เจอความจริง ถึงกับหน้าเสีย!! กางหลักฐานฟาด “บุตร” บิดเบือน “ประเทศไทย” มีผู้ต้องหาถูกควบคุมตัว ระหว่างตัดสิน “น้อยที่สุด” เป็นอันดับต้น ๆ

2776

หลังจากค่ำคืนวันที่ 16 มี.ค. 64 ที่ผ่านมา นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า เปิดห้องพูดคุยทางแอพพลิเคชั่น Clubhouse ในหัวข้อ “ราษฎรที่ถูกจองจำ” วิพากษ์กระบวนการยุติธรรมในกรณีคดีความที่เกิดขึ้นจากการชุมนุมของกลุ่มราษฎร ซึ่งมีนักกิจกรรมจำนวนมากถูกจองจำจากคดีความตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และได้รับปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมในการควบคุมตัว

โดยนายปิยุตร ยกเหตุและข้อกฎหมาย 5 ข้อ ในการให้ประกันตัวมาอ้าง ว่าแกนนำม็อบนั้น ไม่เข้าตามหลักข้อไหนสักข้อ ศาลควรจะต้องปล่อยตัว

ซึ่งอ้างว่า จำเลยทุกคนพึงได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ส่วนการไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจะกระทำได้ต่อเมื่อมีเหตุดังนี้ คือ

1) มีพฤติกรรมหลบหนี

2) อาจเข้าไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน

3) อาจไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น

4) หลักประกันไม่น่าเชื่อถือ

และ 5) เป็นอุปสรรคต่อการสอบสวนหรือพิจารณาคดี ศาลจะไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวได้ ก็ต่อเมื่อจำเลยมีพฤติการณ์เข้าเหตุใดเหตุหนึ่งเท่านั้น


พร้อมทิ้งท้ายไว้ว่า “คุณอาจจะเอาเขาไปขังได้หมด คุณอาจจะลงโทษเขาได้หมด แต่แล้วอย่างไร? จะมีคนเหล่านี้รุ่นสู่รุ่นต่อไปเรื่อย ๆ ที่เขาจะมีทัศนคติกับสถาบันพระมหากษัตริย์อีกแบบหนึ่ง แล้วเขาจะไม่เปลี่ยนแล้ว เรื่องแบบนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วในประวัติศาสตร์การเมืองไทยในอดีต แล้วครั้งนี้ หากบาดแผลของคนระหว่างรุ่นร้าวลึกมากขึ้น กว่าจะรู้สึกตัวกลับลำมาแก้ไข ผมเกรงว่าจะไม่ได้ผล ”

ล่าสุดในเฟซบุ๊ก LVanicha Liz อาจารย์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้โพสต์ข้อความ ถึงนายปิยบุตร ระบุว่า

#อย่าปล่อยให้นักวิชาการฝ่ายม๊อบลอยนวล

ในความพยายามของนักวิชาการและนักการเมืองฝ่ายสนับสนุนม็อบ ที่จะให้แกนนำม๊อบที่คดีถึงขั้นส่งฟ้องศาลแล้วและขณะนี้ถูกควบคุมตัวระหว่างรอพิจารณาคดีได้รับการปล่อยตัว (ซึ่งคดีส่วนใหญ่เป็นข้อหา 112 116 ฝ่าฝืน พรก.ฉุกเฉิน ฝ่าฝืน พรบ.โรคติดต่อ) หนึ่งในจำนวนนี้ที่สปอตไลท์มักหันไปจับจ้องก็คือ นายปิยบุตร แสงกนกกุล ที่ผันตัวอย่างวูบวาบจากตำแหน่งอาจารย์ไปเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และผันตัวจากผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองไปเป็นผู้ถูกห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมือง อย่างไรก็ตาม เขาก็ยังคงคาแรคเตอร์ของนักวิชาการอย่างไม่เสื่อมคลาย

ภายใต้พาดหัวข่าว ‘ปิยบุตร’ โชว์กึ๋นเก่งกว่าผู้พิพากษาบอกศาลไม่ให้ประกันตัว’แกนนำราษฎร’ไม่เข้าข้อกฎหมายสักข้อ

ตามเนื้อข่าว เขากล่าวว่า “การไม่ให้ปล่อยตัวชั่วคราวเป็นกรณีข้อยกเว้นที่เกิดขึ้นได้น้อยมาก” คล้ายจะแสดงว่ามีความพยายามกระทำต่อแกนนำม็อบอย่างไม่ปกติ

ในสถานการณ์ที่นักวิชาการนักการเมืองฝ่ายสนับสนุนม็อบวิจารณ์กฎหมายและ/หรือกระบวนการยุติธรรมของไทยทำนองไม่ปกติ ทำให้ต้องตรวจสอบเทียบกับของสากล

หลักการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยที่ยังไม่ถูกตัดสินเป็นผู้บริสุทธิ์ เป็นหลักสากลเรียกว่า

presumption of innocence แต่ในประเทศที่มีหลักการนี้ มันก็มีหลักของการควบคุมตัวระหว่างรอพิจารณาคดีที่เรียกว่า pretrial detention (PTD) ใช้อยู่ด้วยอย่างเป็นปกติวิสัยเสมอ ไม่ปรากฏว่าเป็น “กรณีข้อยกเว้นที่เกิดขึ้นได้น้อยมาก” อย่างที่นายปิยบุตรกล่าวแต่อย่างใด

