แบ่งฝั่งชัดเจน ลากไส้แตก แฉยับเบื้องหลัง กองทุนเงินม็อบ “แม่เพนกวิน-แม่แอมมี่” โดยลอยแพ ท่อน้ำเลี้ยง “ทราย-บุ๊ง” ไม่ช่วยเหลือ?

6720

หลังจากที่ก๊วน 3 นิ้ว ออกมาแฉเรื่องราวต่าง ๆ กันแบบรายวัน ทั้งเรื่องของการบงการจับ “แอมมี่” จนมาถึงเรื่องของ “ต้อม ยุทธเลิศ” และ “ทราย เจริญปุระ” ที่มีการเล่าว่า ผู้กำกับหนังไม่พอใจที่ทรายไม่ยอมรับเล่นหนัง ที่ตัวเองกำลังจะสร้างด้วยงบบริจาค 100 ล้านบาท จึงออกมาแฉกันอลเวงไปหมด เมื่อต้อมเหน็บแรง ถึงเงินบริจาคที่ไหลเข้าบัญชีทราย มาอย่างต่อเนื่อง แต่พอจะประกันตัวแอมมี่ กลับไม่ได้ใช้เงินในส่วนนี้

แม้ว่า “บุ๊ง ปกรณ์ ” จะแก้ต่างว่า บ้านของแอมมี่ มีฐานะอยู่แล้ว ไม่อยากมารบกวนเงินในส่วนท่อน้ำเลี้ยง ที่เอาไว้ซื้ออุปกรณ์ อาหารต่าง ๆ แจกจ่ายเวลามีการชุมนุม วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจกันแบบกระจ่างว่า เงินทุนในม็อบ 3 นิ้ว ตอนนี้แบ่งออกเป็นอีกฝ่าย เงินก้อนโตอยู่ภายใต้การดูแลของใครบ้าง

เงินกองกลางแรก คือ กองทุนราษฎรประสงค์ ที่มีชื่อ 2 คน ดูแล และมีอำนาจทางการเงิน ชื่อว่าชลิตา บัณฑุวงศ์ และไอดา อรุณวงศ์ ณ อยุธยา” เดิมทีในเพจเฟซบุ๊ก กองทุนราษฎรประสงค์ เล่าความเป็นมาว่า ในวันที่ 18 ม.ค. 2564 ได้มีการปิดบัญชีเดิม และเปิดบัญชีใหม่ ในวันเดียวกัน จากเดิมเคยเปิดรับเงินมาตั้งแต่ปี 2561

(ชลิตา บัณฑุวงศ์)

(ไอดา อรุณวงศ์)

โดยมีคำชี้แจงว่า กองทุนราษฎรประสงค์ได้ปิดบัญชีเดิมลงแล้วเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2564 ที่ผ่านมา (บัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ ในชื่อชลิตา บัณฑุวงศ์ และ/หรือไอดา อรุณวงศ์ เลขบัญชี 264-271845-1 ซึ่งเคยเปิดมาตั้งแต่ปี 2561) และเปิดบัญชีใหม่ขึ้นแทนในวันเดียวกัน

นับแต่นี้ไป บัญชีสำหรับการระดมทุนสาธารณะเพื่อการประกันตัวในนามกองทุนราษฎรประสงค์ คือ
บัญชีธนาคารกสิกรไทย สาขาศาลยุติธรรม
เลขที่บัญชี 086-2-70434-7
ชื่อบัญชี ชลิตา บัณฑุวงศ์ และไอดา อรุณวงศ์ฯ

กองทุนราษฎรประสงค์ คือ กองทุนเพื่อเงินวางประกันตัวและเงินค่าปรับในคดีที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมือง

ที่มาของเงินในกองทุน : การระดมสาธารณะผ่านบัญชีธนาคารกสิกรไทย สาขาศาลยุติธรรม เลขที่บัญชี 086-2-70434-7 ชื่อบัญชี ชลิตา บัณฑุวงศ์ และไอดา อรุณวงศ์ฯ

ผู้ดูแลกองทุนและดูแลเพจของกองทุน : ชลิตา บัณฑุวงศ์ และไอดา อรุณวงศ์

เป้าหมายของกองทุน : เพื่อรักษาสิทธิและเสรีภาพของประชาชนในการแสดงออกทางการเมืองมิให้ถูกลิดรอนจากการใช้คดีความทางกฎหมายเป็นเครื่องมือในการกลั่นแกล้ง กักขังหน่วงเหนี่ยว หรือจองจำเยี่ยงผู้ถูกลงทัณฑ์ อันจะเป็นการกระทบกระเทือนต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลซึ่งตามกฎหมายต้องถือหลักสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะได้รับการพิพากษาถึงที่สุด

