รัสเซียเย้ย!?ยุโรปเสียท่า คว่ำบาตรตามเกมสหรัฐทำร้ายตัวเอง มอสโกว์ค้าขายเอเชียได้ไม่ง้อ

1427

สหภาพยุโรปประกาศคว่ำบาตรปธน.ปูตินและรัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย จากกรณีปฏิบัติการทางทหารในยูเครน ด้านสหรัฐเอาด้วย ขณะที่รัฐบาลมอสโกบอกว่า ยิ่งตอกย้ำ “ความอ่อนแอไม่เป็นตัวของตัวเอง” ด้านนโยบายต่างประเทศของตะวันตก

สหรัฐต้องการทำลายความสัมพันธ์ุยุโรปกับรัสเซียเพื่อให้เงินไหลกลับสู่กระเป๋าอเมริกา และถล่มคู่แข่งรัสเซีย ซึ่งคนที่เจ็บที่สุดคือยุโรปเอง ด้านรัสเซียโดนคว่ำบาตรจนชิน แม้จะสูญเสียแหล่งรายได้ แต่พันธมิตรเอเชียพร้อมต้อนรับสินค้าราคามิตรภาพของรัสเซียอยู่แล้ว จากนี้ไปสหรัฐและยุโรปจะได้เรียนรู้ความจริงว่า โลกเปลี่ยนแปลงไปแล้ว และกระแสลมตะวันออกนั้นพัดแรงเพียงใด

วันที่ 26 ก.พ.2565 สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานจากกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียมว่า  ที่ประชุมผู้นำ 27 ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป (อียู) มีมติเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา คว่ำบาตรปธน.วลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย และนายเซอร์เก ลาฟรอฟ รมว.การต่างประเทศรัสเซีย จากกรณีปฏิบัติการทางทหารในยูเครน ต่อยอดจากการเดินหน้าคว่ำบาตรกลุ่มคนร่ำรวย และสถาบันการเงินหลายแห่งในรัสเซีย ซึ่งส่งผลกระทบต่อ 70% ของระบบการเงินในรัสเซีย

ขณะที่นายโฮเซป บอร์เรลล์ หัวหน้าฝ่ายนโยบายต่างประเทศของอียู กล่าวว่า ปูตินเป็นเพียงผู้นำคนที่สองของโลกเท่านั้น ซึ่งต้องมีชื่ออยู่ในบัญชีคว่ำบาตรของอียู ต่อจากประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด ผู้นำซีเรีย

ด้านสหราชอาณาจักร และแคนาดา ประกาศมาตรการคว่ำบาตรผู้นำรัสเซียและ รมว.การต่างประเทศ แบบเดียวกับอียู ส่วนนางเจน ซากี โฆษกหญิงทำเนียบขาว กล่าวว่า รัฐบาลวอชิงตันเตรียมใช้มาตรการแบบเดียวกับฝั่งยุโรป ต่อปูตินและลาฟรอฟเช่นกัน ซึ่งจะเป็นการยกระดับการส่งสัญญาณ ของสหรัฐและโลกตะวันตก ที่มีต่อท่าทีของรัสเซียต่อสถานการณ์ในยูเครน

ปัจจุบัน สหรัฐใช้มาตรการคว่ำบาตรต่อผู้นำต่างประเทศเพียงสองคน คือ อัสซาด และประธานาธิบดีนิโคลาส มาดูโร ผู้นำเวเนซุเอลา

ด้านกระทรวงการต่างประเทศของรัสเซียออกแถลงการณ์ว่า มาตรการคว่ำบาตรของตะวันตกที่มีต่อปูตินและลาฟรอฟ ยิ่งตอกย้ำ “การดำเนินนโยบายต่างประเทศด้วยความอ่อนแอและไม่เป็นตัวของตัวเอง”

ในวันเดียวกันนั้น สำนักข่าวทาซซ์และรัสเซียทูเดย์รายงานว่า กระทรวงเศรษฐกิจของรัสเซียกำลังดำเนินมาตรการลดผลกระทบจากการคว่ำบาตรของชาติตะวันตก และจะยกระดับความสัมพันธ์ทางการค้าและเศรษฐกิจกับประเทศในเอเชีย 

โฆษกกระทรวงการต่างประเทศรัสเซีย มาเรีย ซาคาโรวา กล่าวเมื่อวันศุกร์ว่าผู้นำทั้งสองไม่มีทรัพย์สินใด ๆ นอกรัสเซีย ไม่มีเงินฝากในสหรัฐและยุโรป ดังนั้นการที่สหภาพยุโรปและประเทศพันธมิตรอื่น ๆ ได้ลงโทษโดยดำเนินการคว่ำบาตรเพื่อตั้งเป้าเป็นการส่วนตัวกับปูตินและลาฟรอฟไม่มีผลอะไรเลย ช่างเป็นเรื่องตลกเศร้าของสหรัฐฯและพันธมิตรเสียจริง และเน้นว่า “คำตัดสินคว่ำบาตร” ใดๆ ที่กระทำโดยเลี่ยงผ่านคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ถือเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจากจุดยืนทางกฎหมายระหว่างประเทศ ทั้งนี้เราจะตอบสนองต่อขั้นตอนที่ไม่เป็นมิตรในนามของสหภาพยุโรปอย่างแน่นอน

อเล็กซ์ เครนเนอร์(Alex Krainer) ผู้ก่อตั้งเครเนอร์อะนาไลติกส์ (Krainer Analytics) และผู้สร้างไอซิสเต็ม เทรนด์ฟอลโลวิ่ง( I-System Trend Following) กล่าวว่า “ผลกระทบของการคว่ำบาตรเหล่านี้ ทำให้เกิดผลเสียอย่างมากต่อราคาพลังงาน รวมถึงราคาอาหารด้วย และจะทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในยุโรป ซึ่งอยู่ในภาวะวิกฤตอยู่แล้ว”  “มันจะทำให้แรงกดดันด้านเงินเฟ้อรุนแรงขึ้นทั่วทั้งเศรษฐกิจตะวันตก พวกเขาจะทำร้ายไม่เพียง แต่รัสเซีย พวกเขายังจะทำร้ายคนทำงานในยุโรปตะวันตกและสหรัฐอเมริกาและโดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจขนาดเล็กและธุรกิจขนาดกลางซึ่งเป็นกลไกสำคัญทางเศรษฐกิจของตะวันตกเอง”

การตัดสินใจของเยอรมนีในการหยุดให้บริการ Nord Stream 2 เมื่อต้นสัปดาห์นี้ก็เป็นปัญหาใหญ่สำหรับยุโรปเช่นกัน เนื่องจากปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติของยุโรปอยู่ที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ อ้างจากผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐกิจ ก๊าซรัสเซียมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความร้อนของครัวเรือนในยุโรปและอุตสาหกรรมในยุโรปอย่างแน่นอน

 

เครนเนอร์กล่าวว่า “ก๊าซธรรมชาติเป็นหนึ่งในส่วนผสมที่สำคัญที่สุดในการผลิตปุ๋ยเทียมดังนั้นสิ่งนี้จะส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่กาผลิตอาหารอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้”

ในขณะที่การจัดหาพลังงานของรัสเซียมีสัดส่วนมากกว่า 40% ของความต้องการก๊าซของสหภาพยุโรปและ 27% ของน้ำมันดิบโดยเฉลี่ยแล้วการนำเข้าของสหรัฐฯ จากรัสเซียมากกว่า 100,000 บาร์เรลต่อวัน เมื่อสหรัฐฯไม่ซื้อ ก็่ต้องหาแหล่งพลังงานจากประเทศอื่นแทน แน่นอนก็จะรู้สึกถึงผลกนะทบได้ในไม่ช้า” เขาเตือนว่าราคาน้ำมันดิบตอนนี้ได้เพิ่มสูงขึ้นกว่า 105 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลแล้ว

ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจกล่าวว่าการคว่ำบาตรอาจก่อให้เกิดผลกระทบร้ายแรงเป็นโดมิโน เนื่องจากราคาก๊าซและน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นมีแนวโน้มที่จะเร่งอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น ซ้ำเติมจากการระบาดของโควิด-19 และห่วงโซ่อุปทานที่หยุดชะงัก ไครเนอร์ย้ำว่า “ฉันคิดว่าอัตราเงินเฟ้อจะระเบิดในยุโรป แต่ยังรวมถึงในสหรัฐอเมริกาด้วย”