หญิงหน่อย หน้าหงอย โหนม็อบ แต่ไม่ศึกษาความจริง คนแบบนี้ คิดจะเป็นหัวหน้าพรรคการเมือง?

2744

ยังคงออกมาเคลื่อนไหวอยู่เป็นระยะ สำหรับ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ หรือ หญิงหน่อย แกนนำกลุ่มสร้างไทย โดยล่าสุดจากเหตุการณ์ชุมนุมเมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2564 ที่ท้องสนามหลวง และเกิดเหตุความวุ่นวายขึ้น จนเจ้าหน้าที่ต้องทำการสลายการชุมนุมนั้น

โดยในครั้งนี้ คุณหญิงสุดารัตน์ ได้มีการแสดงความเห็นว่า การปฏิบัติต่อผู้ชุมนุมต้องเป็นไปตามหลักสากล อย่างแรกการใช้ความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับผู้สื่อข่าว กับผู้ชุมนุม ไม่ควรเกิดขึ้น และทราบว่าเกิดขึ้นหลังจากยุติการชุมนุมแล้ว เพราะยุติการชุมนุม ควรส่งเสริมให้กลับบ้านได้อย่างปลอดภัย ไม่มีใครต้องมาถูกทำร้ายทุกอย่างควรเป็นไปอย่างสันติ

หากใครมีการกระทำผิดตามกฎหมาย ก็ยึดหลักสากลและดำเนินคดี แต่ไม่ใช่ไปซ้อมหรือทารุณขณะที่กำลังจะกลับบ้าน ในฐานะที่เป็น “แม่” ไม่ปรารถนาที่จะเห็นภาพความรุนแรงใด ๆ ที่จะเกิดขึ้น สิ่งที่รัฐควรทำไม่ได้แปลว่าไม่ให้ดำเนินการตามกฎหมาย ถ้ามีความผิดก็ดำเนินตามกฎหมายแบบหลักสากล คือจับแต่ไม่ใช่ซ้อม และต้องจับกุมในข้อหาที่ผิดจริง

ประการต่อมาเป็นสิ่งที่ตนเองก็ได้เรียกร้องมานานแล้ว คือควรจะมีเวทีหรือพื้นที่พูดคุยแลกเปลี่ยนระหว่างรัฐและผู้ชุมนุมอย่างปลอดภัยเพื่อร่วมแก้ไขปัญหานี้ และรัฐบาลควรเป็นเจ้าภาพในการที่จะรับฟังสิ่งที่คนเห็นต่าง อาจจะมีอาจารย์มหาวิทยาลัยเข้ามาช่วยเป็นคนกลาง หาทางออกร่วมกัน

อย่าเติมไฟให้หมองใจกันมากขึ้น อย่างเหตุการณ์ความวุ่นวายเมื่อวานนี้ หรือการล้มการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน เป็นการเติมไฟลงไป ถ้าพูดคุยกันจะหาทางออกได้อย่างสันติที่ดีกว่า

“ในฐานะของคนที่เป็นแม่ ยิ่งไม่อยากจะเห็นภาพของความสูญเสียแม้แต่ชีวิตเดียว ไม่อยากเห็นภาพของความสูญเสียความรุนแรง ในฐานของคนเป็นแม่และคนที่ผ่านเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ขอให้รัฐบังคับใช้กฎหมายอย่างสากล อย่างเป็นธรรมตามหลักสากล”

ทั้งนี้ จากการแสดงความเห็นดังกล่าวของคุณหญิงสุดารัตน์ในครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่เจ้าตัวออกมาเคลื่อนไหวโดยเข้าข้างม็อบ แต่ว่าการชุมนุมที่ผ่านมาจะเห็นว่ากลุ่มมวลชนผู้ชุมนุมบางรายพยายามสร้างภาพให้เกิดความรุนแรง ออกสู่สายตาสาธารณะ

