เจาะลึกศาลยกคำร้อง “รวิสรา” ผู้ต้องหา 112 ขอไปเรียนต่อเมืองนอก เตรียมแผนส่อหนีคดี ตามรอยฟอร์ด?

1413

สืบเนื่องจากกรณีที่นายกฤษฎางค์ นุตจรัส ทนายความประจำศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ออกมาเปิดเผยว่า ศาลอาญากรุงเทพใต้มีคำสั่งยกคำร้องที่น.ส.รวิสรา เอกสกุล หรือ เดียร์ จำเลยที่ 11 ในคดีที่พนักงานอัยการฟ้อง ร่วมกันทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใด เพื่อให้เกิดความปั่นป่วน กระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ถึงขนาดจะก่อให้เกิดความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร เพื่อทำให้ประชาชนละเมิดกฎหมายแผ่นดิน และคดีหมิ่นเบื้องสูงฯ จากกรณีอ่านแถลงการณ์ภาษาเยอรมันในการชุมนุมหน้าสถานทูตเยอรมนี เมื่อวันที่ 26 ต.ค.2563 ที่ผ่านมา

 


โดยศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ตามคำร้องเห็นได้ว่าจำเลยที่ 11 ยังไม่ผ่านการคัดเลือกว่าจะได้รับทุนหรือไม่ ทั้งเงื่อนไขที่จำเลยที่ 11 เสนอมาว่าหากได้รับอนุญาต จำเลยที่ 11 ยินดีจะไปรายงานตัวและแสดงที่อยู่ต่อสถานทูตหรือสถานกงสุลไทยที่ประเทศเยอรมนีทุก ๆ 30 วัน โดยขอให้อาจารย์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งเป็นนายประกันของจำเลยที่ 11 และบิดาของจำเลยที่ 11 เป็นผู้กำกับดูแลตามเงื่อนไข แต่บุคคลทั้งสองอยู่ในประเทศไทย ส่วนจำเลยที่ 11 อยู่ต่างประเทศ จึงเป็นการยากที่จะกำกับดูแลให้จำเลยที่ 11 ปฏิบัติตามเงื่อนไขได้ จึงไม่เป็นการหนักแน่นเพียงพอที่จะแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 11 จะปฏิบัติตามเงื่อนไขโดยเคร่งครัดจนกลับมาเข้าสู่กระบวนการพิจารณาคดีของศาลได้ตามกำหนด ซึ่งเงื่อนไขการประกันตัวห้ามว่าจำเลยที่ 11 เดินทางออกนอกราชอาณาจักรนั้นเป็นข้อสำคัญในการอนุญาต เพราะเกรงว่าจำเลยที่ 11 จะหลบหนี กรณีจึงยังไม่มีเหตุให้อนุญาตให้จำเลยที่ 11 เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ให้ยกคำร้อง

สำหรับ น.ส.รวิสรา จบคณะอักษรศาสตร์จุฬา ได้รับทุนไปศึกษาต่อปริญญาโทที่ประเทศเยอรมันฯ เเละในช่วงเดือนเมษายน-ตุลาคม จะต้องเดินทางทดสอบความพร้อมก่อน เเละถ้าทดสอบผ่านจะได้เรียนถึงปี 2567 ในส่วนคดีอาญาศาลนัดพิจารณาคดีช่วงเดือน มีนาคม 2566 ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาคล่อมเกี่ยวกัน นับเป็นเรื่องน่าเสียดายเเละน.ส.รวิสรา เสียใจมากที่ศาลกลับไม่อนุญาตให้ไป เนื่องจากตนเห็นว่าการได้ทุนดังกล่าว น.ส.รวิสราหวังว่าจะเอาความรู้ความสามารถภาษาเยอรมันพัฒนาประเทศไทย การที่น.ส.รวิสราได้ไปเรียนมีผลกับความสัมพันธ์ ซึ่งเมื่อยื่นคำร้องไปครั้งเเรกศาลก็ไม่อนุญาตในครั้งนี้ก็เลยขอยื่นเพื่อไปเรียนไปทดสอบก่อน โดยในคำร้องยืนยันว่า เดือนมีนาคมปี 2566 จะกลับมาเพื่อรับการพิจารณาคดี โดยถ้าศาลไม่ไว้ใจก็ให้รายงานตัวตัวที่สถานทูตไทยในเยอรมนีเป็นระยะ ๆ โดยมีอาจารย์ที่จุฬาฯที่เป็นนายประกันให้

