“ปิยบุตร” จงใจเลือกวันจักรี ชวนลงชื่อยุบส.ว. แท้จริงส่อล้มสถาบัน?

3509

จากกรณีที่ก่อนหน้านี้ นางอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล ส.ส.พรรคก้าวไกล ได้โพสต์ภาพผ่านทวิตเตอร์โดยระบุว่าดีเดย์เปิดลงชื่อ #ยกเลิกสว 6 เมษานี้ โดยในแบนเนอร์ดังกล่าวมีข้อความ ปิยบุตรเผย 6 เมษา ดีเดย์ เปิดลงชื่อยกเลิกส.ว.ที่มาจากการแต่งตั้ง

ไม่มีคำอธิบาย

โดยแบนเนอร์ดังกล่าวถูกเผยแพร่โดยเพจเฟซบุ๊ก The Features เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2564 โดยข้อความระบุว่า
“ปิยบุตร เผยกลางคลับเฮาส์ เมื่อคืนนี้ ย้ำชัดปัญหาของรัฐธรรมนูญที่เเก้ไม่ได้ ล้วนมาจาก ส.ว. 250 คนที่มีอำนาจมาจากการเเต่งตั้งจากคณะ ค.ส.ช. ประชาชนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการเลือกมา ฉะนั้นเสนอทางออกให้ประเทศเดินไปข้างหน้า ด้วยการร่วมกับ iLaw เปิดลงชื่อจากประชาชนประเด็น ยกเลิกส.ว. 250 คน ที่มาจากการเเต่งตั้ง เเละเสนอเเนวทางการสรรหา ส.ว.ที่เป็นธรรมกับประชาชน คาด ลงชื่อครั้งนี้ขอหลักเเสน หลักล้านคน

ทำไมต้อง วันที่ 6 เมษายน เพราะวันดังกล่าวเป็นวันครบรอบ 4 ปีเเห่งการบังคับใช้รัฐธรรมนูญปี 60”

ไม่มีคำอธิบาย

อย่างไรก้ตาม ล่าสุด นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กถึงกรณีดังกล่าว โดยมีเนื้อหาบางส่วนระบุว่า “ทำไมป๊อกและพวกต้องรณรงค์ให้ยกเลิก สว.ในวันสถาปนาราชวงศ์จักรี ?

ปิยบุตรและคณะก้าวหน้า-พรรคก้าวไกล มักเคลื่อนไหวทางการเมือง โดยการอ้างประชาธิปไตย ที่มีการพาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์เสมอ
การรณรงค์ให้ยกเลิก สว. จะทำวันไหนก็ได้ แต่ปิยบุตรและคณะก้าวหน้า-พรรคก้าวไกล เจาะจงเลือกวันที่ 6 เมษายน ซึ่งเป็นวันก่อตั้งราชวงศ์จักรี เพราะ…
ปิยบุตรและคณะก้าวหน้า-พรรคก้าวไกล มักพูดอะไรเพียงครึ่งเดียวเสมอ
ความจริงครึ่งเดียวที่ปิยบุตรและคณะก้าวหน้า-พรรคก้าวไกลพูดคือ ล้ม สว.
ส่วนความจริงอีกครึ่งที่ไม่พูดออกมาคือ ล้มสถาบันพระมหากษัตริย์ ใช่หรือไม่
อะไรคือสิ่งที่บ่งบอกว่า เขาและพวกมีความจริงอีกครึ่ง ที่ไม่ยอมพูด
ความจริงอีกครึ่งที่เหลือคือการใช้วันก่อตั้งราชวงศ์จักรีเป็นสัญลักษณ์
ให้การล้ม สว. เป็นเป้าหมายหลอก

โดยมีความจริงอีกครึ่งที่ไม่ยอมพูด คือเพื่อล้มสถาบันพระมหากษัตริย์ ใช่หรือไม่ พูดออกมาตรงๆ
ถ้าไม่ใช่ ทำไมต้อง 6 เมษา

รายพระนาม "สมเด็จพระราชินี" แห่งราชวงศ์จักรี กรุงรัตนโกสินทร์

วุฒิสภามีความสำคัญและจำเป็นต่อระบบการปกครองประชาธิปไตยอย่างไร ?

วุฒิสภาไทย
ประเทศไทยเราได้ใช้ระบบรัฐสภามาแล้วทั้งสองระบบ คือ ระบบรัฐสภาเดียว และระบบรัฐสภาสองสภา
• รัฐสภาแบบสภาเดียว คือมีสมาชิกปฏิบัติหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติเพียงสภาเดียว อันได้แก่ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
• รัฐสภาแบบสองสภา ประกอบด้วย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่มาจากการเลือกตั้ง และสมาชิกวุฒิสภา ที่มาจากการแต่งตั้ง
ในที่นี่จะขอกล่าวถึงเฉพาะวุฒิสภา
วุฒิสภาไทยหรือเดิมมีชื่อว่า “พฤฒสภา” เริ่มก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2489 สมาชิกวุฒิสภาส่วนใหญ่มาจากการแต่งตั้งทั้งหมด หรือผสมระหว่างแต่งตั้งกับเลือกตั้ง มีเพียงวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2489 และ พ.ศ. 2540 เท่านั้นที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด
วุฒิสภา เป็นสภาสูงในรัฐสภาไทยคู่กับสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นสภาล่าง ตามรัฐธรรมนูญปี 2560 วุฒิสภามีวาระคราวละ 5 ปี