-ผลการตรวจสอบจากสัดส่วนของคนที่ต้องถูกคุมขังในเรือนจำ ยึดหลักสากลนั้น จะพบว่า – จำนวนผู้อยู่ในคุกรอพิจารณาคดีมีสัดส่วนสูง ทั่วโลกมีอยู่มากกว่า 3 ล้านคน

-ทั่วโลกมีจำนวนผู้ถูกควบคุมตัวระหว่างรอพิจารณาคดีเพิ่มขึ้น 30% ตั้งแต่ปี 2543

-บุคคลจำนวนมากมีประสบการณ์ถูกคุมขังอยู่ในคุก ณ ช่วงเวลาหนึ่งของชีวิต ทั้ง #ผู้ต้องสงสัย และ #จำเลย ถูกควบคุมตัวรอการพิจารณาคดีประมาณ 3.3 ล้านคนต่อวัน

-คุกแน่นไปหมด โดยส่วนใหญ่เกิดจากอัตราการเพิ่มอย่างสูงของการควบคุมตัวระหว่างรอพิจารณาคดี

หมายเหตุสำหรับนักวิชาการฝ่ายม๊อบ: ในประเทศอื่นๆแม้ #ผู้ต้องสงสัย ก็ถูกควบคุมตัวรอการพิจารณาคดีได้

เมื่อเปรียบเทียบอัตราการใช้วิธีควบคุมตัวระหว่างรอพิจารณาคดีในต่างประเทศ กับตัวเลขของไทย ก็พบว่าไทยไม่ได้แปลกแยกแตกต่างจากเขา อยู่ราวช่วงกลางๆ ยกตัวอย่างจากรายงานการประเมินของสภายุโรป จำนวนผู้ถูกควบคุมตัวระหว่างรอพิจารณาคดี (คิดเป็น % ของจำนวนนักโทษทั้งหมด) สวิตเซอร์แลนด์ 39.4% ฝรั่งเศส 27.2% ฟินแลนด์ 19.9% เยอรมัน 19.8% อังกฤษ 19.1% (ข้อมูลปี 2558)

นอกจากนั้น ยังสามารถสังเกตจากรายงานของสภายุโรปได้ว่า สัดส่วนคดีบนความผิดที่ไม่อาจใช้มาตรการควบคุมตัวระหว่างรอพิจารณาคดี (สีแดงใน pie chart) มีเป็นส่วนน้อย

ส่วนคดีบนความผิดที่สามารถใช้มาตรการควบคุมตัวระหว่างรอพิจารณาคดีเป็นส่วนใหญ่ของ sample
ข้อความ “การไม่ให้ปล่อยตัวชั่วคราวเป็นกรณีข้อยกเว้นที่เกิดขึ้นได้น้อยมาก” จึงน่าจะก้าวไถลจากความเป็นจริงไปมาก

และนี่เป็นข้อพิสูจน์ว่ากระบวนการยุติธรรมของไทย มีความเป็นสากลทัดเทียมนานาอารยประเทศ
ส่วนนักวิชาการนักการเมืองฝ่ายสนับสนุนม๊อบน่าจะขาดแคลนความเป็นสากลจนน่าเป็นห่วง

 


และอาจารย์ท่านนี้ ยังได้โพสต์ขยายความภาคต่อของนายปิยบุตร ด้วยว่า อย่าปล่อยให้นักวิชาการฝ่ายม็อบลอยนวล ตอนที่ 2

ผู้เขียนได้แสดงหลักฐานพิสูจน์แย้งแล้วว่าข้ออ้าง “การไม่ให้ปล่อยตัวชั่วคราวเป็นกรณีข้อยกเว้นที่เกิดขึ้นได้น้อยมาก” ของนายปิยบุตร แสงกนกกุล นั้นคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงของนานาชาติ ในลักษณะก้าวไถล จนทำให้อาจสรุปได้ว่านักวิชาการนักการเมืองฝ่ายสนับสนุนม็อบน่าจะขาดแคลนความเป็นสากลจนน่าเป็นห่วง

นายปิยบุตรกล่าวประมาณว่า การกระทำความผิดมาตรา 112 เป็นการกระทำด้วยการพูดและการเขียน กล่าวคือการแสดงออก ไม่ได้เป็นอันตรายแบบอาชญากรรมอื่นๆ เช่น ปล้นฆ่าซึ่งยังได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว … คนในกระบวนการยุติธรรมมองเรื่อง 112 เป็นเรื่องพิเศษไปเอง ฯลฯ

รู้สึกว่าในเนื้อหาข่าวทั้งหมดที่กล่าวถึงคำพูดของนายปิยบุตร จะเห็นแต่เลข 112 ไม่เห็นเลข 116 เลย ทั้ง ๆ ที่ ในส่วนที่เขาอ้างอิงเหตุผลของศาลในการไม่ให้ประกันตัว ก็รวมข้อความว่า “มีลักษณะชักนำประชาชนให้ล่วงละเมิดต่อกฎหมายของแผ่นดิน” ไว้แล้ว

การชักนำประชาชนให้ล่วงละเมิดต่อกฎหมายของแผ่นดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่อง #การก่อกบฏ เป็นเรื่องเกี่ยวกับทั้งประเทศ กระทบผู้คนเกือบ 70 ล้านคน ไม่ใช่อาชญากรรมต่อคนบางคนหรือบางกลุ่มที่กระทบผู้คนแค่หลักหน่วยหลักพัน ถ้านายปิยบุตรไม่กล่าวถึง 116 จริง ๆ ก็ให้ยกขึ้นมา highlight ไว้เลย ว่า 116 นี่แหละคือสิ่งสำคัญที่แอบซ่อนอยู่