ทักษิณ หักหน้าเพื่อไทยอีก! เชื่อไม่มีรัฐประหาร ทำชลน่าน แหกยับ ซ้ำรอยชัยเกษม!

1360

จากกรณีที่นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและนักโทษหนีคดี หรือ โทนี วู้ดซัม กล่าวในรายการ CARE คิด เคลื่อน ไทย X ClubHouse หัวข้อการเมืองไทยวิปโยค การเมืองโลกวิปริต โดยช่วงหนึ่งของรายการนายทักษิณ กล่าวว่า

การจะอยู่ได้ของรัฐบาลคงอยู่ได้ไม่นาน และอยู่ลำบาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้าใจว่ามีความตั้งใจดี แต่โลกเปลี่ยนเร็วมาก พล.อ.ประยุทธ์ อาจตามไม่ทัน วิธีคิดเดิม ก็ไม่ได้มีการแก้ปัญหาและพื้นฐาน พล.อ.ประยุทธ์ ไม่ได้มาจากประชาชนอย่างแท้จริง จึงไม่มีใจรักที่จะแก้ปัญหาอย่างจริงใจ ถ้าพล.อ.ประยุทธ์ ยังคิดแบบเก่า ๆ ทำรัฐประหารมาแล้วตั้งเป็นพรรคทหาร คือพรรคเฉพาะกิจ ที่เอานักเลือกตั้งมารวมกันเป็นพรรคทหาร ไม่มีอุดมการณ์ มีแต่ความสามารถในการยิง ยิงแม่นลูกกระสุนเยอะมาประกอบกำลังกัน เป็นพรรคทหาร เอาคนที่ยิงเก่ง ซึ่งขณะนี้ก็ใช่

นาย ทักษิณ กล่าวว่า เมื่อมีการเลือกตั้งคราวหน้าพรรคพลังประชารัฐ จะแตกออกไป อย่างตอนนี้ที่ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ที่ได้ออกจากพรรคพลังประชารัฐออกไปก็เป็นส่วนหนึ่ง แต่เชื่อว่าคนที่อยู่ในพลังประชารัฐเมื่อเสร็จรวมการเฉพาะกิจก็ จะมีการแยกออกไป แต่ถ้าจะไปตั้งพรรคใหม่ก็อาจจะไม่เอื้ออำนวย เพราะกติกาบัตร 2 ใบ ที่เกิดขึ้น จะทำให้การเมืองเข้มแข็ง มีอุดมการณ์ รับปากสัญญาอะไรกับประชาชนแล้วก็ต้องทำ ต้องยืนอยู่นาน หน้าหนายังไงก็หนาไม่พอ อยู่ไม่ได้

“ วันนี้จึงเป็นห่วงว่า พล.อ.ประยุทธ์ เจอด่านแรกนายกฯ 8 ปี ตามรัฐธรรมนูญจะเป็นอย่างไร เมื่อครบแล้วจะเป็นอย่างไร จะชูใครมาเป็นนายกฯ หรือจะชู พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ท่านยังเดินไหวอยู่รึปเล่า ฉะนั้นท่านต้องฟิตหน่อยแล้วพลังประชารัฐจะชูใคร และความขัดแย้งอย่าบอกว่าไม่มีเพราะ รัฐบาลไม่น่าจะอยู่ได้นาน จากสถานการณ์พลังประชารัฐตอนนี้ ประชาชนก็เห็น ๆ กันอยู่” นายทักษิณ กล่าว

นายทักษิณ กล่าวว่า เลือกตั้งซ่อมเขต 9 กทม. นายสุรชาติ เทียนทอง ชนะเพราะประชาชนเขาเห็นจริง ๆ วันนี้ต้องยอมรับการบริหาร การวางกลยุทธ์ล้มเหลวผิดหมด วันนี้ คำตอบของการเลือกตั้ง หลักสี่ เป็นคำตอบค่อนข้างชัด อันดับหนึ่ง 35 เปอร์เซ็น เป็นของเพื่อไทย อันดับ 24 ก้าวไกล อันดับ 3 เป็นฝ่าย 23 เปอร์เซ็นต์ พปชร.ได้มา 10 เปอร์ซนต์ ทั้งที่ผิดบอกได้ 3.5 หมื่น ไม่รู้เกิดอะไรขึ้นยิงไม่เข้าเป้า หรือยังไง ต้องยอมรับว่าตอนนี้รัฐบาลอ่อนแอ ฝ่ายสนับสนุนอ่อนกำลังมาก ถ้าเป็นอย่างนี้ไม่มีใครมั่นใจรัฐบาลลงทุนโครงการขนาดใหญ่ ฉะนั้นถ้ารักบ้านเมืองจริงยุบสภา ให้ประชาชนตัดสินใจดีกว่า นั่นจึงจะเป็นการแสดงสปิริตในการรักบ้านเมืองกว่า

