นักกฎหมาย เขารู้กันหมด!! ทนายชี้ชัด “กลุ่มแกนนำ” ไม่อยากได้รับประกันตัว สร้างสถานการณ์ไม่ให้ศาลเมตตา เพื่อแผนปลุกการชุมนุม?

2123

จากกรณีที่รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้พูดถึงประเด็นของ “เพนกวิน” นายพริษฐ์ ชีวารักษ์ ที่ยังคงอดข้าวประท้วง และแม่ของเพนกวิน ก็ได้ให้ถ้อยคำต่อศาลว่า ว่าเพนกวินสุขภาพไม่ดี เป็นโรคหอบหืด เมื่ออดอาหาร ร่างกายอ่อนแอ อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

และได้ยื่นเงื่อนไขว่าหากได้รับการปล่อยตัว จะนำเพนกวินเข้ารักษาตัวในโรงพยายาลที่เพนกวินมีความสบายใจ และสามารถจำกัดบริเวณไม่ให้ออกไปนอกเขตโรงพยาบาล เมื่อสุขภาพดีเหมือนเดิมแล้ว ศาลจะสั่งให้กลับมาจำคุกต่อก็ได้ แต่ศาลอาญายังคงยกคำร้องขอให้ปล่อยตัวชั่วคราวนายพริษฐ์ ชีวารักษ์ หรือเพนกวิน ด้วยเหตุผลเดิมคือ ยังไม่มีเหตุให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม ว่าถ้าเพนกวินอยากได้รับการประกันตัว ควรเอาอย่างหมอลำแบงค์ ที่ทำตามขั้นตอนและได้ออกจากเรือนจำแล้ว

ทำให้มีการจับตาถึงเหตุผลที่แม่อยากพาตัวเพนกวินออกไปรักษานอกเรือนจำ ทั้งที่อาการทั่วไปยังปกติ และหากเป็นโรคหอบหืดก็สามารถรักษาในรพ.ของทัณฑสถานได้ เจ้าหน้าที่เรือนจำและทีมแพทย์พร้อมดูแล ทั้งนี้ในกลุ่มแกนนำม็อบ 3 นิ้ว ที่ยังอยู่ในเรือนจำนั้น ได้ปฏิเสธไม่ยอมรับกระบวนการของศาล มีเพียง หมอลำแบงค์ ที่ได้รับการปล่อยตัว

และเมื่อย้อนไปในวันที่ 9 เม.ย. 64 ศาลอาญาได้อ่านคำร้องขอปล่อยชั่วคราว มีแกนนำหลายคนที่ศาลยึดตามคำสั่งเดิม คือ ไม่ปล่อยตัว ซึ่งสืบเนื่องมาจาก เมื่อวันที่ 8 เม.ย. 2564 ศาลนัดสอบคำให้การตรวจพยานหลักฐาน และกำหนดวันนัดสืบพยานคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ 283/2564 จำเลยที่ 4 และที่ 7 และทนายจำเลยที่ 4 และที่ 7 ไม่ยอมลงลายมือชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาโดยไม่มีเหตุอันสมควร มีเพียงจำเลยที่ 3 และทนายความจำเลยที่ 3 เท่านั้นที่ลงลายมือชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาปรากฏตามรายงานเจ้าหน้าที่

และรายงานกระบวนพิจารณา ลงวันที่ 8 เม.ย. 2564 ทั้งทนายจำเลยที่ 4 และที่ 7 นำรายงานกระบวนพิจารณาไปเขียนข้อความเพิ่มเติมโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล ระบุว่า “ทนายความจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 22 ไม่ขอลงชื่อในรายงานกระบวนพิจารณา เนื่องจากไม่ยอมรับกระบวนพิจารณา” กับมีพฤติการณ์จะไม่ยอมไปกำหนดวันนัดสืบพยานที่ศูนย์นัดความ และยื่นคำร้องขอถอนทนายความ ทำให้การกำหนดวันนัดสืบพยานเป็นด้วยความยากลำบาก ซึ่งเป็นอุปสรรคและก่อให้เกิดความเสียหายต่อการดำเนินคดีในศาล โดยจำเลยที่ 1 , 2 , 4 และจนถึงหมายเลข 22 เช่น ทนายอานนท์ เพนกวิน รุ้ง ไผ่ ไมค์ จัสติน แอมมี่ และผู้ที่ถูกดำเนินคดี 112 รายอื่นด้วย


ล่าสุดนาย “ชุบ ชัยฤทธิไชย” ทนายความ ได้แสดงความคิดเห็นเรื่อง “ไม่ยอมรับ “กระบวนการ” แล้วจะให้ทำอย่างไร” โดยมีเนื้อหาน่าใจดังนี้

ในฐานะที่เป็นนักกฎหมาย จากกรณีดังกล่าว ทำให้เกิดเป็น “ข้อสังเกต” บางประการ เกี่ยวกับการต่อสู้คดีของจำเลยในศาล ในเบื้องต้นเป็นที่เข้าใจและยอมรับกันได้ คือ ศาลต้องดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามตัวบทกกฎหมาย ไม่มีอำนาจ หรือ สิทธิ ในการที่จะทำอะไร “นอกกรอบ” ของกฎหมายได้

กระบวนพิจารณาในชั้นศาล ในชั้นนี้ ได้แก่การตรวจสอบพยานหลักฐาน และกำหนดการสืบพยานโจทก์จำเลย ฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลย ต่างจะทำการตรวจสอบเอกสารหลักฐานของอีกฝ่าย ว่า ข้อเท็จจริงที่ปรากฎในเอกสารนั้น จะรับกันได้หรือไม่ได้ ถ้ารับข้อเท็จจริงบางอย่างได้ก็ทำให้การสืบพยานที่จะทำต่อไป เร็วขึ้นถ้ารับไม่ได้เพราะเป็นข้อต่อสู้ ก็แถลงไม่รับ

โดยทั่วไป ถ้าจำเลยคิดว่า เป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่ได้ทำความผิดตามฟ้อง จำเลยหรือทนายจำเลย จะแถลงไม่รับข้อเท็จจริง ตามเอกสารที่มีการนำเสนอต่อศาล ทุกฉบับ ทุกรายการ ก็ย่อมกระทำได้ ถือว่าเป็นเรื่องปกติ เป็นการชอบด้วยกระบวนการและชอบด้วยสิทธิ ส่วนที่จำเลยคดีนี้แถลงต่อศาลว่าไม่ยอมรับกระบวนการกฎหมายและขอถอนทนายความ ผมไม่เข้าใจเหตุผลครับ และเห็นว่า การแถลงเช่นนั้นไม่น่าจะเกิดประโยชน์ และไม่เป็นเหตุให้กระบวนพิจารณาของศาลเสียไป หรือไร้ผล

แต่กลับจะเป็นการทำให้จำเลยเสียสิทธิ หรือเสียเปรียบในการต่อสู้คดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไม่ส่งผลให้คำชี้ขาดตัดสินของศาลในท้ายที่สุด เสียไปด้วย ข้ออ้างว่าไม่ได้ประกันตัว ทำให้ไม่สามารถต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่ จึงไม่ยอมรับกระบวนการ

ก็ต้องบอกว่า การได้ประกันตัวหรือไม่ได้ประกันตัว ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการต่อสู้คดีเต็มที่หรือไม่เต็มที่แต่อย่างใด

จำเลยยังคงมีสิทธิต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่เสมอ ไม่ว่าจะได้ประกันตัวหรือไม่

และน่าสังเกตว่า โดยหลักการในทางคดีอาญานั้น โจทก์มี “ภาระการพิสูจน์ความผิด” แปลอีกทีโจทก์มีหน้าที่ต้องนำพยานเข้าเบิกความเพื่อพิสูจน์ความผิด ให้ศาลเชื่อว่า พยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ มีข้อเท็จจริงตามที่ฟ้อง ซึ่งศาลจะพิเคราะห์น้ำหนักทางคดี ตามพยานหลักฐานต่อไป ถ้าพิสูจน์ไม่ได้ว่าจำเลยทำผิด ศาลก็จะต้องพิพากษายกฟ้อง ไม่ว่าจำเลยจะสืบพยานหรือไม่

