พญ.เชิดชู ชนะคดี หลังถูกฟ้องหมิ่น เหตุตั้งข้อสงสัย “ไทยพีบีเอส-สสส.” มีผลประโยชน์ตอบแทนกัน

3117

ศาลตัดสินชัด!! พญ.เชิดชู ชนะคดี หลังถูก อดีตปธ.ไทยพีบีเอส ฟ้องหมิ่น เหตุตั้งข้อสงสัย “ไทยพีบีเอส-สสส.” มีผลประโยชน์ตอบแทนกัน!?

สืบเนื่องจากเมื่อช่วงประมาณ ปี พ.ศ.2559 ทางด้านของ “พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา” ได้เคยพบเห็นความผิดปกติ และตั้งข้อสงสัยถึงเรื่อง ผลประโยชน์ร่วมกันระหว่าย ไทยพีบีเอส และ สสส. ผ่านทางด้านเฟสบุ๊คส่วนตัวในชื่อ churdchoo Ariyasriwatana โดยมีเนื้อหาประมาณว่า

“จากอดีตผู้จัดการ สสส. กับตำแหน่งใหม่ ผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ไปจนถึงการเปลี่ยนสังคมจากแนวดิ่งเป็นแนวราบ”

จึงต้องมาดูความเกี่ยวข้องระหว่างไทยพีบีเอส และ สสส.บ้าง ก็จะพบว่ามีกรรมการบอร์ด สสส. คนหนึ่งที่ถูกปลดออกจากตำแหน่ง โดยคำสั่งที่ 1/2559 ของมาตรา 44 คือนายยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ซึ่งในขณะเดียวกันก็มีตำแหน่งเป็นประธานมูลนิธิไทยพีบีเอส และได้รับเงินจากสสส.ไปรวมแล้ว 284,794,540 บาท จึงน่าสงสัยว่า ไทยพีบีเอส และสสส. ต่างก็มีผลประโยชน์ตอบแทนหรือไม่ เช่น สสส. อนุมัติเงินให้มูลนิธิไทยพีบีเอส ทางไทยพีบีเอสก็เลยตอบแทนผู้จัดการ สสส.(ในเวลายากลำบาก) ด้วยการมอบตำแหน่งผู้อำนวยการไทยพีบีเอสให้

และนพ.ยงยุทธ เองก็บอกว่าไม่เคยทุจริต นพ.ยงยุทธเองได้รับเงินจาก สสส.หลายร้อยล้านบาท อาจจะเป็นการ “ประพฤติมิชอบ” โดยการมีผลประโยชน์ส่วนตนจากเงินงบประมาณ สสส. โดยการที่นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ จะได้งบประมาณจาก สสส. มาทำโครงการมากมายเกือบ 300 ล้านบาทคนเดียวนั้น

นอกจากจะเป็นเพราะตัวเองเป็น กรรมการ สสส.แล้ว ยังอาจจะเป็นเพราะมี connection ส่วนตัวกับนพ. กฤษฎา เรืองอารีรัชต์ อดีตผู้จัดการ สสส. อีกก็เป็นได้ จึงเห็นได้อย่างชัดเจนว่า กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สสส. นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ก็คือผู้เป็นเครือข่ายไทยพีบีเอสที่รับเงิน สสส. เข้าสู่มูลนิธิไทยพีบีเอส และตอนนี้ไทยพีบีเอสก็เลือกอดีตผู้จัดการ สสส. นพ.กฤษฎา เรืองอารีรัชต์ มาเป็นผู้อำนวยการไทยพีบีเอส ทั้งๆที่มีข้อครหาว่าเป็นผู้บริหาร สสส. ที่ร่วมกับบอร์ด สสส. ในการอนุมัติเงินงบประมาณโครงการให้แก่มูลนิธิของกรรมการ สสส.เอง

ซึ่งกำลังถูกตรวจสอบอยู่อย่างเข้มข้นในขณะนี้ จึงไม่น่าจะมีคุณสมบัติ ในการเป็นผู้บริหารที่ดีขององค์กรขนาดใหญ่

ส่งผลให้ทางด้านของ นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ อดีตประธานมูลนิธิไทยพีบีเอส ได้เป็นโจทก์ฟ้องแพทย์หญิงเชิดชู ข้อหาหมิ่นประมาทว่าใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่สามและสาธารณชนโดยการโฆษณาผ่านเฟซบุ๊กในชื่อเพจของจำเลยว่า Churdchoo Ariyasriwatana เป็นการนำข้อมูลสู่ระบบคอมพิวเตอร์เป็นเท็จ โดยฟ้องเมื่อปี 2559

ซึ่งในครั้งนั้น ทางด้านของศาลชั้นต้นได้พิพากษายกฟ้อง ทำให้ทางด้านของ นพ.ยงยุทธ (โจทก์) ได้ทำการอุทธรณ์ โดยทางด้านศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ประทับรับฟ้องศาล และได้พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานหมิ่นประมาทโจทก์ จึงกำหนดให้มีการชดใช้ทางแพ่ง 1 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5% ต่อปี และลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวัน 6 ฉบับ 7 วัน

ทำให้ทางด้านของ พญ.เชิดชู (จำเลย) ยื่นอุธรณ์ ศาลอุทธรณ์ ได้มีคำสั่งพิพากษายกฟ้อง โจทก์จึงได้ยื่นฎีกาต่อ

โดยทางด้านของ ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาว่า จำเลยไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ เนื่องจากว่าศาลฎีกาเห็นพ้อง ฎีกาของโจทก์จึงฟังไม่ขึ้น โดยทางด้านของ ศาลฎีกาได้ระบุว่า การที่จะพิจารณาว่าข้อความใดเป็นการใส่ความผู้อื่นด้วยการโฆษณาหรือไม่ จำต้องพิจารณาข้อความนั้นทั้งหมดมิใช่เพียงบางส่วนบางตอนเท่านั้น

โดยแม้ว่าทางด้านของ จำเลยจะมีการกล่าวถึงโจทก์ ในทำนองว่า เป็นกรรมการสสส.และประธานมูลนิธิไทยพีบีเอส ได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุนทำโครงการถึง 284,797,540 บาท จึงน่าสงสัยว่าไทยพีบีเอสกับสสส.จะมีผลประโยชน์ตอบแทนกันหรือไม่ ซึ่งทางด้านของ สสส.ได้อนุมัติเงินจำนวนดังกล่าว ให้มูลนิธิไทยพีบีเอส ซึ่งมีทางด้านของโจทก์ เป็นกรรมการ สสส. และยังมีความสัมพันธ์ส่วนตัวกับ ทพ.กฤษฎา ทางไทยพีบีเอส จึงได้ตอบแทนด้วยการมอบตำแหน่งผู้อำนวยการไทยพีบีเอส ก็เป็นไปได้

ข้อความต่างๆนั้นเป็นเพียงการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นมาเป็นตัวอย่างสนับสนุนข้ออ้างของจำเลย แล้วนำมาตั้งเป็นข้อสังเกต ว่าอาจจะเป็นเช่นนั้นก็เป็นได้ จึงอาจไม่ถือได้ว่าเป็นการใส่ความ หรือเป็นการหมิ่นประมาท แต่เป็นการกล่าวติชมด้วยความเป็นธรรมเพื่อประโยชน์สาธารณะ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา