วางแผนเผ่นหนี? “แม่กวิ้น” ยังดิ้นไม่เลิก ขอพาลูกออกมารักษารพ.หรู แล้วค่อยกลับเรือนจำ ทั้งที่แพทย์กรมราชทัณฑ์ พร้อมดูแล!!

3927

จากกรณีที่โลกโซเชียลได้มีการเผยแพร่ภาพใบเสร็จรายการสั่งซื้ออาหารในเรือนจำ ของ “รุ้ง – เพนกวิน” ซึ่งพบว่าทางรุ้งนั้น มีการทานเครื่องดื่มบำรุงสุขภาพแทนการอดข้าว และใบเสร็จของเพนกวิน มีรายงานว่าห้ามเปิดเผย

โดยในเพจเฟซบุ๊ก Street Hero Project ได้โพสต์ข้อความระบุด้วยว่า “#อดข้าวไม่อดแบรนด์ เพื่อน ๆ ที่เป็นกังวลว่ากวิ้นกับรุ้งจะขาดสารอาหารนั้น อีกทั้งทางด้านเรือนจำ ได้อัพเดทด้วยว่า อาการของเพนกวิน อยู่ในภาวะเฝ้าระวังเนื่องจากกลัวว่าจะช็อค แต่ภาพรวมยังปกติ ยังเดิน ลุก นั่งทำกิจวัตรประจำวันได้ ไม่ขอรับประทานอาหาร แต่ยังดื่มเกลือแร่ต่อเนื่อง

 

ต่อมาทางด้าน รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงได้พูดถึงประเด็นของเพนกวิน แนะนำว่าหากอยากได้รับการปล่อยตัว ควรเอาอย่าง “หมอลำแบงค์”

โดยได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Harirak Sutabutr ระบุว่า “นาย กฤษฎางค์ นุตจรัส ทนายความ ของเพนกวิน ทนายความคณะก้าวหน้าและทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวว่า เพนกวินขอปฏิเสธที่จะร่วมอยู่ในขบวนการพิจารณาคดี และขอถอนทนายความออกจากการพิจารณาคดี ด้วยเหตุผลว่า ไม่ได้รับโอกาสตามสิทธิที่จะหาพยานหลักฐานมาต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ เพราะไม่ได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ”

มารดาของเพนกวินก็ยังคงยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวอีกครั้ง ให้เหตุผลว่าเพนกวินสุขภาพไม่ดี เป็นโรคหอบหืด เมื่ออดอาหาร ร่างกายอ่อนแอ อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ และได้ยื่นเงื่อนไขว่าหากได้รับการปล่อยตัว จะนำเพนกวินเข้ารักษาตัวในโรงพยายาลที่เพนกวินมีความสบายใจ และสามารถจำกัดบริเวณไม่ให้ออกไปนอกเขตโรงพยาบาล เมื่อสุขภาพดีเหมือนเดิมแล้ว ศาลจะสั่งให้กลับมาจำคุกต่อก็ได้

ศาลอาญายังคงยกคำร้องขอให้ปล่อยตัวชั่วคราวนายพริษฐ์ ชีวารักษ์ หรือเพนกวิน ด้วยเหตุผลเดิมคือ ยังไม่มีเหตุให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม

ในขณะที่ เพจของราษฎร วานนี้ได้โพสต์เกี่ยวกับเรื่องนี้ และมีข้อความตอนหนึ่งว่า “ ช่วยกันเตือนศาลให้ทำตามกฎหมาย”

ประหนึ่งว่า การที่ศาลยกคำร้องขอให้ปล่อยตัวชั่วคราวเพนกวิน เป็นการไม่ทำตามกฎหมาย ซึ่งเป็นการอ้างซ้ำแล้วซ้ำเล่าแบบไม่ยอมเข้าใจเสียทีว่า กฎหมายไม่ได้บัญญัติว่า ระหว่างการพิจารณาคดีซึ่งยังไม่สิ้นสุด ศาลต้องอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยในทุกกรณี โดยไม่ต้องมีการวินิจฉัยใด ๆ

ตรงข้าม กฎหมายได้ระบุหลักเกณฑ์ให้ศาลวินิจฉัยคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวของจำเลยไว้อย่างชัดเจน

ในที่นี้ จึงต้องขอนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 108 และ 108/1 มาให้ดูกันอีกครั้งดังนี้

มาตรา ๑๐๘ ในการวินิจฉัยคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราว ต้องพิจารณาข้อเหล่านี้ประกอบ
(๑) ความหนักเบาแห่งข้อหา
(๒) พยานหลักฐานที่ปรากฏแล้วมีเพียงใด
(๓) พฤติการณ์ต่าง ๆ แห่งคดีเป็นอย่างไร
(๔) เชื่อถือผู้ร้องขอประกันหรือหลักประกันได้เพียงใด
(๕) ผู้ต้องหาหรือจำเลยน่าจะหลบหนีหรือไม่
(๖) ภัยอันตรายหรือความเสียหายที่จะเกิดจากการปล่อยชั่วคราวมีเพียงใดหรือไม่
(๗) ในกรณีที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยต้องขังตามหมายศาล ถ้ามีคำคัดค้านของพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ โจทก์ หรือผู้เสียหาย แล้วแต่กรณี ศาลพึงรับประกอบการวินิจฉัยได้

มาตรา ๑๐๘/๑ การสั่งไม่ให้ปล่อยชั่วคราว จะกระทำได้ต่อเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อเหตุใดเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้
(๑) ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะหลบหนี
(๒) ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน
(๓) ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น
(๔) ผู้ร้องขอประกันหรือหลักประกันไม่น่าเชื่อถือ
(๕) การปล่อยชั่วคราวจะเป็นอุปสรรคหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อการสอบสวนของเจ้าพนักงานหรือการดำเนินคดีในศาล

ที่ศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลย ศาลจะต้องวินิจฉัยตามกรอบนี้ นั่นคือตามมาตรา 108 และ 108/1 เช่นมีพยานหลักฐานที่ปรากฏค่อนข้างชัด และเชื่อว่าอาจจะหลบหนี หรือจะไปก่อเหตุอันตรายประเภทอื่น ซึ่งก็คือการไปทำผิดตามมาตรา 112 และ 116 อีก ตามที่ทนายความให้สัมภาษณ์ เพนกวินมีคดีเฉพาะตามมาตรา 112 ร่วม 20 คดีแล้ว

ดังนั้นการที่ศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจึงเป็นการใช้ดุลพินิจตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ตามมาตรา 108 และ 108/1 ด้งกล่าว ไม่ใช่ไม่ทำตามกฎหมายแต่อย่างใด

ความจริง เมื่อนึกถึงหลักมนุษยธรรม ก็ยอมรับว่าอยากให้ศาลอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวเพนกวินเหมือนกัน แต่เป็นไปไม่ได้ที่จะให้ศาลอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวด้วยวิธีอดอาหารประท้วง แต่ต้องด้วยวิธีใดก็ตามที่จะทำให้ศาลเชื่อว่า จำเลยจะไม่ออกไปทำผิดอีก และจะไม่หลบหนี เช่นเดียวกับที่หมอลำ แบงค์ที่ได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวมาแล้ว

ตัวอย่างกรณีของหมอลำแบงค์ แสดงว่าการขอให้ศาลปล่อยตัวชั่วคราวไม่ใช่เรื่องยาก เพียงอย่ามุ่งแต่จะเอาชนะคะคาน ลดทิฐิลง อย่าทำตามความต้องการของนักการเมืองบางกลุ่ม บางคน เพราะเขาไม่ได้มาร่วมติดคุกด้วย

การต่อสู้เพื่อให้ประเทศดีขึ้น สังคมดีขึ้น ไม่ต้องใช้วิธี หมิ่น ล้อเลียน และย่ำยีองค์พระมหากษัตริย์ และไม่จำเป็นต้องยกเลิกประมาลกฎหมายอาญามาตรา 112 แต่มีเรื่องอื่น ๆ ที่ทำได้มากมาย หากมีความหวังดีต่อประเทศชาติจริง

อย่าได้ลืมว่า ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ได้แสดงเจตนาชัดว่า จะไม่ยืนอยู่ข้างฝ่ายที่ต้องการล้ม หรือจะเรียกว่าปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ก็ตาม ดังนั้นถ้าเปลี่ยนภารกิจมาเป็นการค้นหาความบกพร่องในการทำงานของรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา รวมไปถึงการขุดคุ้ยหาข้อมูล การทุจริตคอรัปชั่น(หากมี) รวมทั้งการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเพื่อตัดอำนาจสมาชิกวุฒิสภา โดยไม่ต้องรอให้บทเฉพาะกาลหมดอายุลง รับประกันว่า จะได้แนวร่วมเพิ่มขึ้นมากมาย

นี่เป็นความเห็นที่อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง และอยู่บนพื้นฐานของความไม่ต้องการให้เกิดการสูญเสียที่ไม่ควรจะเกิด และไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเกิดด้วยประการทั้งปวง

อย่างไรก็ตามการที่ศาลยังคงคำสั่งเดิม ถือว่าได้ทำตามขั้นตอนกฎหมายแล้ว และน่าจับตามองว่า เหตุใดแม่ของเพนกวิน ถึงอยากพาลูกชายออกมารักษาอาการป่วยนอกเรือนจำ ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นรพ.พระราม 9 ที่เคยได้เข้ารับการรักษาในช่วงที่เป็นแกนนำม็อบ 3 นิ้ว โดยอาการป่วยของเพนกวิน ไม่มีอะไรน่าวิตกกังวล

ทั้งนี้แม่เพนกวินกล่าวว่า ลูกร่างกายอ่อนแอ เป็นหอบหืด อยากพาออกมารักษาในรพ.ที่ลูกสบายใจ แต่โรคทั้งหมดที่แม่ของเพนกวินได้กล่าวนั้น ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ก็พร้อมที่จะมีทีมแพทย์ดูแล ไม่มีความจำเป็นใดที่ต้องออกมานอกเรือนจำ หรือออกมาให้พ้นการควบคุมของเจ้าหน้าที่ และหากยังดึงดันจะทำเช่นนี้ ก็อาจจะเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ศาลเกรงว่าเพนกวินจะหลบหนี และไม่สมควรได้รับการปล่อยตัว