“แอมเนสตี้” เคลื่อนไหวก่อนถูกสั่งยุบ! ยังไม่เลิก ระดมทุนหนุนสามนิ้ว? เชิญ “แกนนำกลุ่มแคร์” เข้าร่วม!
จากกรณีที่เมื่อวานนี้ (7 ธันวาคม 2564) เพจ Amnesty International Thailand ได้โพสต์ข้อความถึงกรณีกิจกรรมที่จะจัดขึ้นในวันที่ 10 ธันวาคมนี้ โดยระบุข้อความว่า 10 ธันวาคมนี้ เสียงของสิทธิจะดังขึ้นอีกครั้ง!
โดยนายณฐพร ได้การตรวจสอบไม่มีการส่งเอกสารให้กับกรมการปกครองซึ่งก็เท่ากับเป็นการไปแอบอ้าง และไม่ได้ทำตามข้อบังคับของแอมเนสตี้ต่างประเทศที่จะต้องมีความร่วมมือกับรัฐบาล มีความเป็นกลาง
ด้านนายธนาคม จงจิระ อธิบดีกรมการปกครอง ได้เปิดเผยว่า ทางนายทะเบียน ที่จดตั้งสมาคม ได้ทำหนังสือไปยัง แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ให้มาพบ เพื่อมาชี้แจงถึงการเคลื่อนไหวและการกระทำว่าผิดวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งสมาคมหรือไม่ ซึ่งก็ต้องดูข้อเท็จจริงและหลักฐานที่ทางแอมเนสตี้จะมาชี้แจงว่าทำผิดระเบียบอะไรบ้าง
ต่อมาเมื่อวันที่ 7 ธันวาคมที่ผ่านมา มีรายงานถึงผลการตรวจสอบความเคลื่อนไหวของแอมเนสตี้ ประเทศไทย โดยกรมการปกครอง ที่เปิดเผยเป็นเอกสารลับบางส่วนที่น่าสนใจในความคืบหน้าในการตรวจสอบกรณีดังกล่าวซึ่งมีบางช่วงที่สำคัญระบุว่า ผลการตรวจสอบรายงานกิจกรรมในปี 62 และแผนงานการดำเนินการขององค์กรในปี 63 – 64 จากการตรวจสอบความเคลื่อนไหวการจัดการชุมนุมในห้วงที่ผ่านมาพบว่า แอมเนสตี้ ประเทศไทย จัดตั้งกลุ่มองค์กรย่อยในการสนับสนุนการชุมนุม อาทิ กลุ่ม Mob data Thailand เป็นการจัดตั้งอาสาสมัคร เพื่อสังเกตการณ์ชุมนุมในการรวบรวมข้อมูลการกระทำรุนแรงของฝ่ายรัฐ เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลรายงานต่อองค์กรระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน , กลุ่ม Child in Mob เป็นอาสาสมัครในการดูแลเยาวชนที่เข้าร่วมการชุมนุม โดยจัดตั้งขึ้นหลังจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมเมื่อ 16 ต.ค.63
กิจกรรม Write for Right เป็นการรณรงค์ให้สมาชิกเขียนจดหมายเพื่อให้กำลังใจและกดดันไปยังประเทศ ที่มีบุคคลสำคัญกรณีถูกเลือกให้เข้าร่วมกับกิจกรรมให้มีการยุติการดำเนินคดี หรือเงื่อนไขอื่นๆ ตามการเรียกร้อง โดยในปี 63 ประเทศไทย เสนอชื่อ นายจาตุภัทร บุญภัทรรักษา เป็นบุคคลที่ถูกเลือก และในปี 64 คือ น.ส.ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล ที่เชื่อมโยงกับประเด็นดังกล่าว เพื่อนำรายชื่อไปยื่นเสนอยกเลิก ม.112 ต่อรัฐบาล และรัฐสภาอันเป็นเหตุให้เกิดการขับไล่องค์กรดังกล่าวในปัจจุบัน
แหล่งที่มาของเงินทุนในการทำกิจกรรม เมื่อพิจารณาจากรายงานการประชุมเมื่อ 20 มี.ค. 64 มีการสรุปยอดของรายได้ขององค์กรฯ ในส่วนของรายได้จากการสนับสนุนโดยไม่มีการระบุที่มา มีจำนวนทั้งสิ้น 17,673,668 บาท ขณะเดียวกันเมื่อนำรายงานผลการดำเนินกิจกรรมในประเทศไทยในปี 2563 ขององค์กร National Endownment for Democracy (NED) ซึ่งเป็นองค์กรที่ได้รับการสนับสนุนในการดำเนินการจากสภาคองเกรส มีการระบุในรายงานถึงโครงการที่มีการมอบให้องค์กรด้านสิทธิมนุษยชน จำนวน 8 โครงการ โดยมียอดรวมการสนับสนุนคือ 539,200 เหรียญสหรัฐ หรือเมื่อคำนวณเป็นเงินไทยเมื่อใช้อัตราแลกเปลี่ยนในห้วงเดือน ก.ค. 63 คือ 17,266,800 บาท
ซึ่งจากยอดเงินดังกล่าวใกล้เคียงกับยอดรายได้จากการสนับสนุนขององค์กรฯ อย่างมีนัยยะสำคัญ ตลอดจนชื่อและวัตถุประสงค์ของโครงการชี้ให้เห็นว่าอาจเป็นเงินสนับสนุนจาก NED ในการขับเคลื่อนองค์กรตลอดจนทำกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง