จากกรณีการชุมนุมที่ท้องสนามหลวงของกลุ่ม Redem เมื่อวันที่ 20 มีนาคมที่ผ่านมา ได้เกิดเหตุการปะทะระหว่างเจ้าหน้าที่และผู้ชุมนุม เนื่องจากผู้ชุมนุมไม่ได้ทำการชุมนุมโดยสันติเช่นที่ประกาศไว้
มีการทำลายทัพย์สินราชการและฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าหน้าที่อย่างต่อเนื่อง จนเจ้าหน้าที่จำเป็นต้องสลายการชุมนุมเพิ่มลำดับการรับมือตามมาตรฐานสากล
อย่างไรก็ตาม สื่อหลายๆแห่งได้นำภาพเพียงบางมุมไปเผยแพร่และสร้างความเข้าใจว่ามาตรการับมือของเจ้าหน้าที่นั้นรุนแรงเกินกว่าเหตุ
ล่าสุด นายรังสิมันต์ โรม ก็ได้โพสต์ข้อความถึงกรณีดังกล่าวด้วย โดยนายรังสิมันต์ได้ระบุว่า จากชุมนุมสนามหลวง 20 มี.ค. 64 ขอเตือนดังๆ อีกครั้ง ระวัง “6 ตุลาโมเดล”
นายรังสิมันต์อ้างว่า รัฐบาลมีการใช้นโยบายไม้แข็งในการความคุมและจัดการการชุมนุม โดยได้พยายามชี้เป้าว่า หากเป็นการชุมนุมที่เกี่ยวของหรือเชื่อมโยงกับพระมหากษัตริย์ รัฐจะมีการใช้ความรุนแรงทันที ซึ่งถือเป็นการพยายามป้ายสีการทำงานของรัฐ
นายรังสิมันต์กล่าวว่า “สถานการณ์ของสังคมไทยกำลังเดินเข้าสู่ช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญและน่ากังวล ดังที่เคยเกิดขึ้นเมื่อปี 2519 นั่นคือการมีกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งที่ใฝ่ฝันและปรารถนาดีต่อบ้านเมือง อยากเห็นประเทศชาติเปลี่ยนแปลงไปสู่ทิศทางที่ถูกต้อง คนรุ่นใหม่อยากจะมีชีวิตที่ดีกว่านี้ ซึ่งจริงๆ แล้วถือเป็นความฝันพื้นฐานของประชาชนทุกคน
แต่กลับมีคนกลุ่มเล็กๆ กลุ่มหนึ่งซึ่งมีอำนาจรัฐอยู่ในมือ ขัดขวางกีดกันทุกวิถีทาง พร้อมกับปลุกระดมให้ประชาชนฟาดฟันกันเอง
ผมไม่อยากให้สถานการณ์ในวันนี้ต้องบานปลายไปสู่ “6 ตุลาโมเดล” ในอดีตอีก
รับฟังกันบ้างเถิดครับ หากว่าประเทศไทยเป็นดินแดนแห่งการประนีประนอมจริง เพราะคนที่ออกไปชุมนุมก็ลูกหลานท่านทั้งนั้น”
เหตุการณ์วันที่ 6 ตุลาคม 2519 ที่นายรังสิมันต์จงใจเลือกยกขึ้นมาพูดถึงนั้น มีชนวนสาเหตุมาจากการเข้าใจผิดของประชาชนาที่มีต่อกลุ่มนักศึกษา ถึงเรื่องของสถาบันพระมหากษัตริย์ จนเกิดเหตุบานปลาย
ดังนั้นการที่นายรังสิมันต์ยกเหตุการณ์ 6 ตุลาคม ขึ้นมาเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ปัจจุบัน เป็นการจงใจพาดพิงเชื่อมโยงกับสถาบันพระมหากษัตริย์หรือไม่? อีกทั้งนายรังสิมันต์พยายามชี้เป้า เหตุการณ์ต่างๆที่เคยเกิดการสลายการชุมนุม ว่าสถานที่นั้นเชื่อมโยงกับสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยไม่กล่าวถึงความรุนแรงที่ผู้ชุมนุมจงใจก่อขึ้นเพื่อสร้างจลาจล
6 ตุลาโมเดลที่นายรังสิมันต์กล่าวถึงนั้น เหมือนเป็นการเลือกใช้เหตุการณ์ในอดีตปลุกเร้าอารมณ์และความรู้สึกของกลุ่มผู้ชุมนุมทางการเมืองในปัจจุบัน พยายามป้ายความอธรรมให้กับการทำงานของรัฐและสถาบันพระมหากษัตริย์ และเป็นชี้ช่องทางให้กับม็อบในการจาบจ้วงโจมตีสถาบันต่อไปหรือไม่!?
นี่คือ การส่งเสียงขู่ของรังสิมันต์ ที่แน่นอนว่ามีความรู้สึกนึกคิด สัมพันธ์กับม็อบอย่างไร ในขณะที่ส.ส.ของพรรคที่นายรังสิมันต์สังกัดอยู่ ก็ไปร่วมกับผู้ชุมนุม รวมทั้งยังใช้ตำแหน่งผู้แทนฯไปประกันตัวผู้กระทำผิดมาตรา112 ครั้งแล้วครั้งเล่า