รัฐสภาไทยพัฒนามาจากเคาน์ซิลออฟสเตต (Council of State) หรือ สภาที่ปรึกษา ราชการแผ่นดิน และองคมนตรีสภา (Privy Council) ซึ่งเป็นสภาที่ปรึกษาในพระองค์ที่มีมาตั้งแต่ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ภายหลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองในปีพ.ศ. 2475 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย พุทธศักราช 2475 ก็ได้กําหนดให้รัฐสภาเป็นระบบสภาเดียว คือ สภาผู้แทนราษฎร มีสมาชิก สองประเภท

โดยแต่ละประเภทมีจํานวนเท่ากัน
• สมาชิกประเภทที่ 1 มาจากการเลือกตั้ง
• สมาชิกประเภทที่ 2 มาจากการแต่งตั้ง
จะสังเกตได้ว่า ถึงจะเรียกว่ามีสภาผู้แทนราษฎรเพียงสภาเดียว แต่ความจริงก็มีวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้งรวมอยู่ด้วย เพียงแต่ยังไม่เรียกว่า วุฒิสภาเท่านั้น
และสาเหตุที่ต้องมีสมาชิกสภาที่มาจากการแต่งตั้งและมาจากการเลือกตั้งนั้น นายปรีดีพนมยงค์ผู้ร่างรัฐธรรมนูญ ได้แถลงต่อสภาผู้แทนราษฎร ความ ตอนหนึ่ง ว่า
“…ที่เราจําต้องมีสมาชิกประเภทที่ 2 ไว้กึ่งหนึ่งก็เพื่อที่จะช่วยเหลือผู้แทนราษฎร ใน ฐานะที่เพิ่งเริ่มมีการปกครองแบบรัฐธรรมนูญ เราย่อมทราบอยู่แล้วว่า ยังมีราษฎรอีกเป็นจํานวน มากที่ยังไม่ได้รับการศึกษาเพียงพอ ที่จะจัดการปกครองป้องกันผลประโยชน์ของตนเองได้ บริบูรณ์

กังขาสภาซูเอี๋ยซิโน-ไทย หวั่นค่าโง่บี้'ชวน'สู้เต็มที่

ถ้าขืนปล่อยมือให้ราษฎรเลือกผู้แทนโดยลําพังเอง ในเวลานี้แล้ว ผลร้ายก็จะตกอยู่แก่ ราษฎร เพราะผู้ที่จะสมัครไปเป็นผู้แทนราษฎร อาจเป็นผู้ที่มีกําลัง ในทางทรัพย์

ฉะนั้น จึงวางเงื่อนไขไว้ขอให้เข้าใจว่าสมาชิกประเภทที่ 2 เป็นเสมือนพี่เลี้ยงที่จะช่วยประคองการงานให้ดําเนินไปสมตามความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญ และ เป็นผู้ป้องกันผลประโยชน์อันแท้จริง…”

จากวัตถุประสงค์หรือเจตนารมณ์ดังกล่าวนี้เอง จึงถือได้ว่า “วุฒิสภา” หรือสภาที่ทําหน้าที่กลั่นกรองงานของสภาผู้แทนราษฎร
ต่อมาในปีพ.ศ. 2489 ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์บ้านเมือง

โดยรัฐสภาได้เปลี่ยนเป็น “ระบบสภาคู่” หรือ “ระบบสองสภา” คือ สภาผู้แทนราษฎร และพฤฒสภา(วุฒิสภา) ซึ่งพฤฒสภามีขึ้นเพื่อทําหน้าที่เป็นสภายับยั้ง หรือสภากลั่นกรองงาน คอยเหนี่ยวรั้งมิให้สภาผู้แทนทํางานด้านนิติบัญญัติเร็วเกินไป จนขาดความรอบคอบ

ไม่มีคำอธิบาย

สรุป
สาเหตุที่ต้องมีวุฒิสภา เพราะสมาชิกวุฒิสภาประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากสาขาวิชาชีพต่างๆ
ในขณะที่สมาชิกจากสภาผู้แทนราษฎร อาจเข้าสภามาได้ด้วยความเป็นผู้มีอิทธิพลในทางการเมืองหรือในท้องที่ รวมถึงการได้มาด้วยกลโกงการเลือกตั้งและการคอรัปชั่น
ดังนั้นการที่เรามีวุฒิสภา ซึ่งเป็นสภาของผู้ทรงคุณวุฒิ จะสามารถช่วยสภากลั่นกรองงาน และคอยเหนี่ยวรั้งให้สภาผู้แทนราษฏรทำงานอย่างรอบคอบขึ้น
แต่สิ่งที่ปิยบุตรและคณะก้าวหน้า พรรคก้าวไกล พยายามจะล้มวุฒิสภา นั้นมีสาเหตุเดียว คือวุฒิสภาขวางทางเข้าสู่อำนาจทางการเมืองของตนและพวก ที่มีเป้าหมายชัดเจนว่า ต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองไปจากรูปแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน”