อย่าจับแต่ปลาซิวปลาสร้อย!?! บุกรวบมือปั่นเฟคนิวส์ศพโควิดนอนเกลื่อน! สังคมจี้จับมินตราเด็กคณะก้าวหน้าด้วย ล่าสุดเจ้าตัวลบโพสต์หนี!!

1860

จากกรณีที่มีการเผยแพร่ภาพศพของผู้เสียชีวิตจากโควิด 19 ที่นอนเกลื่อน และอ้างว่า เป็นศพผู้ป่วยโควิดที่ไร้การดูแลจากรัฐบาล ทำให้มีชาวเน็ตเป็นจำนวนมากได้แชร์ออกไป และมีการโจมตีรัฐบาลเป็นจำนวนมาก

ต่อมา มีผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อว่า มินตรา พรหมกรุง ผู้สมัคร ส.อบจ.คณะก้าวหน้า มหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้โพสต์ข้อความพร้อมภาพผู้เสียชีวิตไว้วันที่ 16 กรกฎาคม 2564 ระบุเวลา 08:34 น.  โดยเนื้อหาอ้างว่า อนุทิน ไหนมึ…บอกว่า แค่เป็นโรคไข้หวัดธรรมดา นี่หรือไข้หวัดธรรมดา ของมึ…จากนั้นก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ และโจมตีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นจำนวนมาก ล่าสุดลบโพสต์หนีแล้ว

อย่างไรก็ตาม ข่าวเดอะทรูธ ได้เข้าร่วมตรวจสอบถึงบุคคล และแหล่งที่มาของภาพดังกล่าวด้วย โดยพบว่า บุคคลที่ชื่อ มินตรา ได้โพสต์ข้อความพร้อมภาพตั้งแต่ช่วงเช้าของวันที่ 16 กรกฎาคม 2564  ก็ยังมีการโพสต์เนื้อหาและภาพบิดเบือน แม้จะปรากฏถึงข้อเท็จจริงออกมาจากหลายแหล่งยืนยันตรงกันว่าเป็นภาพเหตุการณ์ที่ประเทศเมียนมาแล้วก็ตาม ซึ่งหลายคนเข้ามาแสดงความคิดเห็นด่าทอ โจมตีนายอนุทิน อย่างหยาบคายและรุนแรง ที่สำคัญมีการแชร์โพสต์ซึ่งเป็นข้อมูลเท็จไปแล้วจำนวน สองพันกว่าครั้งด้วย

ล่าสุดเมื่อวันที่ 18 ก.ค.64 พล.ต.ต.ยิ่งยศ เทพจำนงค์ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งแชร์ข่าวบิดเบือนเป็นภาพผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 นอนเรียงราย ไร้การดูแลจากภาครัฐ แต่จากการตรวจสอบเบื้องต้นภาพเหตุการณ์ดังกล่าว ไม่ได้เกิดขึ้นจริงในประเทศไทย ซึ่งล่าสุดเจ้าหน้าที่ตำรวจ บก.สอท.1 ได้นำหมายศาลแขวงพระนครศรีอยุธยา เข้าตรวจค้นบ้านพักของผู้โพสต์ภาพดังกล่าว ในอ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา หลังการตรวจค้นเจ้าหน้าที่ได้รวบรวมพยานหลักฐาน เพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

นอกจากนี้ทีมข่าวเดอะทรูธ ได้พบว่า ในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ฉบับที่ 27 ได้มีกำหนดโทษในประกาศ “ข้อ 11” ที่ระบุว่า “มาตรการเพื่อมิให้มีการบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร อันทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉิน การเสนอข่าวหรือการทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใด ที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารทำให้เกิดความเข้าใจผิด ในสถานการณ์ฉุกเฉินจนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ทั่วราชอาณาจักรนั้น เป็นความผิดตามมาตรา 9 (3) แห่งพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548”
โดยการฝ่าฝืนข้อ 11 มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท ซึ่งเป็นโทษที่กำหนดไว้ในมาตรา 18 ของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ การฝ่าฝืนข้อกำหนดไม่ว่าเรื่องใดๆ เช่น การออกนอกเคหสถานเกินเวลาที่กำหนด การรวมกลุ่มเกินห้าคนโดยไม่ได้รับอนุญาต ก็มีอัตราโทษเช่นเดียวกันหมด