นอกจากนี้มีรายงานว่าเมื่อวันที่ 18 ก.พ.ที่ผ่านมาทาง เกออร์ก ชมิดท์ เอกอัครราชทูตเยอรมณีได้ส่งหนังสือถึงน.ส.รวิสรา ความว่า ข้าพเจ้ารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสแสดงความยินดีกับคุณเนื่องในวาระที่คุณได้รับมอบทุนการศึกษาจากศูนย์บริการการ แลกเปลี่ยนทางวิชาการเยอรมัน (DAAD) ในโปรแกรมเฮลมูท-ชมิดท์สำหรับการศึกษามหาบัณฑิตในหลักสูตรปริญญาโท “มหาบัณฑิตด้านการจัดการในองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร” ณ มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ประยุกต์ออสนาบรีค ณ สหพันธรัฐ เยอรมนี รวมถึงหลักสูตรภาษาเพื่อการเตรียมตัว ณ กรุงเบอร์ลิน ตั้งแต่วันที่ 4 เม.ย.65- 31 ส.ค.67

อย่างไรก็ตามการหนีไปต่างประเทศ ในกลุ่มแกนนำ เคยเกิดขึ้นกับกรณีของ ฟอร์ด ทัตเทพ ที่ไม่มารายงานตัวต่อศาล และไม่ปรากฎว่ามีใครติดต่อได้ จนบรรดามวลชนต่างลงความเห็นกันว่า “ฟอร์ด” นายทัตเทพ เรืองประไพกิจเสรี บัณฑิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แกนนำเยาวชนปลดแอก หายไปพร้อมกับคำครหาเงินบริจาคในม็อบเช่นกัน ว่าหอบเอาเงินไปมากถึง 15 ล้าน แม้จะมีการเคลื่อนไหวในกลุ่มเยาวชนปลดแอกต่อเนื่อง แต่ไม่รู้ใครรู้ว่า ฟอร์ดหายไปไหน หนีออกนอกประเทศไปตอนไหน เพราะหากยังอยู่คิดว่าจะไม่รอดพ้นการทำงานของเจ้าหน้าที่แน่นอน แม้จะมีการเผยเบาะแสแหล่งกบดานอยู่บ้าง แต่ต้นทางประเทศนั้น อาจจะไม่ได้มีการส่งผู้ต้องหาข้ามแดน ทำให้ฟอร์ดลอยลำ ไม่ต้องทำโทษคดี 112 ดังนั้นในกรณีของรวิสรา เอกสกุล หรือเดียร์ ที่อ้างว่าจะไปเรียนต่อต่างประเทศนั้น ไม่น่ามีหลักฐานเพียงพอให้ศาลเชื่อได้ว่า ได้รับทุนดังกล่าวแล้ว และมีความจำเป็นต้องเดินทางไป เพราะระหว่างที่อยู่ต่างประเทศ มีความเป็นไปได้สูงมาก ที่จะทำเรื่องลี้ภัย ขอย้ายไปประเทศอื่น ๆ จึงไม่น่าแปลกใจมากนักที่จะไม่ได้รับเงื่อนไขข้อนี้ ในขณะที่ตนเองยังมีคดี 112 ติดตัว ทำให้กลุ่ม 3 นิ้ว ออกอาการไม่พอใจอย่างมาก ที่ศาลยกคำร้อง แม้จะมีบางกลุ่มมองว่า สุดท้ายแล้วผู้ต้องหารายนี้ อาจจะเดินตามรอยฟอร์ด ทัตเทพก็เป็นไปได้สูงมากเช่นกัน