เปิดประวัติ “อ.ทัศนัย มช.” ป้องนศ.สามกีบแสดงศิลปะล้มเจ้า? พบเคยร่วมประท้วง ม.112 ออกตัวเชียร์ธนาธรสุดลิ่ม

14254

จากกรณีที่ ก่อนหน้านี้ ที่สำนักข่าวเดอะทรูธได้รายงาน ถึงประเด็นร้อนที่เกิดขึ้นที่ คณะวิจริตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หลังนักศึกษากลุ่มหนึ่งถูกเก็บผลงานศิลปะเสียดสีการเมืองลงถุงดำ จนเป็นเหตุให้อาจารย์คนหนึ่งออกมาตอบโต้อย่างรุนแรง

โดยในโลกโซเชียลฯ มีการพูดถึงดราม่าคณบดีและผู้บริหารคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เข้าไปรื้อเก็บงานศิลปะจัดวางของนักศึกษากลุ่มหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะคล้ายศพที่ถูกห่อด้วยผ้าขาวมีเชือกพันธนาการตามร่างกาย (งานศิลปะจัดวาง (installation art)) ของนักศึกษากลุ่มหนึ่งลงในถุงขยะ

ก่อนที่ต่อมา อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.ดร.ทัศนัย เศรษฐเสรี อาจารย์สาขาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เข้ามาช่วยพร้อมกับวลีเด็ดที่ปล่อยออกมาใส่ผู้บริหารคณะว่า “ศิลปะไม่เป็นเจ้านายใคร และศิลปะไม่เป็นขี้ข้าใคร”

และกล่าวว่า “เป็นอาจารย์เหมือนกันใช่ไหม รักศิลปะไหม รักเคารพในมนุษย์ไหม ศิลปะไม่เป็นเจ้านายใคร และศิลปะไม่เป็นขี้ข้าใคร ขู่เข็ญนักศึกษากี่ทีแล้ว คุกคามการเรียนการสอนหรือเปล่า” ทัศนัย กล่าวกับกลุ่มผู้บริหารซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวมีการไลฟ์สดผ่านเฟซบุ๊กของประชาคมมอชอ ก่อนที่จะมีการแชร์เรื่องราวดังกล่าว จนเกิดเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์

สำหรับ ผศ.ดร.ทัศนัย นั้น จบการศึกษาระดับปริญญาโท ที่ Visual Arts, The University of Chicago, United States of America ก็ได้เข้าสอนเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาสื่อศิลปะ และการออกแบบสื่อ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตั้งแต่ปี 2547-ปัจจุบัน เป็นระยะเวลา 17 ปี โดยอาจารย์ทัศนัยแสดงออกทางการเมืออย่างชัดเจนมาโดยตลอด โดยเมื่อปี 2559 คอลัมน์ ในหนังสือมติชนสุดสัปดาห์ เรื่อง สัจนิยมเหนือจริง ของกายภาพแห่งมหรสพ ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย กล่าวถึง อ.ทัศนัย ว่า

เป็นศิลปินที่มีบทบาทในการแสดงทัศนคติทางสังคมและการเมืองผ่านการทำงานศิลปะในรูปแบบต่าง ๆ มาอย่างต่อเนื่องยาวนาน เพราะเชื่อว่า งานศิลปะเป็นมากกว่าการสะท้อนตัวตนของศิลปิน และยังต้องเป็นปรอทวัดอุณหภูมิของสังคมด้วย ซึ่งเสรีภาพมีความสำคัญยิ่งในการสร้างผลงานทางศิลปะ และประชาธิปไตยคือหนทางเดียวที่จะบรรลุเป้าหมายนั้น

ทัศนัย เศรษฐเสรี: ถ้าเสรีภาพทางวิชาการถูกละเมิด เราไม่มีหวังได้เสรีภาพแบบอื่น

อ.ทัศนัย ยังร่วมกับเพื่อนศิลปินทำ “ปฏิบัติการอดอาหารท้วงประเทียด 112 ชั่วโมง” (112 Hunger Strike) ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ.2554 และเมื่อวันที่ 22 พ.ค.2557 ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ทำรัฐประหาร ซึ่งมีการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน อ.ทัศนัย ได้ร่วมลงชื่อเรียกร้องให้ คสช.หยุดจำกัดเสรีภาพนักวิชาการและนักศึกษา

และเมื่อการชุมนุมของก๊วน 3 กีบเริ่มเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง อ.ทัศนัยได้คอยให้การสนับสนุนการชุมนุมของม็อบอย่างเต็มที่ โดยเคยร่วมกับนักวิชาการอีกกว่า 60 คน ใช้ตำแหน่งเป็นนายประกันแก่ผู้ที่ถูกจับกุมดำเนินคดีจากการชุมนุม ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2563 ซึ่งครั้งนั้นศาลอาญาออกหมายจับ 15 นักศึกษาและประชาชนที่ร่วมปราศรัย

และล่าสุด อ.ทัศนัยยังเป็นหนึ่งใน คณาจารย์ 255 คน จาก 31 สถาบัน ที่ร่วมกันลงชื่อขอให้ศาลได้พึงพิจารณาทบทวนคำสั่งไม่ให้ประกันตัว นายอานนท์ นำภา, นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ (เพนกวิน), นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข, และนายปฏิวัฒน์ สาหร่ายแย้ม (หมอลำแบงค์) เมื่อวันที่ 15 ก.พ. 64

นอกจากนี้ อ.ทัศนัย ยังเคยกล่าวถึงนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ โดยระบุว่า “ตรงไปตรงมา ชัดเจน และบนถนน แบบนี้หละ ดีที่สุด”

ไม่มีคำอธิบาย

และยังเคยโจมตีนักวิชาการที่ออกมาปกป้องสถาบันด้วย โดยอ.ทัศนัยได้แชร์คลิปวิดีโอการดีเบทของ ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ และนายรังสิมันต์ โรม พร้อมเขียนข้อความระบุว่า

“There is no longer a doubt that article 112 is politically used to wipe away political opponents to Thai monarch since the beginning.
Don’t talk shit!!
แล้ว ด็อก…อานนท์ เป็น…อะไรครับ?”
โดยมีความหมายในภาษาไทยว่า ไม่มีข้อสงสัยอีกต่อไปว่า มาตรา 112 นั้น ถูกใช้ทางการเมืองเพื่อขจัดฝั่งตรงข้ามทางการเมือง เพื่อพระมหากษัตริย์ไทยตั้งแต่แรก

ไม่มีคำอธิบาย

ทั้งนี้ อ.ทัศนัยนั้นมีผลงานศิลปะออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะศิลปะที่มีเนื้อหาเสียดสี ทัศนคติทางสังคม และเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์การเมืองไทย

ผลงานที่เป็นที่ประจักษ์อย่างมากของผศ.ดร.ทัศนัย อย่างนิทรรศการ WHAT YOU DON’T SEE WILL HURT YOU ที่ถ่ายทอดประวัติศาสตร์การเมืองและการสร้างสังคมไทยให้ทันสมัย เพื่อนำมาเป็นฉากหลังสุดของชิ้นงาน เช่น ภาพการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475, สถานีรถไฟหัวลำโพง จนได้รับรางวัล The 2018 Finalist Artworks

นิทรรศการดังกล่าว มีทั้งเรื่องราวที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ 6 ตุลา ปี พ.ศ.2519, พฤษภาทมิฬ ปี พ.ศ.2535, การสลายการชุมนุมปี พ.ศ.2553 หรือเหตุการณ์ตั้งแต่ตอนเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปี พ.ศ. 2475 ของคณะราษฎร หรือแม้กระทั่งเรื่องเกี่ยวกับหัวลำโพงก็ไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ทางการเมือง

ประวัติ ทัศนัย เศรษฐเสรี อาจารย์ มช. ฉะคณบดี ปมเก็บผลงาน น.ศ.

จากพฤติกรรมของอาจารย์ศิลปะผู้นี้ ซึ่งแสดงจุดยืนทางการเมืองเรื่อยมา โดยจุดที่น่าสนใจคือการร่วมกิจกรรม “ปฏิบัติการอดอาหารท้วงประเทียด 112 ชั่วโมง” ซึ่งจัดขึ้นเพื่อแสดงออกและสื่อสารว่ากฎหมายมาตรา 112 นี้มีปัญหาและสังคมควรจะคุยกัน ทำให้เห็นได้ว่า อ.ทัศนัยนั้นมีมุมมองเช่นไรกับสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย เลยเป็นเหตุให้ไม่ได้รู้สึกว่าการแสดงศิลปะโจมตีสถาบันของกลุ่มนักศึกษา เป็นสิ่งที่ผิดและไม่ควรเกิดขึ้น

อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ก๊วนสามกีบได้ออกมาเชียร์อาจารย์ทัศนัยจากประเด็นดราม่าดังกล่าวราวกับเป็นวีรบุรุษ คงต้องมาจับตาดูกันว่า ต่อจากนี้อาจารย์ทัศนัย จะเปิดหน้าร่วมชุมนุมกับม็อบด้วยตนเองหรือไม่!? จะออกมานำหน้าเด็ก นำหน้านักศึกษา นำพาให้ไปถึงอุดมการณ์ หรือแค่อ้างงานศิลปะเคลื่อนไหว อยู่ข้างหลังเด็กอย่างที่บรรดานักวิชาการฝ่ายก้าวหน้าถนัด