จากนั้นผู้ฟังทางบ้านได้ถามถึงกรณี ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ส.ส.พะเยา โพสต์เฟซบุ๊กถึงผลเลือกตั้งซ่อม ส.ส.กทม. เขต 9 (หลักสี่-จตุจักร)พร้อมย้ำว่า “the enemy of my enemy is my friend ” ศัตรูใช่ พล.อ.ประยุทธ์หรือไม่ แล้วเพื่อนของ ร.อ.ธรรมนัส เป็นใคร นายทักษิณ ตอบว่า เป็นคำถามที่ดี แต่ต้องถาม ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ส.ส.พะเยา ตนไม่รู้ใครเป็นศัตรู ซึ่งพล.อ.ประยุทธ์เป็นรุ่นน้องเตรียมทหาร ตอนที่ตนเป็นนายกฯ ตนเป็นคนรับสนองให้ พล.อ.ประยุทธ์เป็นนายพล ไม่มีทางเป็นศัตรู แต่การเมืองแน่นอน มีการแข่งขัน มีการลูบคมกัน แต่ไม่ใช่ศัตรู
“ผมก็ไม่ใช่ศัตรูของ พล.อ.ประยุทธ์ และ ไม่ใช่ศัตรู ร.อ.ธรรมนัส เพราะ ร.อ.ธรรมนัส เป็นรุ่นน้องเยอะเลย เคยอยู่พรรคเพื่อไทย เป็นคนเหนือด้วยรู้จักกันดี” นายทักษิณ กล่าว

จากนั้น นายทักษิณ ถามว่า พล.อ.ประวิตร และ ร.อ.ธรรมนัสเป็นศัตรู หรือไม่ โดย รศ.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกว่า ร.อ.ธรรมนัสทำงานภายใต้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ และเคยบอกว่า ตัวเองออกมาแล้วก็ยังห่วงภายในพรรคพลังประชารัฐอยู่ ตนจึงคิดว่าความสัมพันธ์หรือจงรักภักดีต่อ พล.อ.ประวิตร ยังชัดเจน แม้ไม่ได้ถูกขับออก แต่ขอให้ขับออก ขณะที่นายทักษิณ ตอบอย่างรวดเร็ว ว่า ตนเห็นแล้วยังตกใจ การเมืองก็คือการเมือง ร.อ.ธรรมนัสต้องทำสวนกล้วยเอง แล้วคนในพรรคพลังประชารัฐก็ต้องทำสวนกล้วย

“เรื่องปฏิวัติไม่น่าจะมี แต่ผมไม่คิดว่า นายกฯ ประยุทธ์ จะได้อยู่นานขนาดนั้น เพียงแต่ว่ากลางปีมีเลือกตั้ง แต่จะเลือกตั้งแบบไหน ผมเคยพูดสนิมเกิดเนื้อในตน การเลือกตั้ง” นายทักษิณ กล่าว

ย้อนไปก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 26 มกราคม ที่รัฐสภา นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์กรณีที่ 21 ส.ส. พรรคพลังประชารัฐ ถูกขับออกจากพรรคจะมีปัญหาต่อการทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติหรือไม่ว่า เป็นข้อเท็จจริง เพราะระบบรัฐสภาของเราเป็นระบบเสียงข้างมาก การเปลี่ยนแปลงตรงนี้ทำให้สัดส่วนของเสียงข้างมากแปรปรวน ส.ส.ทั้ง 21 คน กลายเป็นตัวแปรมีผลต่อองค์ประชุม ขณะนี้ ส.ส.ในสภามี จำนวน 474 คน องค์ประชุมกึ่งหนึ่งคือ 238 คน ซึ่ง ส.ส.ทั้ง 21 คน สามารถแปรไปด้านใดด้านหนึ่งได้

ซึ่งมีบางช่วงที่ผู้สื่อข่าวได้ถามว่า หากกฎหมายสำคัญไม่ผ่านสภา จะเรียกร้องให้รัฐบาลรับผิดชอบหรือไม่ นพ.ชลน่านกล่าวว่า ด้วยสามัญสำนึก ไม่ควรต้องมีการเรียกร้อง เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นข้อเท็จจริงและมีข้อกฎหมายมาเกี่ยวข้องด้วย แม้กฎหมายที่ไม่ผ่านจะไม่ใช่กฎหมายการเงิน ก็หมายความว่าคุณไม่มีความพร้อมที่จะทำหน้าที่ฝ่ายบริหาร ก็ควรจะต้องแสดงความรับผิดชอบต่อประชาชนใน 2 เรื่องคือ 1.นายกรัฐมนตรีลาออก 2.ยุบสภา ซึ่งฝ่ายค้านพร้อม ถ้านายกฯยุบสภาคืนอำนาจให้ประชาชนเพื่อตัดสินว่าควรมีเสียงข้างมากที่ดีกว่ามาทำหน้าที่บริหารประเทศ