ขอบเขตการช่วยเหลือของกองทุน : ให้ความช่วยเหลือในการประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลย รวมทั้งค่าปรับต่าง ๆ ในคดีที่เกิดจากการใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมืองที่มีเป้าหมายเพื่อการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และปฏิรูปการเมืองปกครองตลอดจนสังคมวัฒนธรรมในทางที่ส่งเสริมความเท่าเทียม สิทธิเสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

การเบิกจ่ายเงินกองทุน : ทนายความผู้รับผิดชอบในคดีจะเป็นผู้คัดกรองและแจ้งประสานงานมาเมื่อถึงขั้นตอนที่จะต้องเตรียมการยื่นประกันตัวหรือชำระค่าปรับ ซึ่งหากไม่ผิดไปจากเป้าหมายและขอบเขตของกองทุน ผู้ดูแลกองทุนจะเบิกเงินเพื่อดำเนินการชำระค่าปรับ หรือนำไปยื่นประกัน หรือจัดหาผู้ไปยื่นประกันให้ในทันที การเบิกเงินแต่ละครั้งจะใช้เพื่อเป็นเงินสดชำระค่าปรับหรือวางประกันตัวเท่านั้น ไม่มีการเบิกค่าใช้จ่ายในการดำเนินการและค่าตอบแทนใด ๆ ของผู้ยื่นประกัน

ภูมิหลังของกองทุน : กองทุนราษฎรประสงค์ เกิดขึ้นจากการรวมกองทุนประกันตัวคดีทางการเมืองทั่วไปที่เคยดูแลโดย อานนท์ นำภา, วีรนันท์ ฮวดศรี และไอดา อรุณวงศ์ ตั้งแต่ช่วงหลังรัฐประหารปี 2557 มาเข้ากับบัญชีกองทุนซึ่งก่อตั้งในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2561 เพื่อใช้ประกันตัวผู้ต้องหาในคดีที่เรียกกันว่าคดีคนอยากเลือกตั้ง ซึ่งดูแลกองทุนโดย ชลิตา บัณฑุวงศ์ และไอดา อรุณวงศ์ เมื่อมีการรวมกองทุนเข้าด้วยกันแล้วก็ได้ขยายขอบเขตความช่วยเหลือให้ครอบคลุมไปถึงคดีความที่เกิดจากการแสดงออกทางการเมืองในประเด็นอื่น ๆ ด้วย

โดยเฉพาะอย่างยิ่งคดีการเมืองจำนวนมากที่สืบเนื่องมาจากการชุมนุมทางการเมืองในช่วงปี 2563 การรายงานความเคลื่อนไหวของกองทุนก่อนหน้านี้เคยรายงานผ่านพื้นที่เฟซบุคส่วนตัวของไอดา อรุณวงศ์ Ida Aroon ชลิตา บัณฑุวงศ์ Chalita Bundhuwong และเพจเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง – คนส. ก่อนที่ต่อมาจะได้ใช้หน้าเพจ “กองทุนราษฎรประสงค์” แห่งนี้เป็นเพจทางการตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม 2564 เป็นต้นไป

ที่มาของชื่อกองทุน : เราเลือกใช้ชื่อ “กองทุนราษฎรประสงค์” เพื่อเป็นการรำลึกกลับไปถึงจุดริเริ่มตั้งต้นของแนวคิดจัดตั้งองค์กรทนายความอาสาและการตั้งกองทุนช่วยเหลือเรื่องการประกันตัวแก่ผู้ต้องหาคดีการเมืองเมื่อปี 2553 ภายหลังการสลายการชุมนุมของประชาชนในนามคนเสื้อแดงที่ถนนราชประสงค์ โดยในครั้งนั้นเราใช้ชื่อว่า “สำนักกฎหมายราษฎรประสงค์” เพื่อสะท้อนถึงวาระอันเป็นเหตุตั้งต้นคือการสังหารหมู่ที่ราชประสงค์ และเพื่อบอกถึงพลังของการแสดงเจตจำนงประสงค์ของประชาชนผ่านการระดมเงินเป็นค่าใช้จ่ายในการทำคดีและการประกันตัว

