จีนเฉ่งอังกฤษ!?เรียกประชุมกลุ่มAUKUSผลักดันเอเชียต้านจีน ปลุกปั่นนอกปท.กลบในบ้านล้มเหลว

1139

นายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสันแห่งอังกฤษ กำลังเผชิญกับความท้าทายปัญหาภายในประเทศในการเป็นผู้นำ เพราะละเมิดกฏบังคับเข้มงวดเรื่องไวรัสและปัญหาเศรษฐกิจทั้งเงินเฟ้อ การขาดแคลนแรงงานและภาคขนส่งยังเป็นคอขวด ท่ามกลางความกดดันนี้ บอริสกลับเลือกโดดเข้าร่วมสหรัฐเผชิญหน้ารัสเซียและจีน ขณะที่ปั่นข่าวรัสเซียจะก่อรัฐประหารยูเครนก็เร่งมือปั่นเรื่องไต้หวันยั่วยุจีนอย่างเอาการเอางาน

Australian Foreign Minister Marise Payne (L), Australian Defence Minister Peter Dutton (2nd-L), British Defence Secretary Ben Wallace (2nd-R) and British Foreign Secretary Liz Truss (R) are seen during top of meeting remarks ahead of Australia-United Kingdom Ministerial Consultations (AUKMIN) talks in Sydney on January 21, 2022. (Photo by BIANCA DE MARCHI / POOL / AFP)

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 ม.ค.2565 สำนักข่าวโกลบัลไทมส์รายงานว่า ทางการจีนประณามอังกฤษที่ยั่วยุจีนเรื่องไต้หวันและเตือนอย่าสร้างสงครามเย็นตามรอยสหรัฐ เนื่องจากจะไม่ก่อผลประโยชน์อะไรของต่อประชาชนอังกฤษหรือยุโรป  หลังจากที่เจ้าหน้าที่การป้องกันประเทศชั้นสูงของอังกฤษ นัดประชุมกลุ่มพันธมิตรออคัส(AUKUS) ระบุวัตถุประสงค์เพื่อตอบโต้จีน

สหราชอาณาจักรกำลังดำเนินตามยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ ในการต่อสู้กับจีนในหลายด้าน และความเคลื่อนไหวดังกล่าวไม่เพียงแสดงให้เห็นความพยายามของฝ่ายบริหารของนายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสัน ที่จะเปลี่ยนความมุ่งมั่นจากกิจการภายในประเทศไปสู่การปลุกปั่นปัญหาภายนอก 

ผู้เชี่ยวชาญจีนกล่าวว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศใช้จุดยืนต่อต้านจีนเพื่อสร้างความนิยมขยายสถานะทางการเมืองของเธอ ในฐานะผู้สมัครรับเลือกตั้งแทนจอห์นสัน หากเขาลาออกหรือถูกขับออก จากกระแสกดดันภายในประเทศที่กว้างขวางมากขึ้นในปัจจุบัน

โฆษกจากสถานเอกอัครราชทูตจีนประจำสหราชอาณาจักรกล่าวในแถลงการณ์บนเว็บไซต์เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาว่า”โลกทุกวันนี้ห่างไกลจากโลกเมื่อ 40 หรือ 50 ปีก่อน สงครามเย็นได้หายไปนานแล้ว!อย่าไปรื้อฟื้นอีก” 

คำแถลงนี้เพื่อตอบโต้ต่อความคิดเห็นล่าสุดของเอลิซาเบธ ทรัซซ์(Liz Truss) รมว.กระทรวงการต่างประเทศของอังกฤษ ที่กล่าวปาฐกถาที่สถาบันโลวีแห่งออสเตรเลีย (Lowy Institute of Australia) เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ทรัซซ์กำลังเยือนออสเตรเลียอย่างเป็นทางการ ได้กล่าวพาดพิงจีนหลายครั้ง ระหว่างที่เธอกล่าวสุนทรพจน์ได้ตำหนิจีนอย่างไร้เหตุผลว่าบีบบังคับทางเศรษฐกิจต่อประเทศอื่นๆ เช่น ลิทัวเนีย และทำงานใกล้ชิดกับรัสเซียมากขึ้น 

โฆษกสถานเอกอัครราชทูตจีนกล่าวว่าพวกเขาเต็มไปด้วยข้อมูลที่บิดเบือนเกี่ยวกับจีนและสถานการณ์ระหว่างประเทศในปัจจุบัน 

