“สนพ.ใหญ่” เครืออมรินทร์ โพสต์แซะนายกฯ กระทบชิ่งสถาบัน? ร้านนายอินทร์ ออกโรงอ้างคนตีความคลาดเคลื่อน?

2475

“สนพ.ใหญ่” เครืออมรินทร์ โพสต์แซะนายกฯ กระทบชิ่งสถาบัน? ร้านนายอินทร์ ออกโรงอ้างคนตีความคลาดเคลื่อน?

จากกรณีที่ เพจ ประยุทธ์ จันทร์โอชา Prayut Chan-o-cha ได้เผยแพร่ภาพ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม นั่งทำงาน ระหว่างกักตัวเป็นเวลา 7 วัน จากการใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ โดยนายกฯ อยู่ในชุดสูททางการ ผูกเนคไท สวมใส่หน้ากากอนามัย กำลังนั่งเขียนเอกสารบนโต๊ะ โดยที่นั่งทำงานด้านหลังบนผนังติดกรอบรูป 3 บาน บนสุดคือภาพพระพุทธรูปด้านหลังที่มีทองปิดอยู่ อีก 2 ภาพคือ ภาพนายกฯ ขณะนั่งรถไฟ และ ภาพฝูงม้า จนทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์เป็นจำนวนมาก

ล่าสุด ก็ทำให้เกิดเป็นประเด็นอีกครั้ง เมื่อสำนักพิมพ์บ้านและสวน ได้โพสต์ภาพและข้อความว่า #ไอเดียแขวนรูปติดผนัง #กรอบรูป พร้อมกับมีรูปภาพมีข้อความว่า “ไอเดียติดรูปแขวนผนังสวยๆ แบบไม่ต้องติดทองหลังพระ” ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อีกครั้ง

ในขณะที่ทางด้านของนายเจริญสุข ลิมป์บรรจงกิจ นายกสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ ได้โพสต์ข้อความถึงกรณีดังกล่าวว่า ไม่แน่ใจว่า #บ้านและสวน มีปัญหาอะไรกับรูป #ปิดทองหลังพระ แต่สุดท้ายก็ #โพสต์เองลบเอง อีกราย!!
#จบข่าว

จนต่อมาได้มีการเปิดเผยแชทที่อ้างว่าเป็น ร้านนายอินทร์ระบุว่า ทางสนพ.บ้านและสวน ขอเรียนชี้แจงเพิ่มเติมนะคะ ทางแอดมินเพจบ้านและสวนเพียงแค่ต้องการพูดถึงกรณีฉากหลังห้องทำงานนายกเท่านั้น ไม่ได้มีเจตนาพาดพิงสถาบัน เพราะชื่อร้านนายอินทร์เอง ก็มาจากหนังสือพระราชนิพนธ์ อาจจะเกิดจากการตีความที่คลาดเคลื่อนของผู้รับสาร และในกรณีนี้โพสต์ต้นทาง สนพ. ได้ดำเนินการให้เอาลงแล้วครับ เพื่อหลีกเลี่ยงการกระทบกระทั่ง ขอบคุณครับ

ต่อก็มีชาวเน็ตได้เข้ามาแสดงความคิดเห็นถึงกรณีดังกล่าวว่า จู่ๆ ร้านหนังสือ​ใหญ่​ก็แซะคนบนฟ้าซะงั้น ซึ่งมันเจ็บซะยิ่งกว่าเจ็บ ไม่เป็นไร​ ประกาศ​ตัวให้รู้กันไป ขาดกันไปเลยดีกว่าชาติ​นี้

และยังโพสต์ข้อความต่ออีกว่า ร้านหนังสือ​มันคงคิดว่า แซะคนบนฟ้าคงทำให้สามกีบซื้อ​หนังสือ​มันมากขึ้น ขอโทษ… มันอ่านแต่ทวิตเตอร์ เพราะ​ยาวไม่ถึง 8 บรรทัด

สำหรับนิตยสาร “บ้านและสวน” ฉบับแรกออกวางจำหน่ายในเดือนกันยายน พ.ศ.2519 ในสมัยนั้นยังต้องอาศัยการพิมพ์จากโรงพิมพ์ภายนอก ในช่วงต่อมาจึงได้มีการก่อตั้งโรงพิมพ์ขึ้นในชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด อมรินทร์การพิมพ์ ต่อมาได้ขยายกิจการด้านการจัดจำหน่าย โดยการก่อตั้งบริษัทอมรินทร์บุ๊คเซ็นเตอร์ จำกัด เพื่อดูแลการจัดจำหน่ายสิ่งพิมพ์ทั้งหมด ด้วยพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 พระราชทานนามจากหนังสือพระราชนิพนธ์แปลเรื่อง “นายอินทร์ ผู้ปิดทองหลังพระ” เป็นชื่อร้านหนังสือในนาม “ร้านนายอินทร์”

นอกจากนี้ ยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดพิมพ์พระราชนิพนธ์หลายเรื่อง เช่น ติโต นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ พระมหาชนก และเรื่องทองแดง และบริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต จัดพิมพ์พระราชนิพนธ์แปล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เรื่อง ตำราทำกับข้าวฝรั่ง ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นตำราทำกับข้าวฝรั่งอย่างเป็นทางการเล่มแรกของไทยอีกด้วย