โดยระดมผ่านเฟซบุ๊กของทนายอานนท์ นำภา เป็นหลัก ความพยายามอย่างอาสาสมัครเฉพาะกิจในครั้งนั้นค่อยคลี่คลาย มาจนในปัจจุบันที่มีการตั้งองค์กรอาชีพทนายความขึ้นมารองรับอย่างเป็นกิจจะลักษณะ ขณะที่งานในส่วนของการประกันตัวยังคงอยู่ในรูปของกองทุนอาสาเฉพาะกิจต่อไป และไม่ได้อยู่ในสังกัดขององค์กรใด ซึ่งปัจจุบันยังได้เกิดกองทุนประกันตัวขึ้นมาอีกหลายกองทุนนอกเหนือจากกองทุนนี้ นอกจากนี้ อีกเหตุผลหนึ่งที่นำชื่อ “ราษฎรประสงค์” กลับมาใช้ในปัจจุบันก็เพราะเห็นถึงความพ้องกัน โดยบังเอิญของสปิริตอย่าง “ราษฎรประสงค์” ในวันนั้น กับ “คณะราษฎรประสงค์” ในวันนี้

ซึ่งกองทุนนี้ได้นำเงินให้ไปใช้ประกันตัวของ “เพนกวิน พริษฐ์” กลุ่มการ์ดวีโว่ โดยแม่ของเพนกวินเบิกเงินไปจำนวน 1 ล้านบาท ซึ่งนางสุรีรัตน์ แม่เพนกวิน เปิดเผยว่าเตรียมหลักทรัพย์ จำนวน 1 ล้านบาท จากกองทุนราษฎรประสงค์ มาขอยื่นคำร้องต่อศาลในการขอประกันตัว ซึ่งแบ่งเป็น 2 คดี คดีละ 500,000 บาท ได้แก่ คดียุยงปลุกปั่นตามมาตรา 116 และฐานความผิดหมิ่นสถาบันฯ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งตนมองว่าการใช้ตัวเองเป็นนายประกัน เชื่อว่าแม่จะเป็นหลักทรัพย์ที่สำคัญที่สุดของเพนกวิน แต่สุดท้ายศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัว ด้านแม่แอมมี่ ก็เคยขอเบิกเงินจากกองทุนนี้ ครั้งแรกได้ไป 90,000 แต่ศาลไม่ให้ประกันตัว ก่อนที่แม่แอมมี่ จะนำเงินส่วนตัวจำนวน 500,000 ไปยื่นขอประกันอีกครั้ง แต่ก็ไม่ได้รับการอนุมัติจากศาล

นอกจากนี้ยังมีการนำเงินในส่วนกองทุนนี้ ไปยื่นประกันตัวนายรังสิมันต์ โรม , กลุ่มวีโว่จำนวน 2 คน และเมื่อวันที่ 10 มี.ค. 64 ที่ผ่านมาตัวแทนกองทุนราษฎรประสงค์ได้ยื่นประกันสามผู้ถูกกล่าวหาในคดีปาระเบิดปิงปองบริเวณสามย่านมิตรทาวน์ ขณะเจ้าหน้าที่เข้าสลายการชุมนุมของประชาชนที่มาเรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้ถูกจับกุมจากการเขียนป้ายผ้า 112 เมตรเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2564

จะเห็นชัดว่าหลัก ๆ ทางกองทุนฝั่งนี้ จะนำเงินไปใช้ประกันตัวในคดีเกี่ยวกับม็อบเป็นหลัก แต่ก็ยังมีเงื่อนไขหลายข้อที่กำหนดเอาไว้ ไม่ใช่ว่าจะมายื่นขอเงินประกัน แล้วทางผู้ดูแลจะให้เลย และล่าสุดทางกองทุนได้เปิดเผยว่าตอนนี้เงินเหลือจำนวน 2,417,365.11 บาท ทางเพจจะอัพเดทย้อนหลังหากบางรายที่นำเงินไปยื่นขอประกันตัว แล้วนำมาส่งคืน บางครั้งทางศาลจะเป็นผู้นำเงินมาแจ้งส่งคืนเอง หากมีการคืนให้

 

ส่วนเงินกองกลางม็อบอีกส่วน มาจากกลุ่มท่อน้ำเลี้ยง ที่เริ่มจาก “ทราย เจริญปุระ” ก่อนที่จะมี “บุ๊ง ปกรณ์” เข้ามาสมทบ ซึ่งทั้ง 2 คนนี้ไม่เคยเปิดแจกแจงบัญชีว่ามีเงินอยู่เท่าไหร่ แต่ที่รู้ คือ ทั้งเพนกวิน แอมมี่ สนิทกับ 2 ท่อน้ำเลี้ยงอย่างมาก แต่พอทั้งคู่ต้องติดคุกเข้าเรือนจำ