แต่ไม่ควรใช้วิธีการที่ 3 คือการยึดอำนาจหรือรัฐประหาร เพราะมีกลิ่นออกมาว่าอาจจะออกแนวทางที่ 3 เราขอคัดค้านและเรียกร้องผู้มีอำนาจ อย่าได้คิดเอาวิธีการนี้ เราไม่มีอำนาจไปยับยั้งที่ไม่ให้ใช้วิธีการนี้ เพราะประเทศจะล่มจม จะทำบาปให้ประเทศ ประชาชนเจ็บช้ำมามาก

อย่างไรก็ตาม การที่นายทักษิณ ได้ออกมาคาดการณ์ว่า ไม่น่าจะมีรัฐประหาร ในขณะที่ทางด้านของหัวหน้าพรรคเพื่อไทย บอกว่า มีกลิ่นรัฐประหาร หลังจากที่ 21 ส.ส.ก๊วนธรรมนัส ถูกขับออกจากพรรคพลังประชารัฐ

เช่นเดียวกับประเด็นของการแก้ ม.112 ที่ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 1 พ.ย.2564 นายชัยเกษม นิติสิริ ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์และทิศทางการเมืองพรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์ถึงการออกจดหมายเปิดผนึกเรียกร้องให้มีการพิจารณาปล่อยนักโทษทางความคิดที่เห็นต่างทางการเมืองเพื่อฟื้นฟูความเชื่อมั่นในระบบยุติธรรมและปัญหาการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่อจำกัดความคิดเห็นประชาชนที่แตกต่างจากรัฐบาลว่า ประเด็นหลักของพรรค คือ การเรียกร้องให้มีการพิจารณาปล่อยนักโทษทางความคิด ซึ่งทุกคนควรมีเสรีภาพทางความคิดและควรได้รับการประกันตัวตามสิทธิอย่างเท่าเทียม พรรคเพื่อไทยในฐานะพรรคการเมืองที่มีเสียงสมาชิกมากที่สุดในสภาผู้แทนราษฎร มีจุดยืนที่ชัดเจนในการต้องการที่จะรับฟังความคิดเห็นของประชาชน อันเนื่องมาจากปัญหาการใช้กฎหมายของฝ่ายบริหารที่ลิดรอนสิทธิขั้นพื้นฐาน จนทำให้เกิดความขัดแย้ง แตกแยกในสังคมที่รุนแรงมากขึ้น โดยการนำข้อเรียกร้องของประชาชนเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของรัฐสภา

เมื่อถามว่า จากกรณีที่บางกลุ่มเสนอให้มีการยกเลิกกฎหมายอาญามาตรา 112 พรรคเพื่อไทย มีจุดยืนอย่างไร นายชัยเกษม กล่าวว่า กระบวนการพิจารณาแก้ไขกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐสภา จะเป็นการพิจารณาโดยตัวแทนประชาชนตามกระบวนการประชาธิปไตย จุดยืนของพรรคเพื่อไทยมีเจตนาเพื่อให้นักโทษทางความคิดได้รับการปล่อยตัว และไม่ให้เกิดนักโทษทางความคิดเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นของการฟื้นฟูความเชื่อมั่นในระบบยุติธรรมของประเทศไทย ส่วนการจะแก้ไขกฎหมายใดและมีเนื้อหารายละเอียดอย่างไรเป็นอำนาจของรัฐสภา

ซึ่งในวันต่อมา ทางด้านนายทักษิณ ก็ได้ออกมาโพสต์ข้อความถึงกรณีม.112 โดยระบุข้อความว่า

2-3 วันนี้ได้ฟังดราม่าเกี่ยวกับเรื่องมาตรา 112 จากทั้งฝ่ายเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยในการที่จะแก้ไขหรือยกเลิก ผมขอแสดงความคิดเห็นในฐานะที่เคยเป็นนายกรัฐมนตรีมา และผ่านการปรึกษาในเรื่องมาตรา 112 มาหลายครั้ง

