ในช่วงเวลาเดียวกันที่สหรัฐ-อังกฤษ-ออสเตรเลีย เปิดเผยท่าทีต่อต้านจีนอย่างโจ่งแจ้ง ไม่สนใจมารยาทการทูต หรือผลกระทบทางเศรษฐกิจใดๆ เริ่มจากสหรัฐฯอังกฤษ ออสเตรีเลียประกาศแผนสร้างเรือดำน้ำนิวเคลียร์ต้านอิทธิพลจีน ในขณะที่อังกฤษประกาศห้ามทูตจีนเข้าประชุมรัฐสภาฯอย่างแข็งกร้าว ทำให้กระทรวงการต่างประเทศจีนประกาศกร้าวทุกการเคลื่อนไหวตามอำเภอใจของสหรัฐและสหราชอาณาจักรที่มีต่อจีนจะต้องได้รับการตอบโต้อย่างเฉียบขาด จะไม่มีข้อยกเว้น
พฤติกรรมพูดอย่างทำอย่างของสหรัฐ ปรากฎชัดต่อสายตาชาวโลก ขณะที่แสดงท่าทีว่าสหรัฐต้องการปรับปรุงความสัมพันธ์กับจีน แต่ล่าสุด ไบเดนประกาศว่าสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักรจะช่วยออสเตรเลียสร้างเรือดำน้ำนิวเคลียร์ ‘ติดอาวุธตามแบบแผน’
สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และออสเตรเลียได้ประกาศโครงการริเริ่มทางทหารใหม่ ชื่อว่า “AUKUS: America-UK-Australia-Security partnership” ขั้นตอนแรกของพันธมิตรที่มุ่งเป้าไปที่การต่อต้านอิทธิพลจีนคือ การจัดหาเรือดำน้ำนิวเคลียร์ให้กับแคนเบอร์รา
บอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ และสกอตต์ มอร์ริสัน รัฐมนตรีต่างประเทศออสเตรเลีย ร่วมกับประธานาธิบดี โจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ ประกาศแนวทางที่ปธน.ไบเดนเรียกว่า“ระยะใหม่ของความร่วมมือด้านความมั่นคงไตรภาคี”ระหว่างพันธมิตรเก่าเมื่อวันพุธที่ 15 ก.พ.2564
ไบเดนกล่าวว่า AUKUS จะทำให้แน่ใจว่าพันธมิตรแต่ละประเทศจะมีความสามารถที่ทันสมัยที่สุดอย่างที่เราต้องการ และเสริมว่า“ออสเตรเลียเป็นหนึ่งในเพื่อนที่เก่าแก่ที่สุดของเรา ประเทศเครือญาติ และเพื่อนประชาธิปไตย และ หุ้นส่วนโดยธรรมชาติในองค์กรนี้”
จอห์นสันกล่าวว่า “มีเพียงไม่กี่ประเทศเท่านั้นที่มีเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ และถือเป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญสำหรับประเทศใด ๆ ที่จะได้รับการสนับสนุนให้มีความสามารถที่น่าเกรงขามนี้”
ไบเดนกล่าวว่าโครงการจะเริ่มต้นด้วยระยะเวลาในการปรึกษาหารือ 18 เดือนระหว่างกองทัพของทั้งสามประเทศ และเกี่ยวข้องกับสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศเพื่อให้แน่ใจว่า”ปฏิบัติตามอย่างเต็มที่”ตามพันธกรณีภายใต้สนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ พ.ศ. 2513 (NPT)
วอชิงตันได้เปลี่ยนชื่อกองบัญชาการแปซิฟิก (PACOM) เป็น”อินโดแปซิฟิกคอมมานด์ (Indo-Pacific Command)” ในปี 2561 เพื่อเรียกร้องความร่วมมือของอินเดียในการปิดล้อมจีน ไบเดนยังกล่าวถึงฝรั่งเศสซึ่งเป็นพันธมิตรของ NATO ว่ามีบทบาทสำคัญในภูมิภาคนี้ แต่เมื่อประกาศหนุนออสเตรเลียสร้างความขุ่นใจเล็กๆให้ฝรั่งเศสไม่น้อย
ในวันเดียวกันเมื่อวันที่ 15 ก.ย. ทูตจีนในวอชิงตันตอบโต้ว่า “สหรัฐและพันธมิตรต้องสลัดความคิดในยุคสงครามเย็นและอคติทางอุดมการณ์ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินแก้” ขณะที่กระทรวงการต่างประเทศจีนประณามอย่างรุนแรงต่อรัฐสภาอังกฤษที่ห้ามเอกอัครราชทูตจีนเข้าร่วมกิจกรรม และให้คำมั่นว่าจีนจะ “ตอบสนองที่จำเป็นและเฉียบขาด” ต่อพฤติกรรมของสหราชอาณาจักร
นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าการตอบสนองอาจรวมถึงการยุติหรือระงับการแลกเปลี่ยนบางอย่างระหว่างสองประเทศ เช่น การเจรจาทางเศรษฐกิจและการเงินของจีน-สหราชอาณาจักร และการปฏิบัติต่อหน่วยงานทางการทูตของสหราชอาณาจักรในประเทศจีน
กรณีที่โฆษกของสภาสามัญและสภาขุนนางได้ตัดสินใจห้ามเจิ้ง เจ๋อกวง เอกอัครราชทูตจีนประจำสหราชอาณาจักร(Foreign Affairs: Zheng Zeguang) เข้าร่วมงานเลี้ยงต้อนรับฤดูร้อนของ All Party Parliamentary China Group ซึ่งมีกำหนดในคืนวันพุธ เหตุผลที่ให้มาคือก่อนหน้านี้ฝ่ายจีนได้ประกาศคว่ำบาตรสมาชิกรัฐสภาสหราชอาณาจักร7คน
สถานเอกอัครราชทูตจีนในสหราชอาณาจักรแถลงว่าการตัดสินใจครั้งนี้สะท้อนถึง “กรอบความคิดที่คับแคบของบุคคลบางคนในสหราชอาณาจักร เป็นการเคลื่อนไหวที่ไม่มองการณ์ไกล ประมาทเลินเล่อ และขี้ขลาด”
ภายหลังจากสถานทูต จ่าว ลี่เจี้ยน โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน กล่าวว่าจีนขอประณามการเคลื่อนไหวดังกล่าวอย่างรุนแรง และจะถูกบังคับให้ต้องตอบสนองตามความจำเป็นอย่างเฉียบขาด