หรือแม้กรณีหากข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เป็น “กรณีสงสัย” ว่าจำเลยจะได้ทำผิดตามฟ้องหรือไม่ ศาลก็จะพิพากษายกประโยชน์แห่งความสงสัย ให้จำเลย โดยการพิพากษายกฟ้อง เช่นเดียวกัน จึงสงสัยว่าการแถลงของจำเลยครั้งนี้ เจตนาที่ซ่อนเร้นนั้น คืออะไร

๑. คือ ส่วนหนึ่งของ “ชั้นเชิง” การต่อสู้คดี

๒. รู้ตัวดีอยู่แล้วว่า ตนเองกระทำผิดตามฟ้องอยู่แล้ว ถึงจะสู้คดีอย่างไร ก็คงจะไม่มีทางชนะคดีได้

จึงต้องการทำอะไรบางอย่างให้ดูเหมือนว่า ไม่ได้รับความเป็นธรรมตาม “กระบวนการ”

๓. ต้องการให้โลกมองว่า การไม่ได้รับประกันตัว คือ สาเหตุสำคัญที่ทำให้ไม่ได้รับความเป็นธรรม

๔. ต้องการให้โลกมองว่า การไม่ได้รับการประกันตัวเป็นการ “ขัด” หรือ “แย้ง” กับหลักการแห่ง “สิทธิมนุษยชน”

ผมเดาไม่ถูกจริง ๆ ว่า อะไร คือ “เจตนา” ที่แท้จริง

แต่ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น ผมมิได้มีเจตนาจะ “ชี้นำ” ใด ๆ ทั้งสิ้น

เพียงแต่คิดว่าอยากให้คนที่กำลังต่อสู้คดี ได้นำไปพิจารณา วิเคราะห์ เปรียบเทียบถึงผลดีผลเสียของ “ชั้นเชิง” การสู้คดีเพื่อประโยชน์ของตน

การต่อสู้คดีไม่ว่าในเรื่องใด ๆ ย่อมต้องกระทำตาม “กระบวนการ” ที่กฎหมายกำหนดไม่สามารถใช้วิธีการนอกกรอบของกระบวนการทางกฎหมายได้ นี้คือ หลัก “สากล”

ผมเขียนเรื่องนี้เพราะอยากเห็นจำเลยต่อสู้คดี ตามหลักการของกฎหมาย อย่างสุจริต ตรงไปตรงมา

คิดอยู่เสมอว่าฟ้องโจทก์นั้น บางทีเมื่อสืบพยานสืบไปสืบมาโจทก์ก็พิสูจน์ถึง “เจตนา” ของการกระทำความผิดของจำเลยไม่ได้

โดยที่จำเลยไม่ต้องพิสูจน์อะไรเลย ก็เคยมีเกิดขึ้นให้เห็นอยู่บ่อย ๆ

ทั้งนี้ผมเขียนขึ้นด้วยความเคารพและด้วยความปรารถนาดี กับคนที่กำลังตกเป็นจำเลย ไม่ว่าในคดีใด ๆ แม้ว่าผู้เป็นจำเลยนั้นไม่ใช่คนที่อยู่ใน “สายตา” ของผมเลยแม้แต่น้อย อย่างนายเพนกวินก็ตาม

อย่างไรก็ตามหลังจากนี้ น่าจับตามองว่าทางด้านทนายกฤษฎางค์ นุตจรัส ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน จะดำเนินการคดีต่อไปอย่างไร เมื่อบรรดาแกนนำฝั่งจำเลย ไม่ยินยอมทำตามกระบวนการ และยังประท้วงด้วยการอดอาหารอย่างต่อเนื่อง ซึ่งไม่ใช่สาเหตุที่ศาลจะเห็นใจและยินยอมให้ประกันตัวได้ ทำให้ทางทนายอาจจะมีการถอนตัว ไม่รับต่อสู้คดีกับให้จำเลย