ผมขอเล่าเป็นประสบการณ์ มาตรา112 มีมานานตั้งแต่สมัยจอมพลสฤษฎ์ น่าจะประมาณปี 2500 ตัวกฎหมายเองไม่เคยเป็นปัญหา แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ มันเกิดจากการปฎิบัติที่ไม่ถูกต้อง เพราะว่าบุคคลในกระบวนการยุติธรรมอาจจะเกิดจากความกลัวหรืออาจจะเกิดจากความอยากแสดงความจงรักภักดีโดยไม่ยึดหลักนิติธรรม แล้วเกิดการใช้อำนาจในทางที่ผิดหรือ Abuse of Power เพื่อหวังผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางรัฐบาล เพื่อหวังผลทางการเมือง เลยทำให้เกิดความไม่พอใจ และยิ่งใช้มากก็ยิ่งเกิดความไม่พอใจมาก ซึ่งในสมัยก่อนสนง.ตำรวจแห่งชาติ จะมีคณะกรรมการพิจารณาเรื่องที่ร้องเรียนขึ้นมาว่าเป็นเรื่องของการจงใจที่จะละเมิดมาตรา112 จริงหรือเปล่า และจำนวนคดีก็มีน้อย และทุกอย่างก็เป็นไปตามกระบวนการพิจารณาทางอาญา (Due Process of Law)

ฉะนั้นปัญหาก็น้อย แต่ช่วงนี้ปัญหาเยอะมาก ยิ่งใช้อีกฝ่ายหนึ่งก็มีความโกรธเคืองแล้วก็ไปโทษกันต่างๆ นาๆ ซึ่งผมเคยบอกแล้วว่า รัฐบาลน่าจะจับเข่าคุยกับกลุ่มเยาวชนที่เห็นต่างในทุกวันนี้ เราก็จะได้แนวทางที่อยู่ร่วมกันระหว่างคนในวัยที่ต่างกัน ถ้าจะเริ่มติดกระดุมใหม่ที่ติดผิดเม็ด ก็โดยการที่ปรับ

กระบวนการในการดำเนินคดีของ 112 เสียใหม่ ให้เหมือนในอดีตที่ทำอย่างเป็นระบบระเบียบ ไม่กลั่นแกล้ง ไม่หาเรื่อง แล้วก็ปล่อยผู้ถูกกล่าวหาให้ได้รับการประกันและใช้กระบวนการยุติธรรมทางอาญาและดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญาไป และพูดคุยกับเด็กๆ จะได้เข้าใจตรงกัน เราจะอยู่ร่วมกันต้องมีกติกา กติกาอะไรที่มันยอมรับกันได้ทุกฝ่ายเป็นเรื่องสำคัญ

เพราะฉะนั้นก่อนที่จะบอกว่ายกเลิกมาตรา112 เพราะอารมณ์โกรธ จากอารมณ์โกรธ หรือบางคนก็ต้องการจะยกเลิกโดยไม่มีเหตุผล หรือไม่ยกเลิกมาตรา112 ไม่เอาเด็ดขาด ซึ่งแน่นอนมันมี Yes and No แต่ขณะเดียวกันนั้น การพูดคุยกันน่าจะดีกว่า และการจัดระเบียบให้เป็นระเบียบเสียจะดีกว่า วันนี้บ้านเมืองเหมือนกับอยู่ในภาวะที่ไม่มีการจัดการ ไม่มีการบริหาร บ้านเมืองเปรียบเสมือนอยู่ในภาวะไม่มีการบริหารการจัดการ คงเลือกใช้แต่ Law and Order ซึ่งมันเป็นการขัดหลักที่จะให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างสามัคคีไม่แตกแยก

ดังนั้นสรุป ผมขอแนะนำว่าก่อนจะมาบอกว่าจะแก้มาตรา 112 หรือไม่ ขอให้ไปเริ่มย้อนคิดว่า เมื่อตัวกฎหมายไม่เคยมีปัญหา แต่คนที่เป็นปัญหาคือคนที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรมและคนที่นำประเด็นนี้มาสร้างความแตกแยกในสังคมต่างหาก ถ้ามีการจัดระเบียบให้ถูกต้องและมีการพูดคุยกับผู้เห็นต่างบ้าง ก็จะเป็นจุดเริ่มต้นทีดี และนำไปสู่การรักษากฎหมายที่เป็นธรรม และก็จะไม่มีใครเดือดร้อน แต่วันนี้ ขอย้ำอีกครั้งว่าประเทศขาดการบริหารการจัดการ เลือกที่จะใช้ Law and order เท่านั้น ขอให้ทั้ง 2 ฝ่ายหยุดดราม่า หายใจยาวๆ มาเริ่มต้นใหม่ตามที่ผมแนะนำเบื้องต้น เพื่อความรัก เพื่อการถวายความจงรักภักดีที่ถูกต้อง ถูกทาง ไม่ให้เจ้านายต้องถูกครหาโแดยที่ไม่รู้