อิสานกระหึ่ม!!พาณิชย์เปิดแผน “ยุทธศาสตร์ค้าชายแดน” รับมือรถไฟจีน-ลาวคึกคัก

1170

จุรินทร์ฯยกทีมพาณิชย์ลุยตรวจด่านหนองคาย พร้อมประชุม กรอ.พาณิชย์อีสาน ทำงานเชิงรุกเตรียมแผน “ยุทธศาสตร์ค้าชายแดน ” รับมือรถไฟจีน-ลาวแจ้งเกิดแล้ว ไทยจะสร้างกลไกเชื่อมต่อเสริมการค้าการส่งออกอย่างไร ในระหว่างรอเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟของไทย 

เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2565 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์  พร้อมด้วยนายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ นายพิทักษ์ อุดมวิชัยวัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ติดตามสถานการณ์การค้าชายแดนและตรวจเยี่ยม พื้นที่บริเวณด่านศุลกากรสะพานมิตรภาพไทย-ลาว จังหวัดหนองคาย โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย นายมนสิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ และ พ.ต.อ.ณรัชต์พล เลิศรัชตะปภัสร์ นายด่านศุลกากรหนองคาย รายงานสถานการณ์ ก่อนการประชุมติดตามสถานการณ์การค้าชายแดน

หลังการตรวจเยี่ยมนั้น นายจุรินทร์ กล่าวว่า วันนี้ตนนำคณะจากกระทรวงพาณิชย์มาประชุมร่วมกับภาคเอกชนจากส่วนกลางคือผู้แทนหอการค้า และภาคเอกชนในภาคอีสานโดยเฉพาะจังหวัดหนองคายและใกล้เคียง ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์รถไฟจีน-ลาวเพื่อใช้ขนส่งสินค้าของไทยไปยังลาวและจีนเพื่อเพิ่มตัวเลขการส่งออก และตัวเลขการค้าชายแดนไทย-ลาว

ปีที่ผ่านมาการค้าชายแดนไทย-ลาว มีมูลค่าการค้าระหว่างกันเกือบ 200,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12.58% ไทยส่งออกไปลาว 112,437 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20.13% ประเทศไทยได้ดุลประมาณ 31,000 ล้านบาทและหวังว่าจะใช้เส้นทางรถไฟจีน-ลาว ส่งสินค้าต่างๆไปยังจีนได้มากขึ้น ซึ่งปัจจุบันเส้นทางรถไฟนี้อนุญาตให้ส่งสินค้าที่เกี่ยวข้องกับสินแร่ ยางพาราและมันสำปะหลังไปยังจีนได้ แต่ผลไม้ต้องเจรจากันต่อไป ซึ่งเราอยากเห็นผลไม้ไทยที่กำลังจะออกในฤดูกาลผลิตหน้าช่วง มี.ค.-พ.ค. สามารถส่งผ่านเส้นทางนี้ได้ ถ้าเจรจาแล้วประสบความสำเร็จ

ขณะนี้ทางรถไฟจีน-ลาวมาถึงเวียงจันทน์ใต้ยังขาดอีกเกือบ 3 กิโลเมตร ที่จะมาจ่อที่ริมแม่น้ำฝั่งลาว ซึ่งจะมีการจัดตั้ง Dry Port ขึ้นมา เป็นท่าทำการบริหารจัดการทุกอย่างทั้งวิธีการศุลกากร การขนถ่ายตู้สินค้าต่างๆ เพื่อขึ้นรถไฟลาว-จีน คาดว่าเดือน ก.พ.นี้จะเสร็จ ถ้าเสร็จไทยสามารถใช้ประโยชน์ได้โดยการขนสินค้าจากฝั่งเราข้ามผ่านสะพานหนองคายและไปลงที่ฝั่งลาว ผ่านจุด Dry Port เปลี่ยนถ่ายตู้สินค้าขึ้นรถไฟไปจีนได้ต่อไป ซึ่งต้องมีการเจรจาในกระบวนการต่างๆกับรัฐบาลลาวและรัฐบาลจีน เป็นหน้าของภาครัฐหารือกับเอกชนและจังหวัดเจรจากันต่อไปว่าทำอย่างไรให้สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นโดยคล่องตัวที่สุด

ขณะนี้เรามีพิธีสารหรือข้อตกลงที่ทำเมื่อปลายปีที่ผ่านมา จีนจะเปิดด่านให้เรานำสินค้าโดยเฉพาะผลไม้เข้าไปยังจีนได้เป็น 10 ด่านด้วยกัน ผ่านด่านไทย 6 ด่าน ทะลุไปจีน 10 ด่าน โดยจะมีการเจรจากับทูตพาณิชย์ของเราที่จะมาร่วมประชุมที่นี่

มุมมองด้านบวกต่อการเปิดเดินรถไฟจีน-ลาวที่ไทยสามารถต่อยอดหลายด้านได้แก่

  1. ด้านสินค้า: ไทยมีโอกาสในการขายสินค้าได้เพิ่มขึ้น รถไฟสายนี้จะใช้ขนส่งสินค้าเป็นหลัก สะท้อนจากจ านวนเที่ยวเดินรถไฟของสินค้าที่มากกว่าการขนส่งคน แม้คาดว่าการน าเข้า สินค้าจีนมาไทยจะมีมากขึ้น แต่สินค้าไทยก็มีแนวโน้มที่จะส่งออกได้มากขึ้น เพราะไทยมีตลาดในจีนตอนใต้อยู่แล้ว
  2. ด้านการลงทุน: ไทยมีโอกาสทั้ง FDI และ TDI โดยจะมี FDIจากจีนเข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น และ TDIจากนักลงทุนไทยที่จะไปลงทุนในลาว เพื่อใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าและลดต้นทุนการขนส่ง
  3. ด้านการท่องเที่ยว: เป็นโอกาสของไทยในการรองรับนักท่องเที่ยวจากกลุ่มจีนตะวันตก ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีรายได้ปานกลาง ที่จะเข้ามาเที่ยวไทยแบบกลุ่มทัวร์เป็นจ านวนมาก
  4. ด้านการขนส่ง จะช่วยลดต้นทุนการขนส่งของผู้ประกอบการได้ และเป็นอีกทางเลือกในการกระจายความเสี่ยงด้านการขนส่ง