นายชาร์ลส์ ดับเบิลยู ฟรีแมน” (Charles W. Freeman) และอดีตประธานสภานโยบายด้านตะวันออกกลาง (Middle East Policy Council) เคยเตือนๆ เอาไว้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 โน่นเลย ด้วยถ้อยคำที่ว่า…

“สิ่งสำคัญที่ประเทศซาอุฯ ได้สร้างเอาไว้อย่างชนิดต้องจดจำจารึกเป็นประวัติศาสตร์ นั่นคือการยืนหยัดที่จะขายน้ำมันของพวกเขาด้วยเงินยูเอสดอลลาร์ เพราะฉะนั้น…รัฐบาลของเรา จึงยังคงสามารถพิมพ์เงินออกมาซื้อน้ำมันได้เรื่อยๆ โดยอาศัยความได้เปรียบที่ประเทศอื่นไม่มีเหมือนเรา แต่ด้วยการปรากฏตัวขึ้นมาของเงินตราสกุลต่างๆ และด้วยสัมพันธภาพอันตึงเครียดระหว่างเรากับประเทศนี้ซึ่งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ผมกังวลว่า…ในอีกไม่นาน-ไม่ช้า พวกเขาอาจไม่คิดที่จะทำสิ่งเหล่านี้อีกต่อไป โดยเฉพาะเมื่อชาวซาอุฯจำนวนไม่น้อยต่างร้องถามขึ้นมาว่า ทำไม??? เราถึงต้องใจดีกับคนอเมริกันถึงขนาดนั้น…”

ยิ่งเมื่อผู้นำอเมริกันคนปัจจุบัน อย่าง “โจ ซึมเซา” ถึงกับเคยเรียกขานมกุฎราชกุมารซาอุฯ เจ้าชาย “โมฮัมหมัด บิน ซัลมาน” หรือเจ้าชาย “MbS” ว่าเป็น “บุคคลที่น่ารังเกียจ” หรือ “pariah” เอาเลยถึงขั้นนั้นในช่วงระหว่างหาเสียงเลือกตั้ง แถมยังตัดสินใจถอนระบบป้องกันภัยทางอากาศออกจากซาอุฯ

อย่างไรก็ตาม สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานจากเมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เมื่อวันที่ 3 มี.ค. ว่า นับตั้งแต่ประธานาธิบดีโจ ไบเดน เข้ารับตำแหน่งผู้นำคนใหม่ของสหรัฐอเมริกา ในเดือน ม.ค. 2563 ความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ยาวนาน ระหว่างซาอุดีอาระเบีย ประเทศผู้ส่งออกน้ำมันอันดับ 1 ของโลก กับสหรัฐ ตกอยู่ภายใต้ความตึงเครียด

โดยทางด้าน เจ้าชายโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน มกุฎราชกุมารแห่งราชวงศ์ซาอุดีอาระเบีย ได้กล่าวให้สัมภาษณ์นิตยสารรายเดือน ดิ แอตแลนติก เล่มล่าสุด เผยแพร่เมื่อวันพฤหัสบดี (3 มี.ค.) ว่า ริยาดอาจจะลดการลงทุนในสหรัฐ นอกจากนั้นพระองค์ไม่สนใจ หากไบเดนเข้าใจพระองค์ผิด และไบเดนควรคิดถึงผลประโยชน์ของอเมริกาให้มาก “เราไม่มีสิทธิจะไม่สั่งสอนคุณในอเมริกา และคุณก็ไม่มีสิทธิสอนเรา ในประเทศของเราเช่นเดียวกัน”