Oceanus สิงคโปร์ ทำฟาร์มลอยฟ้าเลี้ยงกุ้งบนตึกสูง!?! ด้วยไฮบริดลดนำเข้าต่างประเทศ พึ่งตนเองได้สำเร็จ!

2901

ผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ทำให้สิงคโปร์ต้องหันมาเลี้ยงกุ้งด้วยเทคโนโลยีทันสมัยในอาคาร เพื่อความมั่นคงทางอาหารและความพอเพียง พึ่งพากุ้งนำเข้าน้อยลง ใช้พื้นที่ตัวเองที่มีอย่างจำกัดให้เป็นประโยชน์ ในการผลิตอาหารทะเลมากขึ้น เช่นเดียวกับ จีน และอีกหลายๆ ประเทศที่ต้องปรับตัวเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์การะบาดของโควิด-19  นี่เป็นตัวอย่างฟาร์มลอยฟ้า ที่ทำให้สิงคโปร์จากนำเข้าอาหารทะเล 100%และจำนวนไม่น้อยซื้อจากไทย ต่อไปนี้นอกจากไม่ซื้อไทยแล้วอาจกลายเป็นคู่แข่งขันขายอาหารทะเลแข่ง เหมือนกับที่มาเลเซีย,เวียดนามกำลังเร่งมืออยู่

 

ยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตร-ความมั่นคงอาหารคือของจริง

สิงคโปร์ ประเทศเล็กๆที่มีประชากรเพียง 5.6 ล้านคนกำลังปฏิวัติรูปแบบการทำฟาร์มเกษตรในเมือง ทั้งการเพาะกุ้งในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ และการปลูกผักบนชั้นดาดฟ้าของอาคารที่พักอาศัย โดยตั้งเป้าว่าจะผลิตอาหารเหล่านี้ให้มากขึ้นเพื่อเลี้ยงประชากรในประเทศและลดการพึ่งพาอาหารนำเข้าจากประเทศต่างๆให้น้อยลง

ทั้งนี้ สิงคโปร์ ผลิตอาหารในสัดส่วนประมาณ 10% ของปริมาณอาหารทั้งหมดแต่เนื่องจากปัญหาสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงและการเติบโตของประชากรคุกคามแหล่งอาหารทั่วโลก สิงคโปร์จึงตั้งเป้าที่จะผลิตอาหารเพิ่มขึ้นให้ได้ 30% ภายในปี 2573  แต่สิ่งที่ท้าทายความตั้งใจของสิงคโปร์คือ พื้นที่ว่างในการทำการเกษตร  โดยปัจจุบัน สิงคโปร์มีพื้นที่ว่างสำหรับทำการเกษตรในสัดส่วนเพียงแค่1% เท่านั้น และต้นทุนการผลิตพืชผักผลไม้สูงกว่าประเทศอื่นๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เรื่องนี้เคยท้าทายรัฐบาลและเอกชนมากในอดีต  วันนี้พิสูจน์แล้วว่าทำได้จริง

การระบาดโควิด-19 ทำให้สิงคโปร์เปลี่ยนการพึ่งพารายได้จากการส่งออกและการท่องเที่ยว และการพึ่งพาอาหารจากต่างประเทศ  มาสู่การให้ความสำคัญของความมั่นคงทางอาหารอย่างเข้มข้น แม้บางส่วนมีการเตรียมปรับมาแล้วในแผนพัฒนา แต่เมื่อเกิดวิกฤติโรคระบาด อัตราเร่งในการปฏิวัติกระบวนการผลิตจึงเดินหน้าเร็วหลายเท่าตัว

Oceanus ของสิงคโปร์ลงทุนในเกษตรกรเลี้ยงกุ้งในพื้นที่จำกัด (land-based)

ผู้จัดการด้านห่วงโซ่คุณค่าของสินค้าอาหารทะเลและอุปโภคบริโภคที่เปลี่ยนแปลงเร็วในเครือบริษัท Oceanus ของสิงคโปร์ (FMCG) ได้ประกาศถึง การลงทุนในบริษัทเพาะลึ้ยงสัตว์น้ำที่ตั้งขึ้นใหม่ ดำเนินการด้านการผลิตกุ้งในพื้นที่จำกัด (land-based shrimp production)

บริษัท Universal Aquaculture มุ่งเน้นไปที่การเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมในอาคารพื้นที่ 1,300 ตารางเมตรทางสุดขอบด้านตะวันตกเฉียงใต้ของนครสิงคโปร์ โดยใช้เทคโนโลยี “ระบบหมุนเวียนน้ำใช้เชิงชีวภาพในรูปแบบผสมผสาน (hybrid biological recirculation system หรือ HBRS)” ในการผลิตกุ้งเป็นและกุ้งสด

นายปีเตอร์ โกะห์ (Peter Koh) ซีอีโอของ Oceanus กล่าวว่า“การลงทุนครั้งนี้ถือเป็นความเหมาะสมเชิงกลยุทธ์กับธุรกิจของเรา ในการนำเอาเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามาใช้ในการทำฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ”,  “เรามีความยินดีที่ได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับพันธมิตรที่ใจตรงกัน เพื่อนำเอาอาหารทะเลคุณภาพมุ่งสู่ความยั่งยืนมาใกล้ชิดกับผู้บริโภค”

“โดยรวมแล้วสมาชิกของทีมงานหลักด้านเทคโนโลยีของ Universal Aquaculture มีประสบการณ์ด้านเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมากกว่า 100 ปี ทีมงานที่มีความสามารถนี้นำโดย Jeremy Ong ผู้ก่อตั้งได้ใช้เวลา 6 ปีในการวิจัยและพัฒนาเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าว” เขากล่าว

เขาอ้างว่านี่เป็นอาคารเลี้ยงสัตว์น้ำระบบ HBRS แห่งแรกของโลก IT เป็นรุ่นต่อไปในการบำบัดน้ำสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เพื่อลดความจำเป็นในการใช้ถังบำบัดน้ำและอุปกรณ์ ซึ่งจะช่วยประหยัดพื้นที่ พลังงาน และความสิ้นเปลืองในการใช้น้ำ ในขณะเดียวกันการสร้างสภาวะของน้ำที่สมบูรณ์พร้อมสำหรับการนำไปใช้เพาะพันธุ์ภายในระยะเวลาที่สั้นลงของการเก็บเกี่ยวหรือจับสัตว์น้ำ”

ระบบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบหมุนเวียนน้ำใช้ดั้งเดิมนั้นใช้การกรองเชิงกลซึ่งสิ้นเปลืองพลังงานมาก ขณะที่ระบบชีวภาพที่บริสุทธิ์ หรือ Biofloc อาศัยการกรองเชิงชีวภาพเป็นหลัก โดยมีการกรองเชิงกลน้อยที่สุด Oceanus กล่าว HBRS ผสมผสานเทคโนโลยีทั้งสองอย่างเข้าด้วยกัน สิ้นเปลืองพลังงานน้อยลงโดยใช้การผสมผสานของจุลินทรีย์ที่คัดสรรมาเป็นการเฉพาะ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการกรองเชิงชีวภาพ จึงช่วยให้การเปลี่ยนถ่ายน้ำเป็นศูนย์และลดค่า FCR ลงได้อย่างมาก

Oceanus กล่าวว่า รูปแบบถังซ้อนกันทำเพื่อเป็นหนึ่งของฟาร์มเลี้ยงที่ให้กำลังผลิตและความหนาแน่นในการเลี้ยงสูงที่สุดในโลก

“สถานการณ์โควิด-19 ในปัจจุบันได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการผลิตอาหารในท้องถิ่น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ของสิงคโปร์ในการสร้างความมั่นคงด้านอาหารและความพอเพียง เรามองในด้านดีว่า การพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับการเพาะพันธุ์กุ้งในสภาพการเลี้ยงแบบแนวตั้งนั้น ทำให้การเพาะเลี้ยงสัตว์นำสามารถทำได้ภายในอาคารหรือโกดัง ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในการผลิตอาหารในเมืองได้อย่างยั่งยืน” โกะห์สรุป

การทำงานในอาคารของ Universal จะประกอบไปด้วยถัง 33 ชุดของคลัสเตอร์ถังไม่เหมือนใคร เริ่มต้นทำงานในเดือนถัดไป ตามข่าวของสื่อ Straights Times แต่ละกลุ่มหรือคลัสเตอร์ของถังเลี้ยงเป็นถุงรูปทรงสี่เหลี่ยม 3 คู่วางซ้อนกันโดยมีท่อน้ำเชื่อมไปมาระหว่างถัง ถังใบหนึ่งที่ฐานของกลุ่มหรือคลัสเตอร์จะเป็นถีงบำบัดน้ำ ในขณะที่อีก 5 ถังจะเลี้ยงกุ้งโดยมีกุ้งประมาณ 1,400 ตัวต่อถัง แต่ละกลุ่มหรือคลัสเตอร์ถังจะถูกซ้อนกัน ทำให้เป็นการสร้างแกนกลางของถัง (matrix of tanks) ในอาคารชั้นเดียว

“แต่ละกลุ่มหรือคลัสเตอร์ถังทำงานอย่างเป็นอิสระต่อกัน และเราไม่ต้องแบ่งปันน้ำใช้ระหว่างกลุ่มเพื่อป้องกันการปนเปื้อนข้ามไปมาระหว่างกัน ถ้ากลุ่มหนึ่งมีปัญหา กลุ่มอื่นๆ จะไม่ได้รับผลกระทบไปด้วยแต่อย่างใด” Ong กล่าว

อาคารหรือโกด้งแห่งแรกสามารถผลิตกุ้งได้ 44 ตันต่อปี และบริษัทวางแผนที่จะเช่าอาคารหรือโกดังเพิ่มเติมเพื่อทำผลผลิตกุ้งให้ได้ 400 ตันภายในปี 2022 ซึ่งจะทำให้บริษัทกลายเป็นหนึ่งของผู้ผลิตรายใหญ่ในสิงคโปร์”

เรียบเรียงจากแหล่งที่มา: คุณวินิจ ตันสกุล

https://www.undercurrentnews.com/2020/09/08/singapores-oceanus-invests-in-land-based-shrimp-farmer/

https://www.straitstimes.com/business/companies-markets/oceanus-invests-in-deep-tech-firm-to-breed-prawns