และกล่าวคำพูดดังกล่าวเป็นเหมือนการล้อเลียนสหรัฐฯมากกว่า  ที่ลากเส้นบนแบ่งแยกประเทศอื่นๆโดยพื้นฐานทางอุดมการณ์ และทำให้ประเทศอธิปไตยที่ตนไม่ชอบเสื่อมเสียชื่อเสียงโดยไม่คำนึงถึงข้อเท็จจริง โฆษกกล่าวว่านี่เป็นความพยายามที่สร้างวงกลมเล็กๆอย่างกลุ่มพันธมิตรออคัส (AUKUS) ซึ่งส่งผลกระทบในทางลบต่อสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคเอเชียอย่างชัดเจน 

โจว ฟางหยิน (Zhou Fangyin, a professor)ศาสตราจารย์จากสถาบันวิจัยกวางตุ้ง International Strategies วิเคราะห์ว่า อังกฤษทำเช่นนี้เพื่อแสดงคุณค่าของตนต่อสหรัฐอเมริกา ยิ่งไปกว่านั้น จอห์นสันอยู่ในตำแหน่งที่สั่นคลอนมาก เพราะมีเสียงทั้งในและนอกพรรคของเขาเรียกร้องให้ลาออก จอห์นสันจึงกระตือรือร้นที่จะแสดงว่าเขากำลังสร้างความแตกต่างในการทูตของอังกฤษ โดยแสดงความกระตือรือร้นเป็นพิเศษในการเผชิญหน้ากับรัสเซียในยุโรป และจีนในเอเชีย-แปซิฟิก 

โจวกล่าวเสริมว่า การประสานงานระหว่างสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร และออสเตรเลีย กระชับมากขึ้นเนื่องจากสหรัฐฯผลักดันสร้างพันธมิตรต่อต้านจีนผ่านการเจรจากับประเทศอื่นๆโดยกลุ่มออคัส (AUKUS)

ประธานาธิบดีโจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ ได้จัดประชุมเสมือนจริงกับนายกรัฐมนตรีฟุมิโอะ คิชิดะของญี่ปุ่น ทั้งสองประเทศตกลงที่จะส่งเสริมความร่วมมือในประเด็นทางเศรษฐกิจและความมั่นคง ซึ่งรวมถึงต่อต้านกองกำลังที่เพิ่มขึ้นของจีน ขีปนาวุธที่ของเกาหลีเหนือ และ ตั้งเป้าหมายการรับรู้เรื่องรัสเซียในยูเครนแก่ประเทศต่างๆตามวาระวอชิงตัน

 

สุ่ย หงเจียน(Cui Hongjian) ผู้อำนวยการ Department of European Studies ที่ China Institute of International Studies กล่าวว่า AUKUS ได้ให้ความมั่นใจแก่อังกฤษมากขึ้นในระดับหนึ่ง เนื่องจากผลประโยชน์ที่ใหญ่ที่สุดอย่างหนึ่งจากข้อตกลงนี้คือสามารถเข้าสู่ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในลักษณะที่เรียกว่าพันธมิตรความมั่นคงไตรภาคี เพื่อต้องการพัฒนากลยุทธ์อินโดแปซิฟิกของตนเองในภาพลักษณ์ของฝ่ายต้านจีนจากตะวันตก

ในขณะที่ฝ่ายบริหารของจอห์นสันกำลังเผชิญกับแรงกดดัน ออสเตรเลียก็มีการเลือกตั้งระดับรัฐบาลกลางในปี 2565 ดังนั้นทั้งสองประเทศจึงมีความจำเป็นร่วมกันในการปรับเปลี่ยนความสนใจของประชาชนไปสู่ความขัดแย้งภายนอกประเทศ 

สุ่ยกล่าวว่า “ทรัซซ์มีแนวโน้มที่จะสืบทอดตำแหน่งต่อจากจอห์นสัน หากคนหลังถูกขับไล่ และคำพูดต่อต้านจีนของทรัซซ์ก็กระตุ้นปลุกเร้าความรู้สึกต่อต้านจีนในออสเตรเลียที่มีเชื้ออยู่แล้วตั้งแต่เกิดความขัดแย้งทางเศรษฐกิจการค้าระหว่างกัน” 

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวย้ำว่า ด้วยการเสริมความแข็งแกร่งของจีนทั้งเศรษฐกิจ การเมือง การทหาร มีเป้าหมายเพื่อรักษาความปลอดภัยรอบอินโดแปซิฟิก ทำให้การเคลื่อนไหวของพันธมิตรAUKUS จะถูกจำกัดในแง่ของการทหารเท่านั้น 

ทั้งนี้สหรัฐฯ มุ่งเป้าไปที่การใช้พันธมิตรทางทหารเพื่อต่อต้านจีนในเชิงเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านเทคโนโลยีชั้นสูง และเดินหน้าทำลายภาพลักษณ์ของจีนให้เสื่อมเสียในประชาคมระหว่างประเทศ