“ตูน บอดี้สแลม” ปลื้มปีติ เป็นเกียรติสูงที่สุดในชีวิต! ขับร้องถวายในหลวงร.10 หลังสามนิ้วแห่แบนเพลง!
จากกรณีที่เมื่อวันที่ 24 กันยายนที่ผ่านมา ได้มีการเผยแพร่เพลง ดุจดั่งสายฟ้า เพลงเฉลิมพระเกียรติในหลวง รัชกาลที่ 10 ที่ขับร้องโดย อาทิวราห์ คงมาลัย หรือ ตูน บอดี้สแลม ศิลปินขวัญใจคนไทย ทำให้เกิดความปลื้มปีติของคนไทย ในขณะเดียวกัน ก็ทำให้กลุ่มที่เคลื่อนไหวทางการเมือง ที่อ้างว่าต้องการที่จะปฏิรูปสถาบันฯ ได้แหjแบน โดยมีการเรียกทัวร์ไปลงและกด Unlike เป็นจำนวนมาก
โดยล่าสุดทางทีมข่าวเดอะทรูธ ได้เข้าไปตรวจสอบพบว่า ขณะนี้ มียอดคนกด Like 2.9 หมื่น และมียอด Unlike กว่า 6 หมื่นคน ขณะที่มีผู้เข้าชมกว่า 669,874 ครั้ง
ย้อนไปก่อนหน้านี้ ตูน บอดี้สแลม ได้โพสต์ภาพถ่ายคู่กับผู้ประพันธ์เพลง ดุจดั่งสายฟ้า พร้อมกับข้อความว่า
บันทึกไว้เมื่อวันที่5 เดือนตุลาคม พ.ศ.2561 วันที่ซึ่งผมได้รับเกียรติอย่างสูง…อันหาที่สุดมิได้
ขอบพระคุณพี่ปุ้ม พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้ประพันธ์บทเพลง ‘ดุจดังสายฟ้า และอนุญาตให้ผมได้ขับร้องในเพลงๆนี้ อันถือได้ว่าเป็นเกียรติสูงที่สุดในชีวิตสำหรับนักร้องตัวเล็กๆอย่างผมที่ได้มีโอกาสขับร้องบทเพลงอันทรงเกียรติที่สุดในชีวิตครั้งนี้ครับ
ซึ่งก่อนหน้านี้ เมื่อช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา สมาพันธ์ผู้ประกอบอาชีพธุรกิจกลางคืนและธุรกิจบันเทิงแห่งประเทศไทย นำโดย ลูกเต๋า นนทเดช บูรณะสิทธิพร เจ้าของร้าน The Rock Pub – Bangkok’s House Of Rock นายธัญญ์นิธิ ปภัสสุรีย์โชติ ตัวแทนชมรมคนดนตรีแห่งประเทศไทย และศิลปินชื่อดัง อาทิ Slot Machine, Tattoo colour, Cocktail, Apartment Khunpa ฯลฯ ได้เดินทางไปที่รัฐสภา เพื่อยื่นจดหมายเปิดผนึกถึง พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับการพิจารณาร่วมกันหาทางออก กรณีการขอมาตรการผ่อนปรนและมาตรการเยียวยาให้กับกลุ่มผู้ประกอบอาชีพธุรกิจกลางคืนและธุรกิจบันเทิงที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19
ก็ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก โดยทัวร์สามนิ้วได้บุกไปถล่มในไอจีของพี่ตูน ถึงกรณีที่ไม่ยอมออกมา call out และยังมีการพูดถึงการที่พี่ตูนออกมาวิ่ง เพื่อระดมทุนช่วยเหลือโรงพยาบาลนั้น เหมือนเป็นการนำเงินไปให้กับรัฐบาล และเมื่อเกิดสถานการณ์แบบนี้ก็ไม่ออกมา Call Out ด้วย
โดยกิจกรรมของพี่ตูนที่ได้ออกมาวิ่งในโครงการ “ก้าวคนละก้าว” เพื่อระดมทุนช่วยเหลือโรงพยาบาลที่ขาดแคลนทั่วประเทศ โดยครั้งแรกวิ่งจากกรุงเทพมหานคร – บางสะพาน ในปี 2559 จากนั้นในปี 2560 ได้มีการดำเนินโครงการอีกครั้ง ด้วยการเริ่มวิ่งจาก อ.เบตง จ.ยะลา ไปจบ อ.แม่สาย จ.เชียงราย เพื่อระดมทุนช่วยเหลือโรงพยาบาลที่ขาดแคลนทั่วประเทศไปแล้วเมื่อปี 2560 ซึ่งยอดบริจาคทะลุเป้ากว่าหนึ่งพันล้านบาท