กลับไม่ได้มายื่นขอใช้เงินจากกลุ่มของทราย ไปประกันตัวลูก ซึ่งตัวของ “บุ๊ง ปกรณ์” อธิบายว่า เพราะแม่แอมมี่มีเงิน และไม่ต้องการจะรบกวน เลยไม่ได้ช่วยเหลือเรื่องการเงิน แต่น่าตั้งข้อสงสัยว่า ทั้งหมดมีความสนิทสนมกันทำไมถึงไม่เลือกช่วยเพนกวิน และแอมมี่ก่อน ทำไมถึงปล่อยให้แม่ของทั้งคู่ ไปวิ่งเต้น ทำเรื่องเบิกเงินจากอีกกองทุน นั่นก็คือ กองทุนราษฎรประสงค์ ซึ่งเงินที่เหลือติดบัญชีก็มีไม่มากแล้ว หรือเพราะฝั่งท่อน้ำเลี้ยง จะเป็นท่อน้ำเลี้ยงเค็ม ๆ อย่างที่ใคร ๆ ก็พูดกัน พอถึงเวลาต้องใช้เงินช่วยเพื่อน ต่างก็รูดซิปปาก ไม่มีความเคลื่อนไหวใด ๆ

 

(แม่ทำเรื่องเบิกเงิน 1 ล้าน จากกองทุนราษฎรประสงค์ ยื่นประกันเพนกวิน)

 

(เงินประกันตัวเยาวชนการ์ดวีโว่ 2 ราย)

(เงินประกันตัวแอมมี่)

พอย้อนไปช่วงวันที่ 18 ต.ค. 2563 ทราย เจริญปุระ แม่ยกม็อบ เคยออกมาให้สัมภาษณ์ว่า มีแฟนคลับเกาหลีและจีนจำนวนมาก ที่ติดตามการเคลื่อนไหวของม็อบ โอนเงินบริจาคเข้ามาให้อย่างล้นหลาม โดยตอนนั้นเจ้าตัว ก็ได้ออกมาทวิตข้อความผ่านทางทวิตเตอร์ส่วนตัว พร้อมทั้งกล่าวขอบคุณทุกคนที่ร่วมบริจาค โดยได้ระบุข้อความว่า “นี่ยังไม่ครบเด้อ ตู้มเดียวดิชั้นถึงสามารถสั่งหมวกกันน๊อคอย่างดีได้สี่พันใบเสื้อฝน ถุงมือ หมวกเซฟตี้ฯลฯได้เลย |ตอนนี้อิแม่นั่งท่องชื่อด้อมต่าง ๆ สลับกับเอดดูเข่ดตัวเองด้วยเพลง&ผลงานของน้อง ๆ ค่ะ อย่าลืมกระจายไปบช.ผู้โดนคดีด้วยน้า ซึ่งยอดเงินครั้งนั้นรวมได้ 1.69 ล้านบาท

ที่ผ่านมาบัญชีของทราย ยังเปิดรับบริจาคอย่างต่อเนื่อง แม้ว่า “บุ๊ง ปกรณ์” จะบอกว่าเงินเหลือไม่มาก หมดแรงจะดันม็อบไปต่อแล้ว เพราะไม่ค่อยมีคนบริจาคเงินเข้ามา เหลือกลม ๆ ก็ประมาณ 5 แสนบาท แต่ระยะหลังไม่ว่าม็อบ 3 นิ้ว จากทางฝั่งราษฎรจะเคลื่อนไหวอะไร แทบไม่มีสนับสนุนของฝั่งท่อน้ำเลี้ยงอีกแล้ว ยิ่งพอเกิดคดีต่าง ๆ กับทั้งเพนกวิน แอมมี่ หรือทนายอานนท์ ที่เรียกว่าเป็นเพื่อนซี้ร่วมก๊วนของ “ทราย-บุ๊ง” ทั้งคู่กลับไม่ออกหน้าควักเงินประกันตัวซะด้วย ทำให้คิดไปได้ถึง 2 ทางว่า เงินกองกลางในฝั่งท่อน้ำเลี้ยงมีมหาศาล และไม่ต้องการแบ่งตัวหารเงิน หรือเพราะเงินเหลือน้อยแล้วกันแน่ ถึงได้ไม่เคลื่อนไหวสนับสนุนใคร เพื่อจะได้ไม่ต้องควักเงินออกมาไปมากกว่านี้ และเชื่อว่ายังมีมวลชน 3 นิ้ว อีกมาก ที่ไม่ทราบข้อเท็จจริง ยังหลงโอนเงินไปสมทบกับฝั่งท่อน้ำเลี้ยง โดยไม่รู้เลยว่า พวกแกนนำต่าง ๆ ที่ต้องติดคุก ไม่ได้ใช้เงินจากทางฝั่งนี้แม้แต่บาทเดียว