โดยย้อนไปก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 8 ส.ค. 2563 คุณหญิงสุดารัตน์ โพสต์รูปภาพและข้อความบนเฟซบุ๊กเมื่อคืนที่ผ่านมา ระบุว่า มาดูแลความปลอดภัยน้อง ๆ ที่ สน. บางเขนขอเรียกร้องไปยังนายกอีกครั้งให้#หยุดคุกคามประชาชนโดยเฉพาะน้อง ๆ นักเรียน นิสิต นักศึกษา อย่าให้เป็นน้ำผึ้งหยดเดียวเลยค่ะแทนที่จะจับน้องๆ หันหน้าเข้าหากัน มาเปิดใจฟังข้อเรียกร้อง ตามแนวทางประชาธิปไตยที่แท้จริงกันดีกว่าไหมคะ”

ไม่เพียงเท่านั้นสำหรับเหตุการณ์ที่สุดแสนสะเทือนใจ สะเทือนความรู้สึกของคนไทย นั่นคือการที่กลุ่มผู้ชุมนุมมีการปราศรัยจาบจ้วงสถาบันว่า จากกรณีการจัดชุมนุม ที่ธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2563

และเมื่อวันที่ 11 ส.ค. 2563 คุณหญิงสุดารัตน์ ก็ออกมาเคลื่อนไหวถึงกรณีดังกล่าวว่า ตลอดชีวิตการทำงานการเมืองของตนมีจุดยืนเดียวมาตลอด คือการทำงานการเมืองภายใต้การปกครองใน “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข”

ทั้งนี้ตนเองเห็นด้วยกับการต่อสู้กับเผด็จการ ที่บริหารประเทศล้มเหลวทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ทุกข์ยาก ตามข้อเรียกร้อง 3 ข้อของนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชน ที่เรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ยุบสภาและหยุดคุกคามประชาชน เพราะถือว่าเป็นข้อเรียกร้องที่สมเหตุผล และอยู่ในวิสัยที่ทุกฝ่ายจะแสวงหาความร่วมมือกันได้ แต่ไม่ควรก้าวล่วงไปถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ ที่จะนำมาซึ่งความขัดแย้ง แตกแยกของคนในชาติ จนอาจเป็นเหตุของการรัฐประหารยึดอำนาจอีกครั้ง

สำหรับข้อเสนอทางออกเรื่องรัฐบาลแห่งชาติ คุณหญิงสุดารัตน์ กล่าวว่า“ตนขอย้ำอีกครั้งว่า หากจะมีรัฐบาลแห่งชาติจริง เพื่อไทยขออาสาเป็นฝ่ายค้านเพื่อตรวจสอบรัฐบาลแห่งชาติให้

ซึ่งต่อมาจากการให้สัมภาษณ์ดังกล่าว มวลชนสามนิ้วก็ออกมาเคลื่อนไหวตำหนิ คุณหญิงสุดารัตน์ ทันที โดยในครั้งนั้น นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือ เพนกวิน ได้โพสต์เฟซบุ๊กตอบโต้ คุณหญิงสุดารัตน์ หลังจากกล่าวว่าไม่เห็นด้วยกับการชุมนุมก้าวล่วงไปถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ ว่า… “ขออนุญาตไม่เห็นด้วยกับการแถลงของคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ การปราศรัยของเราเป็นไปตามหลักเสรีภาพ ไม่ได้ก้าวล่วง ไม่มีคำใดเลยเป็นความเท็จ เป็นความจริงว่าด้วยปัญหาที่ผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองไม่กล้าพูดถึง แต่ซุกไว้ใต้พรมมาตลอด ดังนั้น อย่าสั่งสอนห้ามปรามเราเมื่อเราลุกขึ้นมาพูดความจริงเลยครับ ในทางตรงกันข้าม ผมขอเรียกร้องให้นักการเมืองฝ่ายประชาธิปไตยทุกพรรค รวมถึงพรรคเพื่อไทยลุกขึ้นมาพูดสิ่งที่เราเรียกร้องกลางสภา เราจะได้มีประชาธิปไตยที่สมบูรณ์กันสักที นี่คือ หน้าที่ของผู้แทนราษฎร ในฐานะที่ผมเป็นคนหนึ่งที่ลงคะแนนเสียงให้พรรคเพื่อไทย”

โดยต่อมาทางด้าน คุณหญิงสุดารัตน์ ก็ทนกระแสต้านจากชาวสามนิ้วไม่ไหวออกมาขอโทษทันที พร้อมระบุว่า “ขอส่งสารถึงรัฐบาลต้องไม่ใช้ความรุนแรงกับนิสิตนักศึกษาเด็ดขาด และหยุดการคุกคามทุกรูปแบบ พร้อมขอโทษและเสียใจกรณีแสดงความเห็นก่อนหน้านี้ แต่มาจากความรู้สึกห่วงใยอย่างยิ่ง”

ดิฉันขอสื่อสารไปยังรัฐบาลว่า ในห้วงเวลาเช่นนี้ รัฐต้องไม่ใช้ความรุนแรงมาแก้ปัญหา และต้องหยุดการคุกคาม ข่มขู่นักศึกษาทุกรูปแบบ หรือบังคับใช้กฎหมายโดยไร้ความยุติธรรม และอย่าได้คิดที่จะทำร้ายอนาคตของชาติอย่างเด็ดขาด

ดิฉันขอยืนยันและสนับสนุนการมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกของนิสิต นักศึกษา และเคารพความคิดเห็นของคนรุ่นใหม่เสมอมา สนับสนุนข้อเสนอทั้ง 3 ประการ ที่นักศึกษาได้เรียกร้องตลอดมา คือ หยุดคุกคามประชาชน ยุบสภา แก้รัฐธรรมนูญ ดังนั้นทางออกเดียวเวลานี้ของรัฐบาล คือ ต้องปฏิบัติตามข้อเรียกร้องทั้ง 3 ข้อของนิสิต นักศึกษา ด้วยการเร่งรัดกระบวนการในสภา เพื่อให้มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ เพื่อนำไปสู่อนาคตที่ดีกว่านี้ของประเทศ และขอย้ำว่า “รัฐต้องไม่ใช้ความรุนแรง อย่างเด็ดขาด และหยุดการคุกคามนักศึกษาทุกรูปแบบ” ต่อการแสวงหาทางออกของสังคมไทยในขณะนี้

สุดท้าย ที่ดิฉันได้แสดงความคิดเห็นก่อนหน้านี้ มาจากความรู้สึกที่ห่วงใยอย่างยิ่ง ต่อความปลอดภัยของนิสิต นักศึกษา เพราะเผด็จการอาจจะนำมาใช้เป็นข้ออ้างในการใช้ความรุนแรง จนเกิดความสูญเสียกับประชาชนได้ หากสิ่งที่ได้สื่อสารไป ทำให้เกิดความไม่สบายใจ ดิฉันรู้สึกเสียใจ และต้องขอโทษอย่างยิ่ง”

อย่างไรก็ตาม จากพฤติกรรมดังกล่าวของคุณหญิงสุดารัตน์ นั้น จะเห็นว่าที่ผ่านมามีการออกมาเคลื่อนไหวสนับสนุนม็อบหลายครั้ง แม้บางครั้งจะรู้อยู่เต็มอกว่า ม็อบได้กระทำผิด เช่นทำผิดกฎหมายในมาตราต่าง ๆ และแม้ว่าบางครั้งจะแสดงความเห็นในเชิงตำหนิบ้าง แต่เมื่อถูกมวลชนสามนิ้วรุมประณามก็ต้องรีบกลับลำในทันที จึงเกิดคำถามตามมาว่า คนที่มีพฤติกรรมเช่นนี้หรือ ที่เหมาะจะเป็นผู้นำ หัวหน้านักการเมือง???